Page 236 - 23154_Fulltext
P. 236

231


               การหวนคืนอีกครั้งของระบบรัฐสภาภายใต้การครอบง าการเมืองของพลังระบบราชการที่ขับเคลื่อนระบบรัฐสภา

               ผ่านนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ร่วมมือกับวุฒิสภา
                       ถัดมาประการที่สาม วุฒิสภาจ านวน 200 คนจะมาจากการเลือกกันเองตามมาตรา 107 ทว่าวุฒิสภาที่ใน
               วาระแรกมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ตามมาตรา 269 โดยตัวแทนเหล่านี้มีความเป็นการเมืองในการสืบทอด

               เจตนารมณ์ของ คสช. เพื่อท าหน้าที่ในระบบรัฐสภาหลังการเลือกตั้งทั้งพิจารณาและยับยั้งร่างกฎหมายที่ขัดต่อ
               ผลประโยชน์หรืออุดมคติของวุฒิสภาที่เป็นตัวแทนจัดสรรผลประโยชน์ของ คสช. นอกจากนั้นวุฒิสภายังมี

               ความสัมพันธ์จากการเป็นผู้ให้การรับรองรายชื่อเพื่อแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ และยังสามารถใช้งาน
               กลไกการตรวจสอบ ไต่สวน หรือวินิจฉัยลงโทษขององค์กรทางการเมืองเหล่านั้นได้ผ่านอ านาจการส่งค าร้องผ่าน

               ประธานสภาด้วยกลไกของระบบรัฐสภาอีกด้วย
                       ทั้งนี้ประการที่สี่คือ องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ เบื้องต้นองค์กรทางการเมืองเหล่านี้มีหน้าที่ในการ

               ถ่วงดุลตรวจสอบฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติให้ไม่กระท าพฤติกรรมแสวงผลประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจการเมือง
               ด้วยอ านาจรัฐ แต่ทว่าองค์กรเหล่านี้กลับมีความเป็นการเมืองจากความสัมพันธ์เชิงอ านาจอันสัมพันธ์กับสมาชิก

               อาวุโสของสถาบันตุลาการและข้าราชการระดับสูงในการเลือกสรรรายชื่อผู้จะมาด ารงต าแหน่งในองค์กรอิสระและ
               ศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีวุฒิสภาเป็นผู้แสดงความเห็นชอบหรือปฏิเสธรายชื่อให้แต่งตั้งเป็นสมาชิกองค์กรตรวจสอบ

               ทางการเมืองเหล่านี้ นอกจากนั้นองค์กรข้างต้นเหล่านี้ยังมีความเป็นการเมืองจากความเสี่ยงที่อาจจะน าเอาอ านาจ
               ตรวจสอบหรือวินิจฉัยให้โทษไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองที่ส่งผลต่อสมดุลาอ านาจในระบบรัฐสภา
               ตัวอย่างเช่น วินิจฉัยลงโทษลดจ านวนสมาชิกรัฐสภาที่ต่อต้านฝ่ายการเมืองที่ครองบทบาทน าทางการเมือง หรือใช้

               กระบวนตรวจสอบเพื่อสร้างภาระการชี้แจงให้แก่สมาชิกรัฐสภาที่ต่อต้านอ านาจน าของชนชั้นน าการเมืองในระบบ
               รัฐสภา เป็นต้น

                       ท้ายที่สุดจึงน ามาสู่ข้อสรุปประการหนึ่งได้ว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คือ บทสรุปของการเรียนรู้ที่สั่งสม
               มาของชนชั้นน าทางการเมืองที่ต้องการควบคุมความสัมพันธ์เชิงอ านาจในระบบรัฐสภาตลอดมานับตั้งแต่ พ.ศ.

               2521 ขณะเดียวกันก็อาจะพิจารณาได้เช่นกันว่า แม้ระบบสภาเดี่ยวจะไม่มีนัยส าคัญต่อพลวัตการพัฒนาระบบ
               รัฐสภาของไทย แต่ระบบสภาเดี่ยวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยนั้นมีนัยส าคัญต่อการเป็นสถาบันเพื่อระดมความรู้

               ถอดบทเรียนต่อการควบคุมอ านาจทางการเมืองที่สั่งสมกันมา โดยมีการปรึกษาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเชิง
               นิติศาสตร์อย่างเป็นระบบ อันสังเกตได้จากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ที่ปรากฎคณะ
               ที่ปรึกษากฎหมายของคณะรัฐประหารอย่างชัดเจน โดยที่คณะที่ปรึกษาบางรายเข้ามามีบทบาทการยกร่าง

               รัฐธรรมนูญภายใต้กองทัพเรื่อยมาอีกด้วย ซึ่งแนวคิดในลักษณะนี้เป็นการกลับด้านของแนวคิดกระแสคลื่น
               ประชาธิปไตย (waves of democracy) ของ Samuel Huntington ที่เชื่อในพัฒนาการของกระแสการเปลี่ยน

               ผ่านสู่ประชาธิปไตยพร้อมกันทั่วโลกใน 3 ระยะ  และสลับกันกับกระแสคลื่นเผด็จการที่ตีกลับเป็นช่วงสั้นคั่น
               ระหว่างกระแสประชาธิปไตยแต่ละครั้ง (Huntington, 1991) เมื่อมองกลับกันจากแนวคิดข้างต้นแล้วจึงสังเกตได้

               ว่า ชนชั้นน าการเมืองไทยเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโครงสร้างระบบรัฐสภาแบบประชาธิปไตย แทนที่จะครอบง าด้วย
               ล าพังอ านาจก าลังพลของกองทัพนอกระบบรัฐสภาเท่านั้น และเรียนรู้ที่จะก ากับการเมืองระดับชาติจากภายในโค

               รสร้างทางการเมืองรัฐสภาระบบอย่างมีพลวัตนับตั้งแต่การให้วุฒิสภาแต่งตั้งเป็นตัวแทนของข้าราชการระดับสูง
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241