Page 235 - 23154_Fulltext
P. 235
230
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะเคยมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มีพรรค
การเมืองเข้มแข็งคอยเป็นตัวแทนประชาชน แต่แล้วรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็ถูกยกเลิกเพื่อปฏิรูปการเมืองภายใต้
กองทัพอีกครั้ง ซึ่งหากสังเกตแค่จากช่วงสั้น 2 ทศวรรษการเมืองไทยจาก พ.ศ. 2540 -2560 ก็มีการประกาศใช้
รัฐธรรมนูญรวม 5 ฉบับ กว่าจะมาถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในปัจจุบัน ระบบรัฐสภาเองก็เผชิญกับความปั่นป่วน
ผันผวนแสนสาหัสจากการสลับไปมาระหว่างสภาคู่ สู่สภาเดี่ยว สลับกันไปมา และยังมีความพยายามจ ากัดเสียข้าง
มากผ่านกลไกระบบเลือกตั้งที่สะท้อนเจตจ านงของประชาชนในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป อย่างรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2550 ก็ได้ให้ความส าคัญกับการจัดกลุ่มจังหวัดให้ตัวแทนแบบบัญชายชื่อมีความกระจายตัวแทนตามกลุ่ม
จังหวัด และลดลงเหลือ 80 คน จนกระทั่งมาสู่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่จ ากัดเสียงประชาชนให้ถือว่าเสียงที่เลือก
ตัวแทนแบ่งเขตคือเสียงเดียวกับที่จะเลือกพรรคที่ตัวแทนคนนั้นสังกัด ส่งผลให้ระบบรัฐสภากลับคืนสู่การเมืองยุค
ภูมิภาคนิยมที่ตัวแทนท้องถิ่นส าคัญมาก แต่ด้วยกระแสของการเมืองระดับชาติที่สะท้อนอุดมการณ์ผ่านพรค
การเมือง จึงส่งผลให้ระบบรัฐสภาได้สะท้อนอย่างผสมปนเประหว่างตัวบุคคลนักการเมืองท้องถิ่นและพรรค
การเมืองที่อุดมการณ์หนักแน่นจนได้รับเสียงตอบรับเหนือความนิยมตัวบุคคลของนักการเมืองท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้
เอง ค าถามส าคัญที่ได้จากการท าความเข้าใจรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือ หากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
ไม่ได้เกิดขึ้นจากสุญญากาศ หรือไม่อาจเกิดขึ้นโดยปราศจากรากฐาน ถ้าเช่นนั้นแล้วเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560 นั้นมีการสืบทอดมาจากแหล่งใด
4.2 แปดทศวรรษ กับระบบรัฐสภาที่ (ไม่) ตั้งมั่น ?
โดยสรุปแล้ว เจตนารมณ์ส าคัญที่สังเกตได้ชัดจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ก็คือ การจ ากัดอ านาจสภา
ผู้แทนราษฎรด้วยกลไกตรวจสอบทุจริตขององค์กรอิสระ และค าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีวุฒิสภาเป็น
หัวใจส าคัญของกลไกจ ากัดอ านาจในความสัมพันธ์เชิงอ านาจของระบบรัฐสภา เพื่อเป็นการอภิปรายถึงระบบ
รัฐสภาและความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 อย่างกระชับ ความเปลี่ยนแปลงของระบบ
รัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย 4 ประการส าคัญ ดังนี้
ประการแรก การจ ากัดสิทธิเลือกตั้งของประชาชนในการเลือกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เนื่องจาก
มาตรา 85 ก าหนดให้เสียงเลือกตั้งเหลือเสียงเดียวคือ เสียงในการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต จ านวน 350 คน ขณะที่
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ได้จ ากัดวิธีการได้มาซึ่ง ส.ส.
บัญชีรายชื่อให้ยึดโยงกับสูตรการค านวณของ กกต. มากกว่าที่จะเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ว่าต้องการเลือกระหว่างผู้แทนที่เป็นตัวแทนท้องถิ่นหรือตัวแทนจากพรรค ซึ่งมีจ านวน ส.ส. บัญชีรายชื่อใน
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มากถึง 150 คน บัตรเลือกตั้งมีเพียงเสียงเดียวที่ไม่ชัดเจนในการแสดงเจตนารมณ์ของผู้มีสิทธิ์
เลือกตั้ง จึงส่งผลให้รัฐสภามีตัวแทนที่ไม่ได้สะท้อนสัดส่วนเสียงของตัวแทนท้องถิ่นหรือตัวแทนเชิงอุดมการณ์ของ
พรรคเท่าที่เป็นจริง
ขณะที่ประการที่สอง สภาผู้แทนราษฎรมีอ านาจเสนอรายชื่อผู้เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ถึง 3
คนเพื่อลงคะแนนเสียงเลือกในรัฐสภา ทว่านายกรัฐมนตรีไม่จ าเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ จึงเป็น