Page 231 - 23154_Fulltext
P. 231

226


                       โดยสรุปสุดท้ายแล้ว ท่ามกลางความผันผวนของการเมืองของระบบรัฐสภาที่ความสัมพันธ์เชิงอ านาจผัน

               ผวนสลับไปมา สภาผู้แทนราษฎรแม้ว่าจะมีจ านวนที่เยอะขึ้นและมีความเป็นตัวแทนที่ครอบคลุมทั้งการเมืองแบบ
               ท้องถิ่นและการเมืองเชิงอุดมการณ์ผ่านพรรคการเมืองระดับชาติ แต่กลับเผชิญกับบทเรียนที่ชนชั้นน าและคณะ
               รัฐประหารเรียนรู้ได้ว่าจะต้องมีการก ากับความสัมพันธ์เชิงอ านาจด้วยการทดลองกลไกการควบคุมถ่วงดุลอ านาจ

               เรื่อยมา ตั้งแต่การเพิ่มอ านาจตรวจสอบถ่วงดุลของวุฒิสภาแต่งตั้งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 และ 2534 มาจนถึง
               อ านาจถอดถอนผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 วุฒิสภาแทนที่จะเป็นกลไกหนึ่งที่จะ

               ตรวจสอบอีกสภาในระบบสภาคู่ตามอุดมคติของระบอบประชาธิปไตย หากแต่กลายเป็นซึ่งสิ่งสะท้อนพลวัตของ
               การเรียนรู้ของชนชั้นน าที่เก็บสั่งสมองค์ความรู้ในการออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อจ ากัดอ านาจของสภาผู้แทนราษฎรที่

               เป็นตัวแทนของเสียงส่วนมากในสังคมเรื่อยมา จนกระทั่งมีองค์ความรู้ในลักษณะที่มีความเป็นสถาบัน และได้
               ทดลองเพิ่มส่วนต่อขยายกลไกการก ากับในความสัมพันธ์เชิงอ านาจมาอย่างต่อเนื่อง ดังสังเกตได้จากการขยาย

               ขอบเขตอ านาจของศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะของตุลาการภิวัตน์ทางการเมืองที่ควบคุมได้ทั้งสภาผู้แทนราษฎร
               ตลอดจนควบคุมพฤติกรรมทางสังคมได้เช่นกัน  ในท้ายที่สุดแล้ว รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จึงจะสามารถท าความ
               เข้าใจได้ไม่ใช่ในฐานะส่วนหนึ่งของพลวัติพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไทย หากแต่เป็นไปเพื่อการท าความ

               เข้าใจสถาบันองค์ความรู้เพื่อการรักษาสถานะการครองอ านาจน าของชนชั้นน าการเมืองไทยให้เป็นระบบที่ชอบ
               ธรรมตามรัฐธรรมนูญในที่สุด
   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236