Page 18 - 23154_Fulltext
P. 18

13


                       "เมื่อเช้านี้กรรมาธิการได้เชิญท่านมหาเกษมเข้าไปประชุมพิจารณาเพื่อปรึกษาหาค าที่ดีที่สุดส าหรับใช้ค า

               แทนมหาสภาแห่งชาติ สภาอาวุโส 2 ค านี้ได้มีการตกลงกันในกรรมาธิการพร้อมด้วยผู้เสนอ คือท่านมหาเกษม ค า
               ว่ามหาสภาแห่งชาติตรงกับภาษาอังกฤษว่าปาเลียเมนต์ ได้เสนอค าว่า "รัฐสภา" และแทนค าว่า "สภาอาวุโส" ที่
               ประชุมตกลงพร้อมกับท่านมหาเห็นควรให้แก้เป็น "พฤฒสภา" ส่วนค าว่าสภาผู้แทนให้คงไว้ตามเดิม" (ส านักงาน

               เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2489ข: 1306)

               2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับระบบรัฐสภา


                       แนวคิดเรื่องการปกครองในระบบรัฐสภา (parliamentarism)

                       การปกครองในระบบรัฐสภา (parliamentarism หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  parliamentary

               government) มีพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างส าคัญในช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีองค์ประกอบที่ส าคัญอยู่ 4
               ประการ ได้แก่


                       1.  สภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งเป็นตัวแสดงที่มีอ านาจมากที่สุดในรัฐ
                       2.  รัฐมนตรีเป็นผู้ด ารงต าแหน่งในฝ่ายบริหารสูงสุดในขณะที่ด ารงต าแหน่งในฝ่ายนิติบัญญัติ และเป็นผู้ที่
                          ไม่สามารถด ารงต าแหน่งได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภา

                       3.  กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งนานๆ ทีจะใช้พระราชอ านาจที่เป็นทางการ แต่มีบทบาทใน
                          กระบวนการทางการเมืองผ่านอิทธิพลในเชิงศีลธรรมและในเรื่องการเงินในบางกรณี

                       4.  ระบบที่พรรคการเมืองแข่งขันกันแย่งชิงอ านาจในรัฐสภา (Sellinger, 2019: 3)

                       การเมืองการปกครองในอังกฤษ ช่วงศตวรรษที่ 17 เป็นการประลองก าลังและอ านาจระหว่างรัฐสภากับ

               กษัตริย์ ยุคกษัตริย์ชาร์ลสที่ 1 (Charles I) ปกครอง 11 ปี (1629-1640) โดยไม่มีการเรียกประชุมรัฐสภาแม้แต่ครั้ง
               เดียว หรือ Charles II ก็เช่นเดียวกันที่ปกครองยาวนานถึง 18 ปี (1661-1679) โดยไม่มีการเลือกตั้ง สิ่งเหล่านี้ได้
               กลายเป็นชนวนที่ท าให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรง จนในที่สุดในปี 1688 Bill of Rights ได้กลายเป็นกฎหมาย

               กษัตริย์ไม่สามารถออกกฎหมาย, ปกครอง, จัดเก็บภาษี หรือด ารงรักษากองทัพโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก
               รัฐสภาได้ และรัฐสภาก็ต้องมีการประชุมอย่างสม่ าเสมอ รัฐสภาจึงกลายเป็นสถาบันการเมืองที่มีความส าคัญมาก

               ขึ้น ภายหลังปี 1688 เห็นได้จากกิจกรรมนิติบัญญัติที่เกิดขึ้น ในช่วง 2 ศตวรรษระหว่าง 1485-1688 รัฐสภาผ่าน
               มาตรการ 2,700 ในขณะที่ช่วง 1688-1801 ผ่านมาตรการถึง 13,600 มีความสม่ าเสมอและกระตือรือร้นใน

               ศตวรรษที่ 18 มากกว่าในศตวรรษก่อนหน้านี้ถึง 10 เท่า ต่อมาในศตวรรษที่ 18 รัฐสภาอังกฤษมีการประชุมอย่าง
               สม่ าเสมอและตัดสินใจเรื่องการจัดเก็บภาษีและงบประมาณ กองทัพไม่สามารถด ารงอยู่ได้ถ้าไม่ได้รับความเห็นชอบ

               และกษัตริย์ต้องพึ่งพารัฐสภาในการได้รับเงินสนับสนุนส่วนตัว รัฐสภาจึงกลายเป็นสภานิติบัญญัติ (legislative
               assembly) มากกว่าจะเป็นแต่เพียงสภาที่เป็นเพียง "ส่วนต่อขยาย" ของสถาบันกษัตริย์ในการเป็นสภา
               ปรึกษาหารือ กษัตริย์อังกฤษต้องพึ่งพารัฐสภาเพื่อรักษารายได้ และรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา (Sellinger,

               2019: 18-58)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23