Page 240 - 23154_Fulltext
P. 240

235


               ยอมรับส าหรับทุกฝ่ายในสังคมไทย รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงกติกาที่ถูกก าหนดโดยผู้ที่มีอ านาจในขณะนั้น แต่ใน

               ประเทศไทยยังไม่เคยมี “ฉันทามติ” ร่วมกันอย่างแท้จริงเกี่ยวกับกติกาที่จะใช้ในการปกครองบ้านเมือง ในการจะ
               ตอบโจทย์ว่ารูปแบบของระบบรัฐสภาที่เหมาะสมส าหรับประเทศไทยนั้นควรเป็นอย่างไร ต้องเริ่มต้นจากโจทย์ใหญ่
               ของสังคมการเมืองไทยก่อนว่ารัฐธรรมนูญที่เหมาะสมส าหรับประเทศไทย ที่เป็นที่ยอมรับและเกิดจากฉันทามติ

               ของทุกกลุ่มทุกฝ่ายควรเป็นอย่างไร ซึ่งการจะแสวงหาฉันทามติในเรื่องนี้ได้ ก็ต้องให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายมีส่วนร่วมใน
               การยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเขียนกติกาที่จะเป็นที่ยอมรับร่วมกันได้ก่อน

                       รูปแบบของระบบรัฐสภา
                       งานวิจัยนี้ไม่ได้มีค าตอบสูตรส าเร็จว่ารูปแบบของระบบรัฐสภาแบบไหนที่เหมาะสมส าหรับประเทศไทย

               ระหว่างระบบสภาเดียวหรือระบบสองสภา เพราะทั้งสองรูปแบบล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ค าอธิบาย
               โดยทั่วไปมักอธิบายกันว่าระบบสภาเดียวท าให้กระบวนการนิติบัญญัติด าเนินไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ส่วน

               ระบบสองสภานั้นข้อดีคือท าให้มีตัวแทนของกลุ่มที่หลากหลายในสังคมในระบบรัฐสภาได้ รวมถึงเป็นกลไก
               ตรวจสอบถ่วงดุลด้วย แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องความซ้ าซ้อนของอ านาจหน้าที่กับสภาที่ 1 โจทย์เรื่องรูปแบบของระบบ

               รัฐสภานี้ก็จะย้อนกลับไปที่รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในสังคมก่อนว่าหน้าตาเป็นอย่างไร
               หากโจทย์เรื่องรัฐธรรมนูญสามารถหาฉันทามติได้แล้ว ก็จะสามารถตอบโจทย์เรื่องรูปแบบของระบบรัฐสภาได้ว่า

               ควรจะเป็นระบบสภาเดียวหรือสองสภา หากเป็นระบบสภาเดียว โจทย์เรื่องการเป็นตัวแทนนั้นชัดเจนอยู่แล้วใน
               ตัวเองว่าเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งหมด แต่หากเป็นระบบสองสภา ก็มีโจทย์ที่ต้องถกเถียงกันเพิ่มเติมว่า หาก
               สภาล่างมาจากการเลือกตั้งแล้ว สภาบนควรมีที่มาอย่างไร และควรมีอ านาจหน้าที่อย่างไร

                       ความสัมพันธ์ทางอ านาจในระบบรัฐสภา

                       ในที่นี้จะขออภิปรายถึงระบบสองสภาเป็นหลัก ซึ่งจะมีประเด็นข้อถกเถียงเรื่องความสัมพันธ์เชิงอ านาจใน
               ระบบรัฐสภาเป็นอย่างมาก เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์ของรัฐสภาไทย โดยเฉพาะในยุคที่เป็นระบบสองสภา
               ซึ่งอ านาจระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภามีความแตกต่างกันไป ในบางยุคบางสมัยวุฒิสภามีอ านาจมากทั้ง

               การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี หรือลงมติไว้วางใจรัฐบาลได้ เช่นวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 หรือ
               รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ซึ่งสะท้อนว่าอ านาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีความเหนือกว่าอ านาจที่มาจากการ

               เลือกตั้งของประชาชน แต่ในบางยุคสมัย เช่น วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 นั้นมีแต่เพียงอ านาจในการ
               กลั่นกรองกฎหมาย สะท้อนว่าอ านาจที่มาจากการเลือกตั้งมีความเหนือกว่าอ านาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และ
               เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ซึ่งวุฒิสภามีอ านาจในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้ด ารง

               ต าแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ความไม่สมดุลในความสัมพันธ์ทางอ านาจระหว่างอ านาจที่มาจากการ
               เลือกตั้งและอ านาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งยังคงเป็นประเด็นส าคัญในทางรัฐธรรมนูญที่ยังคงมีการต่อสู้กันเสมอ

               มา ไม่ว่าในอนาคตต่อไปประเทศไทยจะยังคงใช้รูปแบบของระบบสองสภาหรือระบบสภาเดียวก็ตาม สิ่งหนึ่งที่
               งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการเสนอในระยะยาว คือ รูปแบบของระบบรัฐสภา ไม่ควรเป็นไปในลักษณะที่อ านาจที่ไม่ได้มา

               จากการเลือกตั้ง มีความเหนือกว่าอ านาจที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะในท้ายที่สุดแล้วจะน ามาซึ่งปัญหาเรื่อง
               ความชอบธรรม และเมื่อมีค าถามเรื่องความชอบธรรม ย่อมน าไปสู่วิกฤตและความขัดแย้งในที่สุด

                       ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245