Page 232 - 23154_Fulltext
P. 232

227


                                                          บทที่ 10

                                                            สรุป


               พลวัตรัฐธรรมนูญไทย: จากการเมืองของชนชั้นน า สู่สถาบันการเมืองตัวแทนของประชาชน

                       จากภาพรวมประวัติศาสตร์การเมืองไทยกว่า 85 ปีหลังจากมีการปฏิวัติสยามเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่
               ระบอบประชาธิปไตยเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ช่วงระยะแรกเริ่มหลังการปฏิวัติสยามบทบาท

               น าทางการเมืองอยู่ภายใต้คณะราษฎรที่ต้องการออกแบบการเมืองใหม่สู่ระบอบรัฐธรรมนูญที่วางสถาปัตยกรรม
               ทางการเมืองให้มีสถาบันการเมืองส าคัญอย่างรัฐธรรมนูญเป็นกลไกส าคัญในการจัดตั้งสถาบันการเมืองของรัฐ
               อ านาจหน้าที่ของสถาบันการเมืองเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การท าการศึกษาเพื่อท าความเข้าใจพลวัตของ

               รัฐธรรมนูญที่มีมาตลอด 8 ทศวรรษนั้นไม่ควรเข้าใจเพียงตัวบทที่เปลี่ยนไปเท่านั้น หากยังจ าเป็นต้องเข้าใจมิติของ
               ความเป็นการเมืองในรัฐธรรมนูญที่ส่งต่อหรือถูกต้านทานผ่านห้วงเวลามาจนถึงปัจจุบัน

                       เมื่อส ารวจรัฐธรรมนูญในเชิงรัฐศาสตร์ที่ให้ความสนใจต่ออ านาจในมิติความเป็นการเมืองแล้ว จึงสังเกตได้
               ว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎหมายสูงสุดที่แต่งตั้งและให้อ านาจสถาบันการเมือง องค์กรางการเมือง ไปจนถึง

               ระดับประชาชนเท่านั้น หากแต่รัฐธรรมนูญยังมีความเป็นการเมืองอย่างน้อยใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ความเป็น
               การเมืองของการเป็นพื้นที่ต่อรองระหว่างผู้ครองบทบาทน าทางการเมืองในขณะนั้นกับเสียงต้านทานอ านาจที่ไม่ว่า

               จะเป็นส่วนเล็ก ๆ อยู่ในกระบวนการยกร่าง หรือจะเป็นเสียงสะท้อนจากสังคมซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ
               วัฒนธรรมที่สังคมเห็นพ้องต้องกันในชุดคุณค่าบางประการก็ได้เช่นกัน รัฐธรรมนูญในลักษณะความเป็นการเมือง
               แบบแรกจึงเป็นพื้นที่ต่อรองระหว่างอ านาจสถาปนาของผู้ครองบทบาทน าทางการเมืองกับแรงต้านทานจากกลุ่ม

               ทางสังคมหรือรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของสังคมที่ต้องการเรียกร้องให้เกิดการเมืองแบบใหม่ และในลักษณะที่
               สองของความเป็นการเมือง ก็คือ ความเป็นการเมืองที่แต่ละสถาบันการเมืองจะมีต่อกันแม้ว่าจะไม่ได้ก าหนดเป็น

               ลายลักษณ์อักษรของบทบัญญัติให้แต่ละสถาบันปฏิบัติต่อกันเช่นนั้นโยงตรงก็ตาม หากแต่จะเป็นความสัมพันธ์เชิง
               อ านาจของสถาบันการเมืองเหล่านั้นที่จะน าอ านาจหรือสิ่งที่ก าหนดในรัฐธรรมนูญมาเป็นข้อสร้างความได้เปรียบใน

               การต่อรองทางการเมือง ตลอดจนแสวงผลประโยชน์สูงสุดจากส่วนเกินทางเศรษฐกิจด้วยช่องว่างของบทบัญญัติ
                       เมื่อใช้รัฐธรรมนูญเป็นวัตถุแห่งการศึกษาวิเคราะห์ของรายงานฉบับนี้แล้ว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน

               90 ปีนับตั้งแต่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 จึงสังเกตได้ผ่านความเป็นการเมืองในรัฐธรรมนูญในฐานะพื้นที่ปะทะ
               ของอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างผู้ครองอ านาจน าทางการเมืองกับพลังต้านทานที่กรากฎออกมาผ่านบทบัญญัติ

               ว่าด้วยระบบรัฐสภาอันเป็นแก่นใจกลางส าคัญของพื้นที่ประนีประนอมทางการเมืองเพื่อจัดสรรทรัพยากรหรือ
               ผลประโยชน์ทางการเมืองผ่านตัวแทนทางการเมืองของเสียงส่วนมากและเสียงส่วนน้อย เริ่มตั้งแต่คณะราษฎรที่

               ก าลังสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญกับพลังอนุรักษ์นิยมที่ต้องการหวนคืนสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ส่งผลให้
               รัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ. 2475 สะท้อนเจตนารมณ์ของคณะราษฎร
               อย่างชัดเจนในการพยายามสถาปนาระบบรัฐสภาขึ้นมาใหม่ให้เป็นระบบสภาเดี่ยวที่ก ากับแต่งตั้งโดยคณะราษฎร

               ให้เป็นตัวแทนประเภทที่ 1 ในระยะแรกเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบรัฐธรรมนูญสามารถด าเนินได้อย่างราบรื่น
               ก่อนที่จะมีการเพิ่มสัดส่วนของตัวแทนจากการเลือกตั้งเพิ่มเติมเข้ามาในระยะ 6 เดือนต่อมา ขณะเดียวกัน
   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237