Page 224 - 23154_Fulltext
P. 224
219
บทที่ 9
ความสัมพันธ์เชิงอ านาจในระบบรัฐสภาของไทย
จากการศึกษาทั้งกรณีศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์เชิงอ านาจในระบบรัฐสภาในต่างประเทศ และ
ความสัมพันธ์เชิงอ านาจของระบบรัฐสภาของไทย ผ่านการวิเคราะห์ทั้งบริบททางการเมืองและโครงสร้างของ
รัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ จึงน ามาสู่บทนี้ ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอ านาจ
ในระบบรัฐสภาของไทย และน าเสนอข้อเสนอรูปแบบของระบบรัฐสภาที่เหมาะสมกับความสัมพันธ์เชิงอ านาจของ
ไทย
10.1 ผู้มีบทบาทน าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ
จากที่ได้ท าการส ารวจรัฐธรรมนูญทั้งฉบับถาวรและชั่วคราวทั้ง 20 ฉบับ จาก พรบ.ธรรมนูญการปกครอง
ชั่วคราว พ.ศ. 2475 – รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 สามารถจ าแนกผู้ที่มีบทบาทน าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ดังนี้
ตารางที่ 10.1 : ผู้ที่มีบทบาทน าส่งผลต่อการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ จ านวนฉบับของแต่ละกลุ่ม
และรายชื่อฉบับ ตั้งแต่ พรบ.ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ. 2475 – รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
กลุ่มประเภทของผู้มีบทบาทน า จ านวนฉบับของรัฐธรรมนูญ ฉบับ (พ.ศ.)
(ฉบับ)
คณะราษฎร 3 2475 ชั่วคราว, 2475, 2489,
กลุ่มอนุรักษ์นิยม 1 2492
กองทัพ 13 2490 ชั่วคราว, 2475 แก้ไข
เพิ่มเติม 2495, 2502, 2511,
2515 ชั่วคราว, 2519 ชั่วคราว,
2520 ชั่วคราว, 2521, 2534
ชั่วคราว, 2534, 2549 ชั่วคราว,
2550, 2557 ชั่วคราว, 2560
สภาร่างรัฐธรรมนูญจากประชาชน 2 2517, 2540
ที่มา: จ าแนกโดยผู้วิจัย
จากตารางในข้างต้นจึงสังเกตได้ว่านับตั้งแต่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
กลุ่มของตัวแสดงมีบทบาทน า (hegemonic actors) อันส่งผลต่อการร่างหรือประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ
สามารถจ าแนกออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ คณะราษฎร (มีทั้งสมัยที่ปรีดียังเป็นแกนน าส าคัญ และสมัยที่จอมพล
ป. เป็นแกนน าที่ครองบทบาทแก้ไขรัฐธรรมนูญ) มีบทบาทจ านวน 3 ครั้ง คณะรัฐประหารโดยบุคลากรของกองทัพ
(ประกอบด้วยคณะรัฐประหารหลากหลายกลุ่มตามช่วงเวลาที่ผู้น ากองทัพแต่ละคนยังมีบทบาทน าในกองทัพ อาทิ
ผิน ชุณหะวัณ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร สงัด ชลออยู่ สุนทร คงสมพงษ์ สนธิ บุญยรัตกลิน หรือประยุทธ์
จันทร์โอชา เป็นต้น) จ านวน 12 ครั้ง และมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ภาคพลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมภายใต้บรรยากาศ