Page 10 - 23461_Fulltext
P. 10
1
บทที่ 1 การออกแบบระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจใหม่ในระบอบการเมืองไทย
1. หลักการและเหตุผล
1
อ านาจคือความสามารถที่บังคับให้ผู้อื่นท าตามความปรารถนาของผู้ที่มีอ านาจนั้น อ านาจอาจมาจาก
การใช้ก าลังบังคับทางภายภาพ การข่มขู่กดดัน หรือมาจากทรัพย์สินที่สะสมไว้ หรือมาจากสติปัญญาที่ใช้
2
เจรจาโน้มน้าวก็ได้ แต่ทั้งหมด สรุปรวบยอดว่า อ านาจนั้น สามารถบังคับให้คนที่มีอ านาจน้อยกว่าปฏิบัติตาม
ได้ หากไม่เช่นนั้นก็อาจจะได้รับผลร้ายต่อเนื้อตัวร่างกาย หรือถูกจ ากัดการเข้าถึงทรัพยากร จนต้องจ ายอมใน
ที่สุด ในรัฐ อ านาจสูงสุดคือ อ านาจอธิปไตย
ในโลกยุคใหม่ ความเข้าใจเรื่องอ านาจเปลี่ยนแปลงไปจากความเข้าใจอ านาจในโลกยุคเก่า ตลอด
ช่วงเวลาก่อนศตวรรษที่ 17 อ านาจ เป็นสมบัติส่วนตัวของผู้ปกครอง ซึ่งควรจะต้องใช้ให้ดี แต่ไม่จ าเป็นต้องท า
เช่นนั้น แต่วิธีคิดเกี่ยวกับอ านาจเช่นนี้ถูกท้าทายมากขึ้นทุกที จนสุดท้ายแล้ว ภายหลังการปฏิวัติใหญ่ใน
3
ฝรั่งเศสและอเมริกาเหนือ จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า อ านาจและผู้ใช้อ านาจจึงแยกจากกัน อ านาจเป็นของปวงชน
ในขณะที่ผู้ใช้อ านาจนั้นเข้ามาใช้ชั่วคราว อ านาจจึงแปรสภาพจากอภิสิทธิส่วนตัวของผู้ทรงอ านาจ มาเป็น
หน้าที่ของผู้รับมอบอ านาจแทน ในระบอบประชาธิปไตย ผู้มีอ านาจต้องใช้อ านาจให้ดี กล่าวคือ ใช้อ านาจเพื่อ
ประโยชน์ของปวงชนผู้เป็นเจ้าของอ านาจที่แท้จริง ใช้อ านาจโดยโปร่งใส สุจริต
ประสบการณ์ของสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสในฐานะต้นก าเนิดประชาธิปไตยนั้นมีบทสรุปส าคัญ คือ
ระบอบประชาธิปไตยเข้าใจว่า อ านาจนั้นอาจถูกใช้บิดผันได้ และมนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ควรไว้ใจให้ครองอ านาจ
ล้นพ้นสมบูรณ์โดยไม่มีใครทัดทาน การออกแบบระบบตรวจสอบการใช้อ านาจจึงจ าเป็น ดังจะเห็นจาก
4
หลักการแบ่งแยกอ านาจ การตรวจสอบการใช้อ านาจเป็นหัวใจของหลักนิติธรรม ซึ่งเป็นเสาหลักของระบอบ
ประชาธิปไตย เคียงคู่กับหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการเลือกตั้งรัฐบาล
เมื่ออ านาจรัฐถูกตรวจสอบได้ จึงเป็นหลักประกันว่า ผู้มีอ านาจจะใช้อ านาจนั้นอย่างระมัดระวัง
เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน และไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง อ านาจรัฐนั้นเป็นสมบัติส่วนรวมที่ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองผลัดกันเข้ามาใช้
อ านาจเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม อ านาจรัฐไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของผู้ใดผู้หนึ่งอีกต่อไป การใช้อ านาจจึงต้อง
เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ภายใต้กรอบกระบวนการที่ถูกต้อง
รัฐใดที่การใช้อ านาจปราศจากการตรวจสอบ ไม่มีส านึกความพร้อมรับผิด ระบอบประชาธิปไตยของ
รัฐนั้นย่อมสั่นคลอนได้ง่ายเนื่องจากรัฐปราศจากความชอบธรรม และอาจน าไปสู่วิกฤติประชาธิปไตย วิกฤติ
รัฐธรรมนูญ น าไปสู่สภาวะรัฐธรรมนูญล้มเหลวในที่สุด เมื่อทั้งรัฐบาลและประชาชนละทิ้งหลักการปกครอง
5
ตามรัฐธรรมนูญลงโดยสิ้นเชิง
1 David Beetham, Legitimation of Power (New York: Macmillan, 1991) 43.
2 เพิ่งอ้าง 44.
3 ดูยุคศตวรรษที่ 11-16 ใน John M. Kelly, A Short History of Western Legal Theory (Clarendon House, 1992).
4 บรรเจิด สิงคะเนติ, ‘หลักนิติรัฐ (das rechtsstaatsprinzip)’ ใน เอกบุญ (บรรณาธิการ) นิติรัฐ นิติธรรม (กรุงเทพฯ : โครงการต าราและเอกสารประกอบการ
สอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553) 235.
5 Jack Balkin, ‘Constitutional Crisis and Constitutional Rot’ in Mark A. Graber, Sanford Levinson, and Mark Tushnet (eds) Constitutional
Democracy in Crisis? (Oxford University Press 2018) 14-16.