Page 220 - 23154_Fulltext
P. 220

215


               รัฐธรรมนูญให้ส าเร็จ ก็จ าเป็นที่จะต้องต่อรองหรือกดดันวุฒิสภาให้ออกเสียงเห็นชอบทั้งสองสภารวมกันเกินกึ่งหนึ่ง

               ของทั้งสองสภา หรือ 375 จาก 750 เสียงซึ่งเป็นจังหวะที่หนึ่ง โดยยังมีส่วนประกอบส าคัญจังหวะที่สองคือ เสียง
               เห็นชอบในวาระที่ 1 และ 3 ต้องได้มากกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสภาทั้งหมดขึ้นไปเท่านั้น จึงจะผ่านความเห็นชอบของ
               รัฐสภาในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ อีกทั้งในจังหวะที่สาม ก่อนที่จะมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้

               พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย สมาชิกสภาใดสภาหนึ่งหรือทั้งสองสภาสามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
               วินิจฉัยตีความขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งเป็นจังหวะที่วุฒิสภาสามารถยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ด้วยพลังของศาล

               รัฐธรรมนูญที่วุฒิสภาเป็นผู้รับรองรายชื่อ
                       ท้ายสุดแล้วในส่วนของวุฒิสภา รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ยังให้อ านาจในบทเฉพาะกาล มาตรา 269 เพื่อให้

               วุฒิสภาจากการสรรหาคณะกรรมการสรรหาที่แต่งตั้งโดย คสช. และรับรองรายชื่อโดย คสช. เอง จ านวน 250 คน
               เพื่อท าหน้าที่ไปพลางก่อนในวาระเริ่มแรกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งแน่นอนว่าอ านาจของวุฒิสภาทั้งหมดที่

               กล่าวไว้ข้างต้นจะถูกน ามาใช้เพื่อครอบง าอ านาจนิติบัญญัติและกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญให้อยู่ใน
               ขอบเขตที่ คสช. พึงพอใจ นอกจากนั้นวุฒิสภาชุดนี้ยังมีอ านาจเร่งรัดให้รัฐสภาเดินหน้ากระบวนการปฏิรูปการเมือง
               ตามที่รัฐบาล คสช. วางไว้ด้วย นอกจากนั้นมาตรา 272 เองก็ให้อ านาจวุฒิสภาร่วมให้ความเห็นชอบเลือก

               นายกรัฐมนตรีได้ด้วย กล่าวคือ ไม่เพียงวุฒิสภาจะครอบง าระบบรัฐสภา หากแต่ยังครอบง ากระบวนการเลือก
               นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารได้ด้วยเช่นกัน

                       ขณะที่ประการที่สาม ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระมีอ านาจล่วงล้ าพื้นที่นิติบัญญัติได้ โดยสามารถทั้ง
               ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อยับยั้ง

               ตามมาตรา 139 วรรคสอง นอกจากนั้น ตามมาตรา 148 (2) เพื่อให้นายกรัฐมนตรียื่น ร่าง พ.ร.บ. ให้สาล
               รัฐธรรมนูญตีความขัดต่อรัฐธรรมนูญก่อนที่จะมีการยื่นให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยได้ และยังได้รับ

               การร่วมตรวจสอบ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังสามารถแสดงอ านาจคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ประกอบ
               รัฐธรรมนูญคืนกลับไปยังรัฐสภาได้ด้วย ตามมาตรา 132 (2) และ (3)

                              “มาตรา 132 ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นอกจากที่บัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ให้กระท า
                       เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ

                              (2) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                       ให้รัฐสภาส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ
                       ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็น ในกรณีที่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ไม่มีข้อ

                       ทักท้วงภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างดังกล่าว ให้รัฐสภาด าเนินการต่อไป

                              (3) ในกรณีที่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติ
                       ประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบมีข้อความใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือท าให้ไม่
                       สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้ ให้เสนอความเห็นไปยังรัฐสภาและให้

                       รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าวในการ
                       นี้ ให้รัฐสภามีอ านาจแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อเสนอของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระตามที่

                       เห็นสมควรได้ และเมื่อด าเนินการเสร็จแล้ว ให้รัฐสภาด าเนินการต่อไป”
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225