Page 227 - 23154_Fulltext
P. 227
222
ทว่าอย่างไรก็ตาม สิ่งส าคัญประการหนึ่งที่บริบททางประวัติศาสตร์สามารถชี้วัดพลวัตของระบบรัฐสภาใน
รัฐธรรมนูญที่ออกแบบภายใต้คณะรัฐประหาร ก็คือ หากสังเกตจากการรัฐประหารในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
จะพบว่าการรัฐประหารใน 2 ครั้งล่าสุดมีการเรียนรู้ให้มีความเป็นสถาบันมากยิ่งขึ้น หากตั้งข้อสังเกตจาก 2 ปัจจัย
ได้แก่ ปัจจัยแรกคือ เมื่อคณะรัฐประหารยึดอ านาจและยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้ว ต้นแบบของรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้
ถูกส่งต่อเป็นองค์ความรู้กันมา นับตั้งแต่ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502, 2515, 2519, 2520 มาจนถึง 2534 ที่
เป็นโครงร่างของธรรมนูญฉบับกองทัพที่สามารถน าต้นแบบมาใช้ได้ทันที โดยมีองค์ประกอบของสภาเดี่ยวที่รวบ
อ านาจให้ฝ่ายบริหารสามารถท างานได้ราบรื่น โดยที่นอกจากจะมีมาตราว่าด้วยอ านาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี
เช่น มาตรา 17 ของสฤษดิ์ หรือมาตรา 44 ของประยุทธ์ เป็นต้น ยังมีการก าหนดให้มีสภาจ าแลงของกองทัพเพื่อ
ควบคุมการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองผ่านต าแหน่งอย่างเป็นทางการที่รัฐธรรมนูญให้อ านาจหน้าที่เพื่อครอบง า
รัฐสภาผ่านอ านาจการประชุมร่วมเพื่อให้ค าปรึกษาได้อีกด้วย นอกจากนั้นปัจจัยที่สองคือ ผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญหลัง
รัฐประหารไม่ว่าจะ พ.ศ. 2549 หรือ 2557 ทั้งคู่ต่างเป็นคณะที่ปรึกษาทางกฎหมายให้คณะรัฐประหาร โดยมีบาง
คนที่สั่งสมประสบการณ์จากการร่วมออกแบบรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อรักษาอ านาจมาหลายครั้งจนได้มีบทบาทน า
ในการออกแบบรัฐธรรมนูญชั่วคราวให้แก่คณะรัฐประหาร ตัวอย่างเช่น มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นต้น ท าให้ระบบรัฐสภาที่
ออกแบบภายใต้คณะรัฐประหารไม่เพียงมีองค์ความรู้ในการออกแบบอย่างเป็นสถาบัน หากแต่ยังมีพัฒนาการให้
เข้ากับบริบททางการเมืองในช่วงเวลานั้น เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เพื่อให้
กลมกลืนกับที่เคยมี สสร. ในช่วงก่อร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หรือ สปช. ที่ตั้งขึ้นในรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.
2557 เพื่อให้เข้ากับกระแสปฏิรูปการเมือง เป็นต้น ขณะที่เมื่อมองย้อนกลับไปยังระบบรัฐสภาที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้
บรรยากาศทางการเมืองที่ต้องการให้เกิดประชาธิปไตยที่มีความตั้งมั่นและส่งเสริมอ านาจของประชาชนด้วยการรับ
ฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อย่างเช่น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 หรือ 2540 เป็นต้น ในส่วนต่อไปจึงจะพิจารณา
ภาพรวมความ (ไม่) เป็นพลวัตของการออกแบบโครงสร้างของระบบรัฐสภาในรัฐธรรมนูญอดีตถึงปัจจุบัน
2.21.2 กรอบศึกษารัฐธรรมนูญเชิงรัฐศาสตร์: พลวัตความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบรัฐสภา
จากเบื้องต้นที่ได้กล่าวถึงความเป็นพลวัตของการออกแบบระบบรัฐสภาภายใต้บทบาทน าของกองทัพช่วง
ในรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่ พรบ.ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ. 2475 – รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
อย่างไรก็ตาม เมื่อลองมองผ่านภาพรวมของสมาชิกในระบบรัฐสภาที่มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด จากสภาเดี่ยว
เป็นสภาคู่ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของที่มาและจ านวนของ ส.ส. และ ส.ว. ตามที่ก าหนดในรัฐธรรมนูญแต่ละ
ฉบับ พบว่ามีความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างรัฐสภาในภาพรวมดังนี้
ตารางที่ 5.3 : ความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างรัฐสภา จาก พรบ.ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ. 2475
– รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557