Page 6 - 23461_Fulltext
P. 6
ง
ในหมวดที่ 9 มาตรา 90-106 ของรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่าฝ่ายควบคุมมีอ านาจแนะน ารัฐบาลเกี่ยวกับการ
ตรวจสอบการใช้อ านาจ (supervisory) สภาตรวจสอบนั้น อยู่ภายใต้ร่มองค์กรเดียวทั้งหมด คือ สภาตรวจสอบ
ภายใต้ประธานคนเดียว การจัดองค์กรลักษณะนี้ท าให้ใกล้เคียงกับการเป็นอ านาจที่สี่มากที่สุด เนื่องจากมี
ประมุขของฝ่ายตรวจสอยอย่างชัดเจนระบุได้ ส่วนสมาชิกของฝ่ายตรวจสอบมาจากการเลือกตั้งของเขตต่างๆ
ในรัฐธรรมนูญไต้หวัน ฝ่ายควบคุมมีอ านาจตรวจสอบที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ความผิดเล็กน้อยซึ่งอาจไม่มี
ความผิดทางกฎหมาย การกระท าผิดกฎระเบียบข้อบังคับ ไปจนถึงอาชญากรรมและความผิดทางการเมือง แต่
ฝ่ายควบคุมมีเพียงอ านาจแนะน า ไม่อาจชี้ขาดเองได้ การตัดสินใจลงโทษจะอยู่ที่ผู้บังคับบัญชา ฝ่ายตุลาการ
หรือฝ่ายนิติบัญญัติแล้วแต่กรณี
ส่วนในแอฟริกาใต้ ระบุว่าองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจของแอฟริกาใต้นั้นถูกก่อตั้งขึ้น
เพื่อรับมือกับรัฐซึ่งแข็งกระด้างจอมปลอม ท างานภายใต้ความลับ และไม่ตอบสนองต่อความต้องการของ
ประชาชน ซึ่งเป็นมรดกจากยุคแบ่งแยกสีผิว โดยหมวดที่ 9 ของรัฐธรรมนูญแบ่งเป็นหลายองค์กรเอกเทศกัน
ได้แก่ (1) Public protector ท าหน้าที่ไต่สวนการกระท าอันมิชอบ หรือไม่เหมาะสม มีอคติ ซึ่งเป็นหน้าที่ผสม
กันระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ กับผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(2) South African Human Rights Commission คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนส่งเสริมและตรวจตรา
สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (3) Commission for the Promotion and Protection of the Rights of
Cultural, Religious, and Linguistic Communities เพื่อท างานด้านสิทธิของชุมชนท้องถิ่นด้านวัฒนธรรม
ศาสนา และภาษา (4) Commission for Gender Equality ส่งเสริมและสอบสวนประเด็นด้านความเท่าเทียม
ทางเพศ (5) Auditor-General ซึ่งตรวจเงินแผ่นดิน และ (6) Electoral Commission จัดการเลือกตั้ง โดย
สภานิติบัญญัติจะเป็นผู้แนะน าผู้ที่เหมาะสมให้แก่ประธานาธิบดี องค์กรเหล่านี้ไม่มีอ านาจภายในตัวเองที่จะ
บังคับลงโทษหน่วยงานของรัฐ แต่เป็นการควบคุมผ่านการขอความร่วมมือ
ส าหรับองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐในรัฐธรรมนูญไทยจัดวางองค์กรคล้ายกับ
แอฟริกาใต้ คือ แยกเป็นเอกเทศกันแต่ละองค์กร โดยแยกออกมาเป็นอิสระจากอ านาจอื่นทั้งหมด สอดคล้อง
กับทฤษฎีอ านาจอธิปไตยที่สี่ ซึ่งยึดโยงกับฝ่ายการเมืองน้อยมากผ่านกระบวนการแต่งตั้ง แต่จะเชื่อมโยงกับ
ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระด้วยกันเอง ต่างจากไต้หวัน ซึ่งสภาตรวจสอบมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ
ประชาชนโดยไม่ผ่านรัฐสภา หรือแอฟริกาใต้ กระบวนการเสนอชื่อโดยสภานิติบัญญัติให้ประธานาธิบดี
เห็นชอบก็เป็นการสร้างความยึดโยงกับประชาชนทางอ้อม ผ่านกระบวนการและกลไกรัฐสภา น าไปสู่ปัญหา
ความชอบธรรมขององค์กรอิสระ
ในด้านอ านาจ ระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจของไทยนั้นละเอียดถี่ถ้วนรัดกุมอย่างยิ่ง ตรวจสอบ
ทั้งการกระท าผิดจริยธรรม ไปจนถึงอาชญากรรม โดยผลลัพธ์ร้ายแรงลดหลั่นกันไป โดยรัฐธรรมนูญ 2560 ได้
พยายามแก้ปัญหาเรื่องความซ้ าซ้อนของอ านาจหน้าที่แล้ว แต่ในเรื่องสมดุลระหว่างการบริหาราชการแผ่นดิน
อย่างมีประสิทธิภาพกับการตรวจสอบการใช้อ านาจนั้น ยังไม่ได้รับการขบคิดเท่าที่ควร
การเสนอปรับปรุงระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจ พิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ คือ ความจ าเพาะ
เจาะจงของหน้าที่นั้น ลักษณะของความรับผิด และลักษณะของอ านาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ว่าเป็นอ านาจ
ปราบปรามหรืออ านาจปลูกฝังค่านิยม อันเป็นงานการเมือง