Page 233 - 23154_Fulltext
P. 233

228


               รัฐธรรมนูญฉบับแรกก็เผชิญทั้งการต่อรองทางการเมืองจากทั้งจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่

               ก าหนดให้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเป็นเพียงชั่วคราว เช่นเดียวกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ใช้โอกาสต่อรองทางการเมืองขณะ
               ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ท าให้แม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นระบอบใหม่ด้วยระบบสภาเดี่ยวที่มาจากการแต่งตั้งก ากับโดย
               คณะราษฎร แต่ก็ภายใต้โครงสร้างที่ดูเหมือนจะมีเสถียรภาพภายใต้คณะราษฎรก็สังเกตได้ถึงความสัมพันธ์เชิง

               อ านาจระหว่างคณะราษฎรที่ครองอ านาจน ากับกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ต่อรองภายในระบบและพยายามกดดันด้วยการ
               ก่อกบฏจากภายนอกสภาควบคู่กัน

                       ความเปลี่ยนแปลงส าคัญต่อรูปแบบของระบบสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 จึงเป็นการที่
               คณะราษฎรฝ่ายพลเรือนร่วมมือฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยการปรับให้ระบบรัฐสภาเป็นระบบสภาคู่ โดยมีพฤฒสภาท า

               หน้าที่ตรวจสอบกระบวนการนิติบัญญัติในการเสนอร่างกฎหมายหรือแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยสภา
               ผู้แทนราษฎร อีกทั้งยังให้พฤฒสภารับผิดชอบในประเด็นส าคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ โดยรัฐธรรมนูญได้วาง

               หลักประกันให้พฤฒสภามีแนวโน้มว่าจะเป็นคนจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมมาลงสมัครรับเลือกตั้งโดยอ้อม เนื่องจาก
               คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ก าหนดเกณฑ์ไว้ อาทิ อายุไม่ต่ ากว่า 40 ปี การศึกษาไม่ต่ ากว่าปริญญาตรี หรือเคย
               ด ารงต าแหน่งราชการไม่ต่ ากว่าหัวหน้อกอง เป็นต้น คุณสมบัติเหล่านี้จึงเสมือนเป็นหลักประกันที่เปิดทางให้

               ข้าราชการระดับสูงของฝ่ายอนุรักษ์นิยมลงสมัครได้โดยสะดวกกว่าฝ่ายอื่นหัวก้าวหน้า หรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า
               ระบบวุฒิสภาได้ก าเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในไทยเพื่อเป็นหลักประกันให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม (ซึ่งขณะนั้นก าลังสั่งสม

               อ านาจทางการเมืองเพื่อต่อต้านระเบียบการเมืองภายใต้คณะราษฎร) ได้มีพื้นที่ต่อรองทางการเมือง และกระท า
               การอันมีความเป็นการเมืองภายในระบบรัฐสภา

                       อย่างไรก็ตาม คณะราษฎรเสื่อมอ านาจและสูญเสียสถานภาพการมีบทบาทน าทางการเมืองโดยสมบูรณ์
               หลังจากการเข้าสู่อ านาจผ่านรัฐประหารของสฤษดิ์ สิ้นสุดยุคการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างคณะราษฎรกับฝ่าย

               อนุรักษ์นิยม โดยมีธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 เป็นเครื่องสะท้อนภาวะที่กองท ายึดครองอ านาจและบทบาท
               น าทางการเมืองผ่านการรวมศูนย์อ านาจเข้าหานายกรัฐมนตรีที่มาจากการรัฐประหาร และยังสังเกตได้จากระบบ
               รัฐสภาที่กลับสู่สภาเดี่ยวภายใต้กองทัพ อันสะท้อนซึ่งสภาวะไร้ความเป็นการเมืองจากการต่อต้านในระบบรัฐสภา

               โดยบทบาทน าทางการเมืองของกองทัพได้ริเริ่มในยุครัฐบาลสฤษดิ์และกดทับขจัดเสียงที่ต่อต้านผ่านอ านาจมาตรา
               17 ของรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดแรงต่อต้านทางการเมืองสั่งสมและผลักดันให้กลับมามีสภาผู้แทนราษฎรจากการ

               เลือกตั้งอยู่เป็นระยะ ท าให้พลังประชาธิปไตยที่มีตัวแทนประชาชนในระบบรัฐสภาเปล่งแสงกลับคืนมาเป็นระยะ
               สั้นในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 รวมถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่เป็นการสะท้อนแรงผลักดันประชาธิปไตย

               โดยประชาชน ไม่ว่าจะขบวนการทางสังคม หรือขบวนการนักศึกษา ได้ผลักดันผ่านการเกิดขึ้นของสภาร่าง
               รัฐธรรมนูญจนกระทั่งเกิดเป็นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในฐานะ

               ส่วนหนึ่งของความเป็นการเมืองในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ก่อนที่ระยะต่อมา
               เหตุการณ์สังหารอย่างโหดร้ายโดยรัฐผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้ผลักประชาชนออกจากโครงสร้าง
               ทางการเมืองและตัดทิ้งซึ่งความเป็นการเมืองที่จ าเป็นต้องรับฟังเสียงของประชาชน กลับสู่รัฐบาลกองทัพที่ครอบง า

               การเมืองไทยผ่านระบบสภาเดี่ยวอีกครั้ง พร้อมทั้งรัฐธรรมนูญเองก็ปราศจากความเป็นการเมืองจากอ านาจ
               ประชาชนที่แสวงหาความเป็นประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238