Page 21 - 23154_Fulltext
P. 21

16


                       หลักการอ านาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา (parliamentary sovereignty) เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17  (มา

               จากแนวคิดเรื่องการเป็นตัวแทน) ซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามกับหลักการอ านาจสูงสุดเป็นของกษัตริย์ (monarchical
               sovereignty) ที่มีรากฐานจากแนวคิดทางศาสนา ในการที่จะท าความเข้าใจเรื่องหลักการอ านาจสูงสุดเป็นของ
               รัฐสภานี้ ในบริบทของอังกฤษ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดนี้ งานศึกษาของ Goldsworthy (1999: 9) ได้แบ่งการ

               อธิบายออกเป็นสองส่วน คือค าว่า รัฐสภา (parliament) และค าว่า “อ านาจสูงสุด” (sovereignty) โดยค าว่า
               รัฐสภา เป็นค าที่ถูกใช้ในนัยยะทางกฎหมาย ซึ่งหมายความรวมถึงกษัตริย์ด้วย คือ กษัตริย์ (หรือราชินี) ในรัฐสภา

               (the King [or Queen] in Parliament) การอธิบายหลักการอ านาจสูงสุดในทางนิติบัญญัติของรัฐสภา จึงจ าเป็นที่
                                                1
               จะต้องพิจารณาโดยองค์รวมทั้งสองสภา  และสถาบันกษัตริย์ (the Crown) ด้วยเช่นกัน อ านาจสูงสุดของรัฐสภา
               จึงไม่ใช่เป็นแต่เพียงอ านาจสูงสุดในทางการเมืองของทั้งสองสภา หรือของสภาสามัญ (the House of Commons)
               เท่านั้น ซึ่ง Goldsworthy อธิบายต่อว่าหลักการอ านาจสูงสุดเป็นของรัฐสภานี้ นักประวัติศาสตร์บางส่วนอธิบาย

               ว่าหมายถึงอ านาจที่ทั้งสองสภาสามารถควบคุมการใช้พระราชอ านาจ (prerogatives) ของกษัตริย์ ซึ่งในความเห็น
               ของเขามองว่าเป็นการอธิบายด้วยหลักการ “รัฐบาลที่มีความรับผิด” (responsible government) แต่เดิม
               อ านาจสูงสุดในทางนิติบัญญัติของกษัตริย์ในรัฐสภาจึงเป็นอ านาจที่ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ที่จะไม่เห็นชอบร่าง

               พระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากทั้งสองสภาแล้ว และสามารถใช้พระราชอ านาจต่างๆ ได้โดยไม่ต้องขอ
               ความเห็นชอบใดๆ ในช่วงศตวรรษที่ 16-17 the King in Parliament เป็นการอธิบายว่ากฎหมายใหม่ถูกบัญญัติ

               โดยอ านาจของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ว่ากษัตริย์จะท าโดยค าแนะน าและความยินยอมจากทั้งสองสภาก็ตาม
               the King in Parliament จึงหมายถึงสถาบันที่ใช้อ านาจร่วมกันทั้งสองสภาและกษัตริย์ในการออกกฎหมายต่างๆ


                       ส่วนค าว่า “อ านาจสูงสุด” (sovereignty) นั้น Goldsworthy อธิบายต่อไปว่ามีความยากในการให้
               ความหมายเพราะขึ้นอยู่กับนิยามของค าว่า “กฎหมาย” (law) โดยเขาได้อ้างถึงนักกฎหมายคนส าคัญของอังกฤษ
               คือ เอ.วี. ไดซีย์ (A.V. Dicey, 1964: 40) ได้อธิบายอ านาจสูงสุดของรัฐสภาว่า


                       “หลักการอ านาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา อาจพิจารณาจากด้านที่เป็นบวก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่า บรรดา
               พระราชบัญญัติ (Act of Parliament) หรือส่วนใดก็ตามของพระราชบัญญัติที่ก่อให้เกิดกฎหมายใหม่ หรือยกเลิก

               หรือแก้ไขกฎหมายปัจจุบัน จะได้รับการเคารพโดยศาล หลักการเดียวกันนี้ ก็อาจพิจารณาจากด้านที่เป็นลบได้ ซึ่ง
               อาจอธิบายได้ว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญอังกฤษ ไม่มีบุคคลใดหรือองค์กรใดที่สามารถออกกฎซึ่งหักล้างหรือท าลาย

               พระราชบัญญัติ ซึ่งจะถูกบังคับใช้โดยศาล ที่จะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติได้”

                       เมื่อพิจารณาจากค าอธิบายของไดซีย์ อ านาจสูงสุดของรัฐสภาจึงมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือ

               การที่รัฐสภาสามารถออกกฎหมายหรือยกเลิกกฎหมายใดๆ ก็ได้ แต่ในด้านที่เป็นลบ คือ ไม่มีบุคคลหรือองค์กรใดที่
               จะสามารถล้มล้างหรือท าลายกฎหมายใดๆ ได้ ในค านิยามของไดซีย์จึงเห็นได้ว่านิยามของ “กฎหมาย” คือ กฎใดๆ
               ก็ตามที่จะถูกบังคับใช้โดยศาล (Goldsworthy, 1999: 9)






               1  ได้แก่ สภาสามัญ (the House of Commons) และสภาขุนนาง (the House of Lords)
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26