Page 217 - 23154_Fulltext
P. 217

212


               รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้งสัดส่วนใกล้เคียงกัน และในที่สุดแล้วรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

               ก็ได้ก าหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งล้วนตามมาตรา 107 ดังนี้
                              “มาตรา 107 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจ านวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของ
                       บุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือท างานหรือ

                       เคยท างานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ท าให้ประชาชนซึ่ง
                       มีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้

                              การแบ่งกลุ่ม จ านวนกลุ่ม และคุณสมบัติของบุคคลในแต่ละกลุ่ม การสมัครและรับสมัคร
                       หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกันเอง การได้รับเลือก จ านวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีจากแต่ละกลุ่มการขึ้น

                       บัญชีส ารอง การเลื่อนบุคคลจากบัญชีส ารองขึ้นด ารงต าแหน่งแทน และมาตรการอื่นใดที่จ าเป็นเพื่อให้
                       การเลือกกันเองเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

                       การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และเพื่อประโยชน์ในการด าเนินการให้การเลือกดังกล่าวเป็นไปโดยสุจริตและ
                       เที่ยงธรรม จะก าหนดมิให้ผู้สมัครในแต่ละกลุ่มเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน หรือจะก าหนดให้มีการคัดกรอง

                       ผู้สมัครรับเลือกด้วยวิธีการอื่นใดที่ผู้สมัครรับเลือกมีส่วนร่วมในการคัดกรองก็ได้
                              การด าเนินการตามวรรคสอง ให้ด าเนินการตั้งแต่ระดับอ าเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ

                       เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยในระดับประเทศ”
                       จากมาตราดังกล่าวจึงสังเกตได้อันดับแรกถึงจ านวนวุฒิสภาที่มากขึ้นเท่ากับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่มี

               จ านวน 200 คน ทว่าที่มากลับไม่ได้เป็นการเลือกตั้งแบบเดียวกัน แต่เป็นการเลือกกันเองแบบไขว้กันของ
               ผู้เชี่ยวชาญทางอาชีพ อีกทั้งเมื่อสังเกตจากมาตรา 108 (2) และ (3) สังเกตได้ว่าเป็นความเจาะจงเพื่อที่จะให้

               ข้าราชการอาวุโส หรือผู้บริหารระดับสูง มีโอกาสมากกว่าคนอื่นในการลงรับสมัคร ส.ว. เนื่องจาก มาตรา 108 (2)
               ก าหนดคุณสมบัติอายุ 40 ปีขึ้นไป ขณะที่ มาตรา 108 (3) บังคับให้ผู้สมัคร ส.ว. ต้องท างาน 10 ปีขึ้นไปในสาย
               อาชีพนั้น

                       อย่างไรก็ตาม ในส่วนความเปลี่ยนแปลงที่สอง เป็นเรื่องของอ านาจนิติบัญญัติของวุฒิสภาที่มาจากการ
               แต่งตั้งกลับสามารถท าได้เทียบเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร เริ่มต้นจาก พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ถึงแม้ว่าจะ

               ก าหนดให้คณะรัฐมนตรีหรือ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสภาผู้แทนราษฎรมีอ านาจเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกอบ
               รัฐธรรมนูญ แต่ในมาตรา 132 (1) ให้อ านาจทั้งสองสภาร่วมกันออกเสียงเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ

               ในวาระที่สามให้มีเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา และด้วยมาตรา 130 ก าหนดให้รัฐสภาร่วมออกแบบ
               พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญเหล่านี้ร่วมกัน

                       “มาตรา 130 ให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
                       (1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                       (2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
                       (3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

                       (4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222