Page 241 - 23154_Fulltext
P. 241

236


                       สืบเนื่องจากประเด็นความสัมพันธ์เชิงอ านาจในระบบรัฐสภา หากประเทศไทยยังคงต้องใช้รูปแบบของ

               ระบบรัฐสภาแบบสองสภา ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาควรเป็นอย่างไร เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์และพัฒนาการ
               ของรัฐสภาไทยแล้วจะพบว่า รูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของไทยนั้น เคยใช้ทั้งแต่งตั้ง หรือเลือกตั้ง ทั้ง
               เลือกตั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้วิจัยไม่ขัดข้องหากจะยังคงมีวุฒิสภาต่อไปในการเมืองไทย แต่โจทย์ส าคัญที่ต้องมี

               การถกเถียงกันเสียก่อนคือ ท าไมถึงต้องมีวุฒิสภา และ อ านาจของวุฒิสภาควรมีมากน้อยแค่ไหน หากมีอ านาจมาก
               แต่ที่มาไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ก็จะเกิดค าถามเรื่องความชอบธรรม ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่หากมีอ านาจ

               น้อย เป็นแต่เพียงอ านาจทางนิติบัญญัติ เมื่อนั้นไม่ว่าจะมาจากแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ไม่ใช่ประเด็นใหญ่มาก และ
               ค าถามเรื่องความชอบธรรมจะไม่มีมาก

               บทสรุปความหวังของระบอบประชาธิปไตย: กรอบการมีส่วนร่วมของประชาชนในรัฐธรรมนูญ
                       ระบบรัฐสภาไทยยังพอจะมีประกายความหวังในการเป็นพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อยู่

               หรือไม่? การตอบค าถามนี้สามารถพิจารณาได้ผ่านบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่จะมาจากกระบวนการยกร่างที่
               ไม่ได้สัมพันธ์กับประชาชนและมีบทบัญญัติยับยั้งกระบวนการนิติบัญญัติในระบบรัฐสภาไว้ แต่อย่างไรก็ตามยังคงมี

               มาตราว่าด้วยการรองรับบทบาททางการเมืองที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการนิติบัญญัติหรือ
               กระบวนการทางการเมืองที่กระท าผ่านกลไกของระบบรัฐสภาได้ มาตราของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ที่สะท้อนอ านาจใน

               ประเด็นนี้ได้อย่างชัดเจนคือ มาตรา 133 (3) ว่าด้วยการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภาผ่านสภาผู้แทนราษฎร
               และมาตรา 256 (1) ว่าด้วยการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังบัญญัติไว้ดังนี้
                              “มาตรา 133 ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

                       (3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ านวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ

                       ของปวงชนชาวไทย หรือหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย”
                              ““มาตรา 256 ภายใต้บังคับมาตรา 255 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระท าได้ตาม
                       หลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

                              (1) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ านวนไม่

                       น้อยกว่า1 ใน 5 ของจ านวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทน
                       ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจ านวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจ านวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสอง
                       สภาหรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ านวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อ

                       เสนอกฎหมาย”
                       ทั้งสองมาตราเป็นการให้อ านาจแก่ประชาชนในการมีส่วนร่วมแก่ประชาชนโดยตรงในการร่วมแสดง

               เจตจ านงทั่วไปผ่านการร่วมลงชื่อผลักดันเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสู่
               กระบวนการรัฐสภา ซึ่งมีพลวัตในการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมทางการเมืองให้สะดวกขึ้นมาจากรัฐธรรมนูญที่ผ่าน

               มา จากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 สู่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ลดสัดส่วนรายชื่อขั้นต่ าที่
               ต้องการลงมาตามล าดับดังตารางต่อไปนี้
   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246