Page 226 - 23154_Fulltext
P. 226
221
จากตารางในข้างต้นจึงตั้งข้อสังเกตได้ว่า ภายใต้อิทธิพลของกองทัพในการเป็นตัวแสดงบทบาทน าในการ
ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ปัจจัยด้านบรรยากาศทางการเมืองที่สัมพันธ์
กับการที่กองทัพให้ตัดสินใจแทรกแซงการเมืองและเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ บริบทที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดจะเป็นการที่
กองทัพ (และพลังสนับสนุนจากชนชั้นน าในระบบราชการ) มุ่งโค่นล้มอ านาจจากรัฐบาลเพื่อวัตถุประสงค์ดึงเอา
อ านาจการเมืองคืนจากรัฐบาล จากตารางข้างต้นประกอบด้วย 8 ครั้ง ได้แก่
1) การรัฐประหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
2) การรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
3) การรัฐประหารรัฐบาลตัวเอง โดยคณะปฏิวัติที่น าโดยถนอม ได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ.
2515
4) การรัฐประหารรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่น าโดย
พล.ร.อ.สงัด ชลอยู่ ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2519
5) การรัฐประหารรัฐบาลของธานินทร์ โดยคณะปฏิรูปที่น าโดยสงัด ได้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่าง
รัฐธรรมนูญภายใต้อิทธิพลกองทัพ และได้ผลลัพธ์เป็นธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2520
6) การรัฐประหารรัฐบาลของชาติชายโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) น าโดยพลเอก
สุนทร คงสมพงษ์ ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2534
7) การรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่น าโดยสนธิ ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.
2549 ตามที่คณะที่ปรึกษาด้านกฎหมายของคณะรัฐประหารน าเสนอ
8) การรัฐประหารรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) น าโดย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ตามที่คณะที่ปรึกษาด้าน
กฎหมายของคณะรัฐประหารน าเสนอ
ใน 6 ครั้งข้างต้นได้ใช้วิธีการยกร่างรัฐธรรมนูญ 3 แบบ ได้แก่ แบบแรก เป็นประกาศใช้โดยคณะ
รัฐประหาร โดยไม่ทราบที่มาของกระบวนการร่าง 3 ครั้ง ได้แก่ ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2515 รัฐธรรมนูญการ
ปกครอง พ.ศ. 2519 และรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2534 ขณะที่แบบที่สองคือ ยกร่างโดยที่ปรึกษาทางกฎหมาย
ของคณะรัฐประหาร 2 ครั้ง ได้แก่ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2549 และรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และ
แบบที่มาจากคณะกรรมการยกร่าง 1 ครั้งคือ ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2520 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผล
ต่อการเอื้ออ านวยให้กองทัพตัดสินใจรัฐประหารเพื่อยึดอ านาจนั้นกล่าวได้ว่า ไม่สามารถชี้วัดปัจจัยด้านบรรยากาศ
อันเฉพาะเจาะจงที่ส่งผลให้กองทัพตัดสินใจยึดอ านาจและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากแต่จะพบว่ากองทัพ
นั้นไม่ได้ให้ความเคารพความเป็นสถาบันการเมืองอย่างเพียงพอ จนท าให้การฉีกรัฐธรรมนูญกลายเป็น
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้ผ่านหลากหลายบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยึดอ านาจรัฐบาลพลเรือน เพื่อเปลี่ยนแปลง
ความสัมพันธ์เชิงอ านาจให้เป็นที่พึงพอใจของคณะรัฐประหารในบริบทช่วงเวลานั้น มากกว่าจะเป็นความ
เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยมีพลวัตให้เกิดความตั้งมั่นในสังคมการเมืองไทยมากขึ้น