Page 5 - 23461_Fulltext
P. 5
ค
บทสรุปผู้บริหาร
องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจนั้นเป็นนวัตกรรมทางรัฐธรรมนูญที่ก าเนิดขึ้นมาภายหลัง
รูปแบบองค์กรตรวจสอบที่เป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองนั้น เริ่มเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในหลาย
ประเทศบัญญัติองค์กรอิสระเหล่านี้ไว้ในระดับรัฐธรรมนูญ
การเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเหล่านี้ คือ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่ากลไกการตรวจสอบความรับผิดที่มีแต่
เดิม ไม่ว่าจะเป็นกลไกตรวจสอบถ่วงดุลทางรัฐสภา (parliamentary oversight) หรือกลไกการตรวจสอบผ่าน
อ านาจตุลาการ (judicial review) ล้วนมีข้อบกพร่อง นอกจากนั้น หน่วยงานที่ท าหน้าที่ตรวจสอบการ
ใช้อ านาจที่อยู่ภายใต้อ านาจบริหารเองนั้น ไม่อาจท างานตรวจสอบได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นเหตุให้เกิดองค์กร
อิสระ ที่รัฐธรรมนูญรับประกันความเป็นอิสระไว้ก าเนิดขึ้นมา
องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจ (Independent Accountability Agency) ตรวจสอบ
ทั้งความชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรม ในด้านต่างๆกัน บางองค์กรตรวจสอบกระบวนการก่อนเข้าสู่อ านาจ
เช่น คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง บางองค์กรตรวจสอบภายหลังเข้าสู่อ านาจแล้ว บางองค์กรตรวจสอบการ
ทุจริตประพฤติมิชอบ แต่บางองค์กรตรวจสอบความบกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดิน บางองค์กรอาจจะ
เน้นตรวจสอบด้านการเงินบ้างก็ตรวจสอบมุ่งเน้นที่สิทธิมนุษยชน
ประเทศไทยปัจจุบันได้สร้างองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบการใช้อ านาจ ได้แก่ (1) คณะกรรมการการ
เลือกตั้ง (ก.ก.ต.) (2) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (3) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
(4) ส านักงานตรวจเงินแผ่นดินและผู้ตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) (5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ก.
ส.ม.)
มีผู้เสนอว่า องค์กรอิสระเหล่านี้ หลุดพ้นออกจากโครงสร้างการแบ่งแยกอ านาจเป็นสามส่วนแบบ
มงเตสกิเออร์แล้ว องค์กรอิสระเหล่านี้ คือ อ านาจอธิปไตยที่สี่ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ น าไปสู่ปัญหาการออกแบบ
องค์กรอ านาจอธิปไตยที่สี่ คือ ค าถามว่า อ านาจอธิปไตยที่สี่นั้นอยู่ตรงในของระบอบการเมืองนั้น ซึ่งยังไม่มี
ค าตอบที่ชัดเจน
ระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง ซับซ้อน และเข้มงวดนั้นอาจจะส่งเสริมความสุจริตโปร่งใสและนิติธรรมก็
จริง แต่การตรวจสอบการใช้อ านาจนั้นที่ซับซ้อนเข้มแข็งเข้มงวด ย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ด ารง
ต าแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง ซึ่งตามหลักกฎหมายมหาชนที่ดี กฎหมายควรสร้างสมดุล
ระหว่างประโยชน์สาธารณะ คือ นิติธรรม ความโปร่งใสสุจริต กับสิทธิเสรีภาพส่วนตัวของประชาชน ไม่ว่าจะ
อยู่ในต าแหน่งใดก็ตามท้ายที่สุดคือข้อวิจารณ์ต่อภาพรวม ว่าการตรวจสอบที่มีมากมายขึ้นอย่างไม่จ าเป็น
กลายเป็นยกให้องค์กรตรวจสอบที่มีอ านาจล้นเหลือเหล่านี้กลายเป็นองค์กรเหนือการเมือง (elite
constitutional body) ซึ่งคอยควบคุมการเมืองอีกมี
ดังนั้น จึงจ าเป็นต้องทบทวนรูปแบบการตรวจสอบการใช้อ านาจที่เป็นอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญไทยใน
ปัจจุบัน เพื่อแสวงหาจุดสมดุล ระหว่างการตรวจสอบการใช้อ านาจ และระบบบริหารราชการแผ่นดินที่มีเหตุมี
ผล (rational public administration)
ในไต้หวัน ได้สถาปนารัฐธรรมนูญห้าอ านาจขึ้นจากแนวคิดของซุนยัดเซนซึ่งผสมผสานแนวคิดแบบ
ตะวันตกเข้ากับระบบดั้งเดิมของจีน โดยซุนยัดเซนมองย้อนกลับไปในการปกครองของจีนเองและเสนอว่า
ระบบผู้ตรวจการ ซึ่งมีอ านาจทั่วไปในการตรวจสอบการกระท าผิดของเจ้าหน้าที่ทั่วราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็น
การทุจริต ประมาทเลินเล่อ หรืออื่นๆ และยังมีอ านาจจับกุมถอดถอนเจ้าหน้าที่เหล่านี้อีกด้วย จึงเกิดฝ่าย
ควบคุม (Control Yuan) ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นอิสระจากการแทรกแซงโดยอ านาจอื่น