Page 14 - 23461_Fulltext
P. 14
5
19
ในที่รโหฐาน งานศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ป.ป.ช. กับองค์กรอื่น เป็นการศึกษาอ านาจของ ป.ป.ช. ในการ
20
ตรวจสอบผู้พิพากษาและตุลาการ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ส าคัญและน่าสนใจ แต่ไม่ได้ตอบค าถามเกี่ยวกับภาพรวม
ของระบบตรวจสอบการทุจริต
ปัญหาเดียวกันนี้ถูกยกขึ้นในการศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าอ านาจของผู้ตรวจการ
แผ่นดินนั้นได้รับการขยายออกไปให้กว้างขวางขึ้นเกินกว่าขีดความสามารถของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่น่าสนใจ
คือในงานนี้ระบุชัดเจนว่าผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภานั้นล้มเหลวด้านการควบคุมตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐ
และเสนอให้ยกเลิกอ านาจบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง เพราะถูกมองว่าเป็น
การแทรกแซงอ านาจพิจารณาโทษทางวินัย ซึ่งเป็นเรื่องการบริหารบุคคลภายในฝ่ายปกครอง แต่ให้เน้นที่งาน
แก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติหน้าที่ราชการในเชิงระบบมากขึ้นกว่างานแก้ไขปัญหาเฉพาะ
21
ราย
ผู้ตรวจการแผ่นดินดูเหมือนจะเป็นองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐที่มีปัญหาเรื่อง
อ านาจหน้าที่ทับซ้อนกับองค์กรอื่นเป็นพิเศษ ในงานอีกชิ้น ซึ่งพยายามศึกษาความซ้ าซ้อนของอ านาจหน้าที่
องค์กรอิสระนั้น เป็นการศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งผู้วิจัยได้แสดง
ให้เห็นว่ามีหน้าที่บางส่วน โดยเฉพาะหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น ทับซ้อนกัน จึงได้เสนอ
ทางแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการคงองค์กรทั้งสองไว้ แต่ปักปันเขตแดนอ านาจหน้าที่ให้ชัดเจน หรือให้ยุบเหลือเพียง
22
องค์กรเดียวที่หน้าที่ดังกล่าวไป
แต่งานที่ศึกษาความเกี่ยวข้องของอ านาจหน้าที่ขององค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐทั้ง
ระบบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ปัญหาใหญ่คือ กรอบที่จะใช้ในการศึกษา มีความพยายามจะใช้หลักนิติธรรมและหลัก
นิติรัฐเป็นมาตรในการประเมินอ านาจหน้าที่ขององค์กรอิสระทั้งหมดในรัฐธรรมนูญ 2560 แต่ไม่อาจหา
23
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมได้
ปัญหาความซ้ าซ้อนของอ านาจหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้นถูกวิจารณ์โดยคณะกรรมาธิการร่าง
รัฐธรรมนูญเองด้วย มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่า ที่ผ่านมา
พบว่าองค์กรอิสระท าหน้าที่ที่ทับซ้อน ท าให้เกิดปัญหา ความยุ่งยาก และท าให้เปลืองงบประมาณ โดยตัวอย่าง
ที่มีชัยยกขึ้นมา คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งมีอ านาจหน้าที่ทับซ้อนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติใน
การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการทุจริตประพฤติมิชอบทับซ้อนกับ ป.ป.ช. หรือถ้ามีการใช้
จ่ายเงินแผ่นดินเกี่ยวข้องก็จะทับซ้อนกับส านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน บางครั้ง ประชาชนผู้ร้องเรียนก็
24
ร้องเรียนทุกหน่วยงานพร้อมๆ กัน
19 เบญจวรรณ หนูพยันต์, ‘อ านาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกรณีจับบุคคลและค้นที่รโหฐาน’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2555).
20 อานนท์ มาเม้า, ‘การตรวจสอบผู้พิพากษาและตุลาการโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).
21 สิริยา พรหมราชยศ, ‘ปัญหาสถานะ และอ านาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553)
22 ภาคภูมิ ฤกขะเมธ, ‘ปัญหาความซ้ าซ้อนในอ านาจหน้าที่ และที่มาของผู้บริหารในองค์กรอิสระภาคใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550:กรณีศึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน’ (2556) 1 วารสารสถาบันพระปกเกล้า 1, 1
23 จุมพล รัตธนภาส, ‘อ านาจขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตามหลักนิติธรรมและนิติรัฐ’ (วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).
24 'มีชัย'ชี้องค์กรอิสระท างานซ้ าซ้อน-เปลืองงบประมาณ’ (กรุงเทพธุรกิจ, 15 กุมภาพันธ์ 2560) <https://www.bangkokbiznews.com/politics/740670>
สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565.