Page 11 - 23461_Fulltext
P. 11

2


                       แต่เดิม การตรวจสอบการใช้อ านาจเป็นเรื่องของการเมือง พรรคการเมืองใช้กระบวนการทางรัฐสภา
               เพื่อตรวจสอบฝ่ายตรงข้ามโดยมุ่งหมายจะชิงชัยในสนามเลือกตั้ง วิธีการเหล่านั้น เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

               หรือการตั้งกระทู้ถาม ข้อสันนิษฐานหนึ่งคือ ระบบรัฐสภาไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบการใช้อ านาจอีกต่อไป
               แล้ว รัฐสภาถูกครอบง าด้วยระบบพรรคการเมืองและอิทธิพลของกลุ่มธุรกิจ ท าให้การเมืองแบ่งขั้ว (polarized
               parliamentary politics) จนไม่อาจรักษาความเป็นกลางและตรวจสอบการใช้อ านาจของรัฐบาลอย่าง
                            6
               ตรงไปตรงมาได้  ทางออกคือ การออกแบบองค์กรรูปแบบใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงฝักฝ่ายทางการเมือง
                       ด้วยเหตุเช่นนี้  ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การออกแบบรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองจึงเริ่มขยับ
               จากการออกแบบระบบเลือกตั้งและกระบวนการรัฐสภา มายังการออกแบบระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจ
               ที่มีประสิทธิภาพ ความสนใจจึงย้ายไปที่ฝ่ายตุลาการ ในฐานะองค์กรนอกการเมือง (apolitical branch) ที่เข้า
               มาตรวจสอบ ท าให้กระบวนการตรวจสอบการใช้อ านาจ เป็นกระบวนการทางกฎหมายมากกว่ากระบวนการ

                                                7
               การเมือง (judicialization of politics)  ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลฎีกาแผนกคดีนักการเมือง
                       แต่องค์กรตุลาการไม่อาจท างานเดี่ยวๆ ได้ องค์กรตุลาการมีลักษณะตั้งรับ (passive) ข้อพิพาทที่ส่ง
               ขึ้นมา แต่องค์กรตุลาการไม่อาจเข้าไปสอบสวน เสาะแสวงหาข้อเท็จจริงหรือท าส านวนเองได้ นอกจากนั้น การ
               ตรวจสอบจ านวนมากยังเป็นเรื่องความเหมาะสม หรือการเมืองอยู่ ไม่ใช่ทุกเรื่องจะเป็นข้อพิพาททางกฎหมาย

               จนหมดสิ้น
                       องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจ (Independent Accountability Agency) จึงกลายเป็น
               ค าตอบที่เหมาะสมที่สุด องค์กรอิสระเหล่านี้ สามารถถูกออกแบบให้หลากหลายยืดหยุ่น ตอบรับความต้องการ

               ตรวจสอบในระดับความเข้มข้นต่างๆกันได้ และยังสามารถเป็นข้อต่อ ส่งเรื่องต่อไปยังฝ่ายตุลาการได้อีกด้วย
               หากจ าเป็น
                       ผลคือ องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบจ านวนมากในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของรัฐที่เพิ่งเข้าสู่
                           8
               ประชาธิปไตย
                       องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจเหล่านี้ ตรวจสอบทั้งความชอบด้วยกฎหมายและ

               จริยธรรม ในด้านต่างๆกัน บางองค์กรตรวจสอบกระบวนการก่อนเข้าสู่อ านาจ เช่น คณะกรรมการจัดการ
               เลือกตั้ง บางองค์กรตรวจสอบภายหลังเข้าสู่อ านาจแล้ว บางองค์กรตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบ แต่บาง
               องค์กรตรวจสอบความบกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดิน บางองค์กรอาจจะเน้นตรวจสอบด้านการเงิน

               บ้างก็ตรวจสอบมุ่งเน้นที่สิทธิมนุษยชน
                       ผลที่เกิด คือ การเฟื่องฟูขององค์กรตรวจสอบการใช้อ านาจจ านวนมาก ในละตินอเมริกา
               ในตะวันออกกลาง และในเอเชียเอง ไม่ว่าจะเป็น แอฟริกาใต้ โซมาเลีย อิรัก เวเนซุเอลา รวันดา ไนจีเรีย เปรู
                               9
               เอควาดอร์ เป็นต้น










               6  Ran Hirschl, Toward Juristocracy: The Origins and Consequences of the New Constitutionalism (Harvard University Press 2007).
               7  Bjoern Dressel, ‘Judicialization of politics or politicization of the judiciary? Considerations from recent events in Thailand’ (2010) 23
               The Pacific Review 671.
               8  John Ackerman, ‘Understanding Independent Accountability Agencies’ in Susan Rose-Ackerman & Peter L. Linsedseth (eds),
               Comparative Administrative Law (Cheltenham: Edward Elgar 2010) 271-272.
               9  เพิ่งอ้าง 272.
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16