Page 222 - 23154_Fulltext
P. 222
217
ต่อมา คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระ 7 ปี และยังพิจารณาได้ถึง
ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เพียงแต่ไต่สวนและตรวจสอบผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ตุลาการ หรือผู้ด ารงต าแหน่งใน
องค์กรอิสระ ที่มีพฤติการณ์ร่ ารวยผิดปกติ หากแต่ยังสามารถไต่สวนผู้ที่มีพฤติกรรมขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมอย่าง
ร้ายแรงได้ด้วยเช่นกัน ตามมาตรา 234 และเมื่อไต่สวนเสร็จแล้วจะสามารถส่งส านวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อสั่งฟ้อง
ต่อศาลฎีกาแผนกผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองได้ด้วยตามมาตรา 237 (3)
ประการที่สี่ สภามรดกจากรัฐบาล คสช. ผ่านต าแหน่งของ “สภาการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ” ตาม
มาตรา 266 เพื่อจัดท าข้อเสนอแนะว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา 259 หรือกล่าวได้ว่าเป็นสภาทับซ้อนกับ
ฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิรูปการเมืองตามกรอบที่ คสช. ต้องการให้ส าเร็จแม้ว่าจะพ้นสมัยของ
รัฐบาล คสช. ไปแล้วก็ตาม
เมื่อพิจารณาผ่าน 4 ประการของความเปลี่ยนแปลงในข้างต้นแล้ว กล่าวได้ว่า ระบบรัฐสภาได้เปลี่ยนแปลง
สู่จุดที่ไม่เป็นคุณประโยชน์นักต่อระบอบประชาธิปไตยที่ตัวแทนของประชาชนในรัฐสภา เนื่องจากกลไกที่เสริมเข้า
มาให้มีความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่ควบคุมครอบง าต่อสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 3 ประการ ได้แก่ ประการแรกคือ
วุฒิสภาแต่งตั้งและครองอ านาจน าในกระบวนการนิติบัญญัติ ประการที่สองคือ ศาลรัฐธรรมนูญที่สามารถให้โทษ
ผ่านอ านาจวินิจฉัยที่มีความเป็นการเมืองทั้งในกระบวนการรับเรื่องตลอดจนผลลัพธ์การวินิจฉัย และองค์กรอิสระที่
สามารถใช้อ านาจตามรัฐธรรมนูญในการขอตรวจสอบหรือไต่สวนเพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกา
แผนกผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ให้ท าการวินิจฉัยความผิด รวมถึงประการที่สาม สภาการขับเคลื่อนปฏิรูป
ประเทศที่จะมาเป็นกลไกครอบเพื่อบังคับให้รัฐสภาตอบสนองความต้องการปฏิรูปการเมืองของ คสช.ด้วย ยังไม่
รวมถึงกลไกการได้มาซึ่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่เปลี่ยนแปลงที่มาให้ตัดขาดจากการเลือกด้วยการลงคะแนนใน
บัตรเลือกตั้งโดยตรงจากมือของประชาชน สู่การค านวณสูตรคณิตศาสตร์การจัดสรร ส.ส. บัญชีรายชื่อทั้ง 150 คน
ภายใต้ กกต. อีกด้วย
ระบบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จึงถูกน ามาพิจารณาต่อไปได้ว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้
จ ากัดอ านาจของสภาผู้แทนราษฎรในกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภาโดยตรง หากแต่เป็นการก าหนดกลไก
อ านาจในความสัมพันธ์เชิงอ านาจเพื่อให้มีตัวแสดงการครอบง าพฤติกรรมการตัดสินใจของสภาผู้แทนราษฎร ในแง่
ของอุดมคติแล้ว การตรวจสอบฝ่ายการเมืองมีประโยชน์ต่อความโปร่งใสทางการเมืองส าหรับผู้สมาทานภาพอุดม
คติของเสรีนิยมที่สังคมต้องจ ากัดอ านาจรัฐไม่ให้รุกล้ าพรมแดนเสรีภาพประชาชน ทว่าในทางกลับกัน พฤติกรรม
ความเป็นเหตุเป็นผลของสภาผู้แทนราษฎรก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไป หากมีความพยายามแสวงทรัพยากรเพื่อน ามา
กระจายทรัพยากรให้แก่ประชาชนผ่านกลไกเสนอร่างกฎหมายกลับกลายเป็นข้อจ ากัดที่จะต้องถูกวุฒิสภาหรือ
องค์กรอิสระตรวจสอบ การที่สภาผู้แทนราษฎรไม่ท าการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างสุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมทาง
การเมืองคล้อยตามระบบราชการย่อมสร้างความปลอดภัยให้อยู่ครบวาระได้มากกว่า เช่นนี้แล้ว รัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2560 จึงมีผลส าคัญในการก ากับพฤติกรรมความเป็นเหตุเป็นผลของปัจเจกของสมาชิกรัฐสภาให้มีส่วนร่วม
กระบวนการนิติบัญญัติที่ท าให้วุฒิสภาหรือระบบราชการรู้สึกสั่นคลอนให้น้อยที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจ
ปรากฎตั้งแต่ระดับสมาชิกรัฐสภาที่เป็นปัจเจก ไปจนถึงการวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองที่เปนการบั่นทอนความเป็น