Page 234 - 23154_Fulltext
P. 234
229
ความเปลี่ยนแปลงประการส าคัญอีกครั้งของการเมืองไทยจึงเป็นช่วงการเมืองภายใต้เปรมาธิปไตย อันเป็น
การครองบทบาทน าทางการเมืองโดยชนชั้นน ากองทัพ ระบบราชการ และเทคโนแครตร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ผ่อน
ปรนความขัดแย้งที่มีต่อขบวนการนักศึกษาและขบวนการคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งออกแบบการเมืองใหม่ในลักษณะ
ของประชาธิปไตยครึ่งใบด้วยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ที่ก าหนดให้ระบบรัฐสภาคู่มีทั้งสภาผู้แทนราษฎรจากการ
เลือกตั้ง แต่ก็มีวุฒิสภาจากการแต่งตั้งและสามารถเป็นตัวแทนข้าราชการหรือกองทัพได้ด้วยสัดส่วนที่มากถึง 3 ใน
4 ของสภาผู้แทนราษฎร และมีนายกรัฐมนตรีคนนอกที่มาจากการแต่งตั้งโดยไม่จ าเป็นต้องสัมพันธ์กับการเลือก
ของสภา ซึ่งในสมัยนั้นคือนายกรัฐมนตรีเปรมที่ท าหน้าที่ประสานการต่อรองทางการเมือง ส่งผลให้ความเป็น
การเมืองของระบบรัฐสภาอยู่ภายใต้ทั้งการก าหนดโครงสร้างและควบคุมกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภาด้วยพลัง
ของรัฐราชการผ่านตัวแทนวุฒิสภาแต่งตั้ง โดยมีนายกแต่งตั้งจากภายนอกเข้าไปก ากับความสัมพันธ์ทางการเมือง
ให้สามารถด าเนินต่อไปได้อย่างสมดุลภายใต้ฉันทามติของพลังฝ่ายราชการและกองทัพ ขณะที่มีความเป็นการเมือง
จากการเปิดโอกาสผ่อนแรงตึงเคียดทางการเมืองด้วยการให้มีสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาแม้ว่าฝ่ายที่ครองบทบาท
น าอาจไม่ตอบสนองต่อเสียงสะท้อนของประชาชนก็ได้เช่นกัน อีกทั้งการประชุมร่วมรัฐสภาก็อยู่ภายใต้บทบาทการ
ควบคุมการประชุมโดยประธานรัฐสภาซึ่งมาจากประธานวุฒิสภาอีกด้วย เพียงแต่มีพื้นที่ให้ตัวแทนประชาชนจาก
การเลือกตั้งได้แสดงออกแทน จนกระทั่งในที่สุดแล้ว แม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ที่พยายามคงไว้ซึ่งระเบียบ
การเมืองแบบเปรมาธิปไตย แต่การที่เปรมไม่ขอเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ซึ่งส่งผลให้ขาดหัวใจส าคัญในการ
ควบคุมความเป็นการเมืองของความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่ต่อรองทางการเมืองกันภายในระบบรัฐสภา จึงเป็นการ
สิ้นสุดยุคเปรมาธิปไตยในที่สุด
แม้ว่าจะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ทว่าการเมืองไทยเริ่มมีพลวัตภายใต้สถานการณ์ที่พรรค
การเมืองยังไม่ตั้งมั่นเป็นสถาบันการเมือง ส่งผลให้บทบาทของสภาผู้แทนราษฎรมีการรวมกลุ่มเป็นมุ้งการเมืองมี
อิทธิพลในการต่อรองทางการเมืองในระบบรัฐสภามากขึ้น อีกทั้งประชาธิปไตยภาพรวมในห้วงเวลานั้นยังให้
ความส าคัญกับการเมืองแบบภูมิภาคที่ ส.ส. เข้ามาเป็นตัวแทนด้วยการสร้างอิทธิพลในท้องถิ่นเพื่อเข้าไปแสวง
ผลประโยชน์ส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากกลไกและการต่อรองในระบบรัฐสภาและมีการหมุนเวียนผลประโยชน์ใน
ลักษณะที่ถูกเรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ต แต่ด้วยกระแสการตื่นตัวของการเมืองภาคพลเมืองในช่วงเหตุการพฤษภา
ทมิฬ 14-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันทางการเมืองจากประชาชนในลักษณะที่เป็น
รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมร่วมกันของสังคมว่าต้องมีการปฏิรูปการเมือง เพื่อก้าวข้ามการเมืองที่เจ้าพ่อท้องถิ่นเข้า
มาแสวงอ านาจการเมืองและผลประโยชน์จากระบบรัฐสภา ส่งผลให้เกิดกระบวนการปฏิรูปการเมืองที่มีความเป็น
การเมืองอย่างยิ่งในการผลักดันพลังของประชาชนผ่านกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่
พลังต่อต้านของนักการเมืองในรัฐสภาจ าเป็นต้องประนีประนอมด้วยเหตุจ าเป็นจากปัจจัยภายนอกอย่างเศรษฐกิจ
คอยกดดันให้รัฐสภาต้องรักษาสัญญาต่อประชาชน และก าเนิดเป็นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่เป็นระบบสภาคู่ซึ่งให้
ความส าคัญกับการเลือกตั้งตามเจตจ านงระบอบประชาธิปไตยทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเช่นกัน รวมทั้งมี
ความพยายามท าให้ระบบเลือกตั้งสถาปนาระเบียบการเมืองที่พรรคการเมืองเข้มแข็งมาเป็นตัวแทนของประชาชน
ด้ยการต่อสู้ผ่านกลไกของรัฐสภา และวุฒิสภามีหน้าที่ตรวจสอบสภาผู้แทนราษฎรอีกล าดับ อีกทั้งยังมีองค์กร
ตรวจสอบความสุจริตของฝ่ายการเมืองเพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดการแสวงผลประโยชน์ส่วนเกินจากรัฐสภา