Page 242 - 23154_Fulltext
P. 242

237


               ตารางที่ 9: จ านวนขั้นต่ าที่ต้องการของรายชื่อประชาชนเพื่อเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย

                                        รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540   รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550    รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
                 เสนอร่างพระราชบัญญัติ  ไม่น้อยกว่า 50,000 คน  ไม่น้อยกว่า 10,000 คน  ไม่น้อยกว่า 10,000 คน

                                        (มาตรา 170)            (มาตรา 142 (4))         (มาตรา 133 (3))
                 เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม ไม่มีบทบัญญัติให้อ านาจ   ไม่น้อยกว่า 50,000 คน  ไม่น้อยกว่า 50,000 คน

                 รัฐธรรมนูญ             (มาตรา 313 ให้อ านาจ (มาตรา 291 (1))           (มาตรา 256 (1))
                                        เฉพาะคณะรัฐมนตรี และ
                                        สมาชิกรัฐสภา)


                       นอกจากนั้น ในทางปฏิบัติจากช่วงประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลังจากมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้เคย

               เกิดการแสดงเจตจ านงทั่วไปผ่านการร่วมเสนอร่างกฎหมายขึ้นมาแล้ว โดยกรณีที่เป็นปรากฎการณ์ส าคัญที่มีการ
               ถกเถียงและกล่าวถึงโดยทั่วไปอย่างมีนัยส าคัญในสังคมไทย ก็คือ ปรากฎการณ์เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
               โดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคประชาชนที่ได้มีการรวมชื่อเสนอ

               ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกว่า 98,041 คนที่ผ่านการตรวจสอบจากรัฐสภา โดยร่างรัฐธรรมนูญมีสาระส าคัญ อาทิ น า
               ยุทธศาสตร์ชาติออกจากรัฐธรรมนูญ ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง แก้ไขมาตราว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติม

               รัฐธรรมนูญ แก้ไขที่มาของ ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง แก้ไขกระบวนการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ
               เป็นต้น โดยผลตอบรับจากกระบวนการประชุมร่วมรัฐสภาทั้งสองสภาในการลงมติวาระแรก ขั้นรับหลักการ ผล

               ปรากฎว่า มีเสียงเห็นชอบเพียง 212 เสียง ไม่เห็นชอบ 139 เสียง และงดออกเสียง 369 เสียง (WorkpointToday,
               2563; มติชนออนไลน์, 2563) แต่ถึงแม้ว่าการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของภาคประชาชนที่มีไอลอว์เป็น

               แกนน าจะไม่ประสบผลส าเร็จในการโน้มน้าวรัฐสภา ทว่าในภายหลังก็ได้มีความอีกครั้งในการเข้าชื่อประชาชนเพื่อ
               เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกครั้ง โดยหนนี้น าโดยกลุ่ม Re-solution ที่มีพริษฐ์ วัชรสินธุ และปิยบุตร แสง
               กนกกุล เป็นแกนน าส าคัญของกลุ่มในการรณรงค์การเดินสายจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อโครงการเสนอร่างแก้ไข

               รัฐธรรมนูญฉบับ "รื้อระบอบประยุทธ์" ในหลายครั้งหลายแห่งทั่วกรุงเทพ ฯ จนมีผู้เข้าชื่อกว่า 135,247 คน เสนอ
               ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยข้อเสนอส าคัญของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่ม Re-solution

               เช่น ปรับระบบรัฐสภาให้เป็นสภาเดี่ยวด้วยการยกเลิกวุฒิสภา จ ากัดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. เท่านั้น แก้ไข
               ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงยกเลิกมาตรา 279 ว่าด้วยการนิรโทษ

               กรรม คสช. เป็นต้น แม้ว่าสุดท้ายแล้วผลลัพธ์จะคล้ายกันกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของไอลอว์ โดยผลการ
               ลงคะแนนคือ รับหลักการ 206 คะแนน ไม่รับหลักการ 473 คะแนน (เป็นของ ส.ว. 224 เสียง) และงดออกเสียง 6

               คะแนน (กรุงเทพธุรกิจ, 2564; บีบีซีไทย, 2564)
                       สุดท้ายแล้ว การร่วมเข้าชื่อร่างกฎหมายหรือร่างรัฐธรรมนูญโดยภาคประชาชนนั้น ไม่ว่าจะปรากฎผลลัพธ์
               ด้วยความล้มเหลวในการประนีประนอมอภิปรายตามกระบวนการรัฐสภาเพื่อคาดหวังผลักดันให้ร่างแก้ไขเพิ่มเติม

               สามารถได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภา แต่ความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อกลไกรัฐสภาที่เป็นไปตาม
               บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นประกายความหวังหนึ่งของสังคมการเมืองไทย เพราะประเด็นส าคัญไม่ได้
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247