Page 229 - 23154_Fulltext
P. 229
224
ส.ส. ค่อนข้างผันผวนสลับขึ้นลงบนเส้นแนวโน้ม (trendline) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดเอารัฐธรรมนูญชั่วคราวของ
คณะรัฐประหารออกจากกราฟแล้วปรับเป็นดังตารางที่ 8 จะเห็นได้ว่า การก าหนดอัตราส่วน ส.ส. ค่อนข้างมีความ
สอดคล้องกับเส้นแนวโน้ม ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เพิ่มข้นและต้องปรับสัดส่วนของ
ตัวแทนในรัฐสภาให้เพิ่มสอดคล้องกับอัตราส่วนประชากร เพื่อที่ ส.ส. ในรัฐสภาจะมีตัวแทนเพียงพอที่จะสามารถ
ท าหน้าที่นิติบัญญัติให้สอดคล้องกับประชาชนที่เป็นตัวการเจ้าของผลประโยชน์ที่ ส.ส. จะรับหน้าที่เข้าไปสะท้อน
เสียงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของผลประโยชน์ อุดมการณ์ หรืออัตลักษณ์ที่ต้องการให้ ส.ส. เข้าไปท าหน้าที่สะท้อน
ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา เช่นนั้นแล้วการที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มีสัดส่วนจ านวน ส.ส. เพิ่มอย่างมี
นับส าคัญจาก 360 คน เป็น 500 คน จึงมีความสมเหตุสมผลให้ปรับเพิ่มจ านวนโดยแบ่งเป็นสัดส่วนของ ตัวแทน
แบบแบ่งเขต 400 คน ตามจ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจากสมัยที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 และตัวแทนอีก
100 คนจากสัดส่วนบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะท าหน้าที่สะท้อนอุดมการณ์ของพรรคการเมือง หรือกลุ่มอัตลักษณ์ที่
ต้องการสะท้อนเสียงในรัฐสภาแต่ไม่ได้มีเขตอิทธิพลทางการเมืองเป็นของตนเอง ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2550 ที่มีการลดจ านวน ส.ส. ลงเหลือ 480 คน ด้วยการลดผู้แทนสัดส่วนบัญชีรายชื่อลงเหลือ 80 คน และ
ปรับเป็นระบบ 8 กลุ่มจังหวัด กลับไม่ได้เป็นการสะท้อนพลวัตของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาดังกล่าว
หากแต่สะท้อนแรงต่อต้านทางการเมืองจากชนชั้นน าระบบราชการและกองทัพเสียมากกว่า
ในทางกลับกัน วุฒิสภาซึ่งเป็นสภาที่ท าหน้าที่ร่วมพิจารณาตรวจสอบการท าหน้าที่นิติบัญญัติของสภา
ผู้แทนราษฎรนั้น หากสังเกตผ่านตารางที่ 8 จะสังเกตได้อย่างน้อย 2 ข้อ ข้อแรกจ านวนของวุฒิสภาในระบบ
รัฐสภาจะมีจ านวนลดลงอย่างมีนัยส าคัญในช่วงที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนส าคัญในการเข้า
ร่วมกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ดังเช่น การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่จ านวน ส.ส. เพิ่มขึ้นจาก
219 คน เป็น 269 คน ขณะที่จ านวน ส.ว. ลดลงจาก 120 คน เหลือ 100 คน และการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 ที่จ านวน ส.ส. เพิ่มขึ้นจาก 360 คน เป็น 500 คน ขณะที่จ านวน ส.ว. ลดลงจาก 270 คน เหลือ 200
คน และถัดมาในข้อสอง ขอบเขตอ านาจของวุฒิสภาในการตรวจสอบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอ านาจน าใน
ความสัมพันธ์เชิงอ านาจในระบบรัฐสภามากขึ้นอย่างมีนัยส าคัญในช่วงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นบริบท
การเมืองแบบเปรมาธิปไตย รวมถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ที่พยายามจะสืบทอดการเมืองเปรมาธิปไตยแต่ไม่
ส าเร็จ วุฒิสภามีสัดส่วน 3 ใน 4 ของสภาผู้แทนราษฎร มีประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา และให้อ านาจ
วุฒิสภาที่เป็นตัวแทนของพลังระบบราชการ เทคโนแครต และกองทัพ ได้ร่วมมีอ านาจประชุมร่วมในประเด็นทาง
การเมืองที่ส าคัญต่อสถาบันกษัตริย์ ความมั่นคง หรือประเด็นทางรัฐธรรมนูญ ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย แต่
ทว่า ด้วยการที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้ปรับเปลี่ยนที่มาของวุฒิสภาให้มาจากการเลือกตั้ง ส่งผลพลังของรัฐ
ราชการลดลงไปจากการแทรกแซงผ่านระบบรัฐสภา และยังท าให้พรรคการเมืองใหญ่สามารถใช้ระบบรัฐสภาเพื่อ
ผลักดันทางการเมืองได้อยางเต็มที่ยิ่งขึ้น จึงสามารถท าความเข้าใจได้ถึงเหตุปัจจัยที่ชนชั้นน าหวาดระแวงจากการที่
สูญเสียพลังในการคานอ านาจผ่านต าแหน่งวุฒิสภาแต่งตั้ง จนน ามาสู่การรื้อฟื้นอ านาจอย่างมีพลวัตในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2550 ที่แบ่งสัดส่วนวุฒิสภาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้งอย่างละครึ่ง เช่นเดียวกับระยะต่อมาที่รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560 จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และแทรกแซงกระบวนการนิติบัญญัติของ
สภาผู้แทนราษฎรในการผ่านร่างกฎหมายหรือร่างรัฐธรรมนูญได้ด้วยตัวแทนของชนชั้นน ารัฐราชการโดยตรง หรือก็