Page 221 - 23154_Fulltext
P. 221
216
ขณะเดียวกันเมื่อย้อนกลับไปพิจารณายังที่มาของศาลรัฐธรรมนูญจะพบว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีวาระ 7 ปี
โดยที่ความยึดโยงกับสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐมนตรีได้หายไปโดยสมบูรณ์ รวมถึงความยึดโยงกับมติมหาชนก็ขาด
หายไป ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นสถาบันของตุลาการอาวุโส ข้าราชการระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวน
รวม 9 คนและมีที่มาการคัดเลือกตามมาตรา 200 ดังนี้
“มาตรา 200 ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจ านวน 9 คนซึ่ง
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งด ารงต าแหน่งไม่ต่ ากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกามาแล้วไม่
น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จ านวน 3 คน
(2) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งด ารงต าแหน่งไม่ต่ ากว่าตุลาการศาลปกครองสูงสุดมาแล้วไม่
น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จ านวน 2 คน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ด ารงต าแหน่งหรือเคยด ารงต าแหน่ง
ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และยังมีผลงานทาง
วิชาการเป็นที่ประจักษ์ จ านวน 1 คน
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ด ารงต าแหน่ง
หรือเคยด ารงต าแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีและ
ยังมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จ านวน 1 คน
(5) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้รับหรือเคยรับราชการในต าแหน่งไม่ต่ ากว่าอธิบดีหรือ
หัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือต าแหน่งไม่ต่ ากว่ารองอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีจ านวนสอง
คน”
ในแง่หนึ่ง ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดูเหมือนว่าจะเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง ทว่าในอีกมุม ที่มา
ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกลับไม่มีความยึดโยงแต่ประการใดจากประชาชน อันเป็นหลักประกันว่าสถาบันศาล
รัฐธรรมนูญจะรับฟังเสียงข้างมากและตัดสินบนฐานข้อเท็จจริงและไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลการเมืองของชนชั้นน า
ระบบราชการที่ต้องการใช้อ านาจตุลาการเพื่อต่อต้านอ านาจฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร มากกว่าที่จะเป็นการ
ใช้อ านาจตามหลักนิติศาสตร์ หลักประกันว่าศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับฟังประชาชนนั้นจึงไม่มีเลย ขณะที่อ านาจ
ของศาลรัฐธรรมนูญมากเพียงพอจะยับยั้งร่างกฎหมายที่มาจากรัฐสภาที่เป็นเครื่องสะท้อนเสียงของประชาชน
องค์กรอิสระแรก คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีวาระการด ารงต าแหน่ง 7 ปี จากเดิมที่มีอ านาจในการ
จัดการเลือกตั้งใหม่ ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จึงเสริมให้มีอ านาจมาตรา 224 (4) เพื่อให้สามารถระงับสิทธิ
เลือกตั้งของผู้รับสมัครเลือกตั้งได้ชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี หากพบว่าบุคคลนั้นกระท าหรือรู้เห็นกับการทุจริตเลือกตั้ง
องค์กรอิสระต่อมาคือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีวาระ 7 ปี มีขอบเขตอ านาจเพิ่มขึ้นตามมาตรา 231 ให้
ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหากพบบทบัญญัติกฎหมายหรือการกระท าของ
หน่วยงานใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า