Page 18 - 23461_Fulltext
P. 18

9


               มอบหมายอ านาจแก่เจ้าหน้าที่นั้นเป็นไปโดยความยินยอมของตน ผ่านผู้แทนหรือด้วยวิธีการประชามติ เมื่อ
               กฎหมายถูกตราขึ้นจากความยินยอมพร้อมใจของผู้แทนปวงชน รัฐบาลผู้ใช้อ านาจตามกฎหมายเป็นรัฐบาลที่

               ได้รับเลือกจากเสียงของปวงชน ดังนั้น เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ (vox populi, vox dei) และกฎหมายก็
               ชอบธรรมในตัวเอง
                       แต่วิธีอธิบายเช่นนั้นไม่ได้ผลเสมอไป ปัญหาอาจเกิดขึ้นในสองระดับ คือ แม้ในระดับสูงสุด ระบบ
               กฎหมายนั้นจะมาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน แต่กฎหมายฉบับนั้นมีปัญหาเอง หรือการใช้

               กฎหมายของเจ้าหน้าที่นั้นมีปัญหา เจ้าหน้าที่อาจไม่มีความชอบธรรมในการใช้อ านาจตามกฎหมาย เมื่อใช้
               อ านาจนั้นผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์หรือเกินเลยขอบเขตแห่งกฎหมายที่ก าหนด (ultra vires) นอกจากนี้
               ปัญหาอาจจะมาจากระบบกฎหมายที่ไม่ได้มาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน เมื่อระบอบการเมืองไม่
               เป็นประชาธิปไตยตั้งแต่แรก เช่นนี้แล้ว การอ้างความชอบธรรมจากกฎหมายเองก็กลายเป็นไม่มีผลใดๆ

                       ดังนั้น ระบบการเมืองสมัยใหม่จึงพยายามสร้างความชอบธรรมให้แก่อ านาจผ่านการตรวจสอบ การใช้
               อ านาจที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว เป็นการใช้อ านาจที่น่าเชื่อถือ เพราะเป็นการใช้อ านาจอย่างรับผิดชอบ
               (accountable exercise of power)
                       ในด้านอุดมการณ์ ระบอบประชาธิปไตยจึงน าเสนอหลักนิติธรรม ซึ่งจะก ากับการใช้อ านาจให้ดี ใน

               ด้านโครงสร้าง ระบบการเมืองสมัยใหม่จึงต้องออกแบบกลไกตรวจสอบการใช้อ านาจเพื่อเป็นหลักประกันให้
               ประชาชนเชื่อมั่นว่าอ านาจที่รัฐใช้อยู่นั้น ผ่านการตรวจสอบแล้ว ว่าจะใช้เพื่อประโยชน์ของปวงชน ไม่ลุแก่
               อ านาจ


                       2. องค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบในฐานะอ านาจอธิปไตยที่สี่

                       มงเตสกิเออ (Montesquieu) เสนอหลักการแบ่งแยกอ านาจเพื่อป้องกันทรราชย์ ข้อสันนิษฐาน

               เกี่ยวกับอ านาจ คือ ไม่ควรให้บุคคลใดคนหนึ่งมีอ านาจอยู่ในมือมากเกินไป อ านาจต้องถูกแบ่งให้กระจายอยู่ใน
               มือของบุคคล หรือองค์กรต่างกัน เพื่อให้แต่ละอ านาจดุลและคานกันเอง  โดยมงเตสกิเออเสนอให้แบ่งอ านาจ
                                                                          30
               อธิปไตยออกเป็นสามส่วน คือ อ านาจนิติบัญญัติ อ านาจบริหาร และอ านาจตุลาการ ให้อยู่กับสภานิติบัญญัติ

               คณะรัฐมนตรี และศาลตามล าดับ แนวคิดแบ่งแยกอ านาจของมงเตสกิเออได้รับการตอบรับที่ดีโดยเหล่าผู้ร่าง
               รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ซึ่งน าเอาหลักการดังกล่าวไปออกแบบรัฐธรรมนูญให้เกิดผลจริง และบรรดาคณะผู้
               ปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งระบุไว้ในค าประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองฝรั่งเศส ว่า สังคมใดไม่มีการแบ่งแยกอ านาจ
                                    31
               สังคมนั้นไม่มีiรัฐธรรมนูญ
                       ที่ผ่านมาโดยตลอด การแบ่งแยกอ านาจยึดถือการแบ่งเป็นสามอ านาจตามที่มงเตสกิเออร์เสนอแนะมา
               โดยตลอด โดยให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านการอภิปราย และควบคุมผ่านกระบวนการนิติ
               บัญญัติ ส่วนฝ่ายบริหารมีกลไกยุบสภา หรือยับยั้งการผ่านร่างกฎหมายเป็นการตอบโต้ สุดท้าย ทั้งสองฝ่าย
               ล้วนถูกตรวจสอบได้โดยฝ่ายตุลาการ ตามหลักการ judicial review ที่สถาปนาขึ้นโดยศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา

                                        32
               ในคดี Marbury v. Madison




               30  บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2546) 69-71.
               31  เพิ่งอ้าง 86.
               32  ดู Melvin I. Urofsky, "Marbury v. Madison" (Encyclopedia Britannica, 13 July 2022) <https://www.britannica.com/event/Marbury-v-
               Madison> สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022.
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23