Page 230 - 23154_Fulltext
P. 230
225
คือ พลวัตของวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญจากอดีตถึงปัจจุบันนั้นเป็นการรื้อฟื้นพลังของระบบราชการรัฐราชการที่เคย
ผ่อนพลังลงหลังจากมีกระแสการเมืองภาคประชาชน จนในที่สุดสามารถกลับมามีอ านาจแสวงผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจการเมืองในระบบรัฐสภาได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง
บทสรุปการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และผลลัพธ์ที่น่าพอใจ?
ท้ายที่สุดแล้วในการประเมินพลวัตของระบบรัฐสภาที่มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด 90 ปี ผ่านรัฐธรรมนูญ
กว่า 20 ฉบับนั้นสามารถประเมินความส าเร็จของการเปลี่ยนผ่านได้ด้วยหลากหลายกรอบการคิดที่วางหลักการ
ประเมินแตกต่างกันไป
ความเปลี่ยนแปลงของสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างทีละเล็กน้อยท่ามกลางความผันผวนทางการเมืองที่
กลับคืนสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติภายใต้คณะรัฐประหารอยู่เป็นระยะ โดยหลักแล้วความเปลี่ยนแปลงของสภา
ผู้แทนราษฎรมีทั้งเชิงปริมาณที่ปรับเปลี่ยนจากเกณฑ์จ านวนต่อสัดส่วนประชากรมาเป็นเกณฑ์ช่วงจ านวนที่ชัดเจน
ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่ก าหนดให้มี ส.ส. จ านวน 240 คนไม่เกิน 300 คน จากนั้นจึงปรับเป็นเกณฑ์จากช่วง
มาเป็นไม่เกินตัวเลขที่ก าหนดในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ที่ก าหนดให้มี 360 คน และจากนั้นได้เพิ่มจ านวนอย่างมี
นัยส าคัญในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่เพิ่มเป็น 500 คน และนอกจากนั้นในเชิงคุณภาพก็ปรากฎขึ้นอย่างมี
นัยส าคัญในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ยังได้แยกเป็นตัวแทนแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อเพื่อเป็นตัวแทนอุดมการณ์
ของพรรค ในแง่หนึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ยังได้ท าให้พรรคการเมืองมีความเป็นสถาบันการเมืองที่ไม่ได้เพียงวัด
ด้วยเกณฑ์ของระยะการมีอยู่ของพรรค หากแต่ยังเป็นพรรคในฐานะสถาบันการเมืองที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่
ต้องตอบสนองให้ส าเร็จด้วยกระบวนการรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ความส าเร็จที่มากเกินไปของพรรคการเมืองยังได้
สร้างความหวาดระแวงที่ชนชั้นน ามีต่อประชาธิปไตยให้เกิดข้อจ ากัดให้ความสัมพันธ์เชิงอ านาจของสภา
ผู้แทนราษฎรไม่เพียงแต่ถูกตรวจสอบถ่วงดุลผ่านรัฐสภา แต่ยังมีกลไกตรวจสอบเพื่อถอดถอนตัวแทนออกจาก
ระบบรัฐสภาที่มีอ านาจมากขึ้นอย่างมีนัยส าคัญโดยมีวุฒิสภา องค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญในการรับหน้าที่
ตรวจสอบเพื่อจ ากัดอ านาจของสภาผู้แทนราษฎร
จากพลวัตของความเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ วุฒิสภากลายมาเป็นกลไกส าคัญที่มาจากการ
แต่งตั้งของพลังระบบราชการรัฐราชการเพื่อถ่วงดุลจ ากัดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของสภาผู้แทนราษฎรอย่างมี
นัยส าคัญตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 เป็นต้น หรือก็คือช่วงการเมืองแบบเปรมาธิปไตยที่เป็นรัฐบาลประชาธิปไตย
ครึ่งใบ ระหว่างสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้ง กับวุฒิสภาและนายกรัฐมนตรีจากการแต่งตั้ง เพื่อเป็นตัวแทน
ของระบบราชการ เทคโนแครต และกองทัพ ในการครองอ านาจน าในความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่มีต่อสภา
ผู้แทนราษฎร และเมื่อเป็นเช่นนั้น ความส าเร็จของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จึงน ามาสู่การรื้อฟื้นกลไกของวุฒิสภา
กลับมาในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ด้วยการน าเอาตัวแทนของชนชั้นน ากลับมาผ่านการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง และในที่สุด
จึงเป็นบทสรุปของชนชั้นน าทางการเมืองที่เลือกที่จะน าเอาระบบวุฒิสภาแต่งตั้งอย่างเต็มรูปแบบกลับมาอีกครั้งใน
วุฒิสภาในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งการออกแบบได้ส าเร็จนั้นส่วนหนึ่งมาจากการเรียนรู้ของคณะรัฐประหาร