Page 23 - 23461_Fulltext
P. 23
14
แม้จะมีประวัติศาสตร์ของเผด็จการทหารยาวนาน แต่ไต้หวันมีคุณภาพประชาธิปไตยที่ดี ระดับหลัก
46
47
นิติธรรมสูง การทุจริตต่ า
ส าหรับรัฐธรรมนูญ น่าสนใจที่รัฐบาลจีนคณะชาติถือตัวเป็นทายาททางอุดมการณ์ของ ดร. ซุน ยัด
เซน ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐจีน และรัฐบาลอันชอบธรรมของแผ่นดินจีนมาโดยตลอด รัฐธรรมนูญไต้หวันคือ
รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีนที่ถูกรับรองที่นานกิงเมื่อปี 1946 และไม่เคยถูกล้มล้างไป โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แสดงอิทธิพลของความคิด ดร. ซุนยัดเซนอย่างชัดเจน
รัฐธรรมนูญห้าอ านาจ
ประวัติความคิดที่มาขององค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบการใช้อ านาจของไต้หวันนั้นสะท้อนความ
พิเศษของตัวมันเอง เนื่องจากมีหลักคิดที่พัฒนามาค่อนข้างดีตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง โดยอ้างอิงอยู่บนฐานของสิ่งที่ ดร.
ซุนยัดเซนน าเสนอ คือ ประชาธิปไตยสี่อ านาจ และรัฐธรรมนูญห้าอ านาจ โดยซุนยัดเซนผสมผสานแนวคิดแบบ
ตะวันตกเข้ากับระบบดั้งเดิมของจีนซึ่งซุนยัดเซนเห็นว่า เหนือกว่าประชาธิปไตยแบบตะวันตกดั้งเดิม
ซุนยัดเซนเห็นว่า อ านาจรัฐที่ชอบธรรมนั้น มีสองรูปแบบ รูปแบบแรก คือ อ านาจอธิปไตยจากปวงชน
ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพสี่ประการ คือ การออกเสียงเลือกตั้ง การถอดถอน การริเริ่มเสนอกฎหมาย และ
สุดท้ายคือการออกเสียงประชามติ อ านาจที่สี่ของประชาชนไล่จากประชาธิปไตยแบบผู้แทนไปสู่ประชาธิปไตย
ทางตรง อ านาจรูปแบบที่สอง คือ อ านาจที่องค์กรของรัฐมีอยู่เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนิติบัญญัติ บริหาร
48
และตุลาการ อ านาจรูปแบบที่สอง ต้องไม่ละเมิดอ านาจของประชาชน
จากนั้น ซุนยัดเซนจึงเสนอการออกแบบรัฐธรรมนูญแบบห้าอ านาจขึ้น แนวคิดประชาธิปไตยตะวันตก
เสนอการแบ่งแยกอ านาจออกเป็นสาม คือ อ านาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซุนยัดเซนเห็นว่าไม่เพียงพอ
ที่จะตรวจสอบการใช้อ านาจของรัฐเหนือประชาชนได้ ซุนยัดเซนมองย้อนกลับไปในการปกครองของจีนเอง
และเสนอว่าระบบผู้ตรวจการ ซึ่งมีอ านาจทั่วไปในการตรวจสอบการกระท าผิดของเจ้าหน้าที่ทั่วราชอาณาจักร
ไม่ว่าจะเป็นการทุจริต ประมาทเลินเล่อ หรืออื่นๆ และยังมีอ านาจจับกุมถอดถอนเจ้าหน้าที่เหล่านี้อีกด้วย ใน
ฐานะตัวแทนต่างพระเนตรพระกรรณของจักรพรรดินั้น อาจน ามาปรับใช้กับแนวคิดแบ่งแยกอ านาจได้
49
นอกจากนั้น ซุนยัดเซนยังกังวลเรื่องการเลือกตั้งซึ่งอาจเอื้อต่อคนรวยมากกว่าคนจน จึงเสนอระบบสอบแบบ
จอหงวน เพื่อคัดสรรบุคคลเข้าสู่ระบบราชการโดยอิสระอีกด้วย
50
ผลที่ได้คือ รัฐธรรมนูญห้าอ านาจ (Five-Yuan Constitution, Five-Power Constitution) ซึ่ง
แบ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ฝ่ายตรวจสอบควบคุม และฝ่ายสอบคัดเลือก ฝ่ายควบคุม (Control
51
Yuan) ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นอิสระจากการแทรกแซงโดยอ านาจอื่น
46 ไต้หวันถูกจัดว่ามีประชาธิปไตยสมบูรณ์ (full democracies) อยู่ล าดับที่ 8 ของโลก คะแนน 8.99 ดู EIU, ‘A new low for global democracy’ (The
Economist, 9 Febuary 2022) <https://www.economist.com/graphic-detail/2022/02/09/a-new-low-for-global-democracy> สืบค้นเมื่อ 15
กรกฎาคม 2565.
47 ล าดับที่ 25 ของโลก คะแนน 68 ดู ‘Corruption Perception Index’ (Transparency International)
<https://www.transparency.org/en/cpi/2021/index/sgp> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565.
48 Ernest Caldwell, ‘Chinese Constitutionalism: Five-Power Constitution’ (Max Planck Encyclopedia of Comparative Constitutional Law
2017). ดู Sun Yat-sen ‘“The Principle of Democracy” (1924)’ (Asia for Educators, Columbia University) ที่
<http://afe.easia.columbia.edu/ps/cup/sun_yatsen_democracy.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565.
49 Ernest Caldwell (เชิงอรรถ 48).
50 Ernest Caldwell (เชิงอรรถ 48).
51 Constitution of the Republic of China (Taiwan) A.D. 1947 Chapter 9 sec. 90-106.