Page 218 - 23154_Fulltext
P. 218

213


                       (5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

                       (6) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                       (7) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

                       (8) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
                       (9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง

                       (10) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ”
                       นอกจากนั้นอ านาจที่แทรกแซงบทบาทนิติบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรได้แล้ว ความเปลี่ยนแปลงที่สาม

               วุฒิสภายังได้รับการขยายขอบเขตอ านาจให้ความเห็นชอบแต่งตั้งตัวแสดงที่รับบทบาทตรวจสอบทางการเมือง ทั้ง
               ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ โดยหากวุฒิสภาตอบรับด้วยการไม่เห็นชอบ ทางกรรมการสรรหาต้องเลือก

               สมาชิกคนใหม่มาแทนที่บุคคลที่ไม่ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภา ได้แก่
                       1) มาตรา 204 ว่าด้วยการแสดงความเห็นชอบรายชื่อศาลรัฐธรรมนูญ

                       2) มาตรา 222 อ านาจวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแต่งตั้ง กกต. ทั้ง 7 คนตามที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ
                       3) มาตรา 228 ว่าด้วยอ านาจวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน 3 คนตามที่

               คณะกรรมการสรรหาเสนอ
                       4) มาตรา 232 ว่าด้วยอ านาจวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแต่งตั้ง ป.ป.ช. 9 คนตามที่คณะกรรมการสรรหา

               เสนอ
                       5) มาตรา 238 ว่าด้วยอ านาจวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 7 คนตามที่

               คณะกรรมการสรรหาเสนอ
                       จากนั้นความเปลี่ยนแปลงที่สี่ ซึ่งมีความส าคัญในระดับรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดนั้น อ านาจการ

               แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้สร้างพันธนาการอันใหญ่หลวงโดยผูกไว้กับอ านาจของวุฒิสภา มาตรา 256 ดังนี้
                              “มาตรา 256 ภายใต้บังคับมาตรา 255 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระท าได้ตาม

                       หลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
                              (1) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ านวนไม่

                       น้อยกว่า1 ใน 5 ของจ านวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทน
                       ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจ านวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจ านวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสอง

                       สภาหรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ านวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อ
                       เสนอกฎหมาย

                              (๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภา
                       พิจารณาเป็น 3 วาระ

                              (3) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดย
                       เปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจ านวนสมาชิก
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223