Page 15 - 23461_Fulltext
P. 15
6
ปฏิกิริยาขององค์กรอิสระต่อค าวิจารณ์ดังกล่าว คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกันออกแนวปฏิบัติในการรับส่งเรื่องร้องเรียนระหว่างองค์กร เพื่อป้องกันความ
25
ซ้ าซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่และเสริมความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าแนวปฏิบัติ
ดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาความซ้ าซ้อนนี้ได้เพียงใด เพราะองค์กรอิสระเจ็ดองค์กรเคยร่วมมือกันบูรณาการแผน
ยุทธศาสตร์ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ควบคุมและตรวจสอบการ
ท างานของเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เสริมสร้างและสนับสนุนกระบวนการ
ประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรม ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ รับเรื่องร้องเรียนและพิจารณา
วินิจฉัยเรื่องร้องเรียนที่ประชาชนได้รับความ เดือดร้อนจากการกระท า หรือ การละเว้นการกระท าของ
เจ้าหน้าที่ของรัฐมาก่อนแล้วภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด
3. ค าถามวิจัย
โจทย์ใหญ่ที่สุดของงานวิจัยนี้ คือ การพยายามหาจุดสมดุลของการออกแบบระบบการตรวจสอบการใช้
อ านาจภายใต้บริบทของการเมืองไทย โดยงานวิจัยนี้ มุ่งตอบค าถามสองข้อต่อไปนี้ คือ
(1) ระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจภายใต้รัฐธรรมนูญไทยในปัจจุบัน เป็นอย่างไร องค์กรต่างๆ สัมพันธ์
เกี่ยวข้องกันอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับองค์กรการเมืองอื่นๆ อย่างไรบ้าง
(2) ระบบการตรวจสอบการใช้อ านาจภายใต้รัฐธรรมนูญไทยข้างต้น เหมาะสมกับระบบการเมืองไทย
หรือไม่
4. วัตถุประสงค์
(1) เพื่อศึกษาโครงสร้างของระบบตรวจสอบการใช้อ านาจภายใต้รัฐธรรมนูญไทยทั้งหมด ไม่เฉพาะแต่
องค์กรใดองค์กรหนึ่ง
(2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรตรวจสอบการใช้อ านาจด้วยกันเอง และกับองค์กรการเมืองอื่น
(3) เพื่อประเมินข้อดีและข้อเสียจากระบบตรวจสอบการใช้อ านาจในปัจจุบัน
5. วิธีวิจัย
ค าถามวิจัยนี้ ไม่ได้ถามว่า เราจะจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบได้หรือไม่ แต่ถามว่า เราควร
ออกแบบองค์กรเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจอย่างไร ค าถามคือ Should we? ไม่ใช่ Could we? ซึ่งความ
ท้าทายหลัก คือ ค าถามเรื่องการออกแบบ ว่าประเทศไทยมีระบบตรวจสอบการใช้อ านาจที่ซ้ าซ้อนหรือมาก
เกินไปนั้น เป็นทั้งค าถามทางกฎหมาย และค าถามทางการเมือง กล่าวคือ ค าตอบขึ้นอยู่กับบริบททางการเมือง
ของแต่ละประเทศด้วย ไม่มีแนวปฏิบัติที่เป็นสากลเหมือนกันส าหรับทุกประเทศ ทุกประเทศ ต้องออกแบบ
ระบบตรวจสอบนี้ให้เหมาะสมเอง
25 ‘ก.ส.ม.เผย5องค์กรอิสระ ร่วมออกแนวปฏิบัติรับส่งเรื่องร้องเรียน ป้องกันท างานซ้ าซ้อน’ (ส านักข่าวอิศรา, 21 กรกฎาคม 2563)
<https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/90530-news-97.html> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565.