Page 19 - 23154_Fulltext
P. 19

14


                       นักคิดคนส าคัญที่เป็นภาพสะท้อนของแนวคิดการปกครองในระบบรัฐสภาในอังกฤษช่วง ศตวรรษที่ 18

               คือ เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ซึ่งเน้นหลักการที่ส าคัญ 4 ประการ ได้แก่ สภาผู้แทน (representative
               assembly) ที่ทรงอ านาจ, รัฐมนตรีที่รับผิดชอบต่อสภา, กษัตริย์ที่ถูกจ ากัดอ านาจโดยรัฐธรรมนูญ และการมีระบบ
               พรรคการเมือง Burke อธิบายว่า สิ่งที่อังกฤษแตกต่างจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ สภาสามัญ (House

               of Commons) สามารถควบคุมกษัตริย์ได้ บทบาทของสภาสามัญเป็น "สภาที่ปรึกษาหารือ" (deliberative
               assembly) ซึ่งปฏิเสธ “อาณัติจากการเลือกตั้งที่มีผลผูกพัน” (binding electoral mandates) เพราะว่าเป็นการ

               แทรกแซงความสามารถของรัฐสภาในการอภิปรายประเด็นการเมืองอย่างเสรี

                       Burke อธิบายว่าสิ่งที่ท าให้สภาสามัญ (House of Commons) สามารถท าหน้าที่ต่างๆ ได้ก็เพราะ

               ความสามารถที่โดดเด่นในการ "เป็นตัวแทน" ประชาชน Burke อธิบายว่า สภาสามัญสามารถ “รู้สึกถึงความส าคัญ
               และความสนใจในทุกๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับประชาชนมากกว่าสถาบันอื่นๆ ทางการปกครอง ในงานเขียนของเขา
               เรื่อง Thoughts on the Present Discontents เขาได้อธิบายว่า คุณธรรม (virtue) จิตวิญญาณ (spirit) และ

               แก่นแท้ (essence) ของสภาสามัญประกอบด้วยการแสดงออกถึงภาพความรู้สึกของชาติ"

                       Burke เสนอว่าเราไม่สามารถมีรัฐธรรมนูญที่เสรีได้หากปราศจากสภาผู้แทนที่เป็นตัวแทนของ

               ผลประโยชน์และความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งปรึกษาหารือความเดือดร้อนทุกข์ยากต่างๆ และท้าทายผู้ละเมิด
               อ านาจ ด้วยการเป็นตัวแทนจากประชาชน (popular representative) นอกจากนี้  อ านาจของรัฐสภาในการ

               ควบคุมการใช้จ่ายเงินสาธารณะ เป็นอ านาจส าคัญที่ท าให้รัฐสภาสามารถควบคุมกษัตริย์ได้ Burke เชื่อว่าอ านาจใน
               การควบคุมการเงินเป็นสิ่งที่จ าเป็น แต่ไม่เพียงพอที่จะท าให้เกิดการควบคุมฝ่ายบริหารโดยรัฐสภา เขาเสนอว่าสภา
               สามัญต้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธรัฐมนตรีคนใดก็ตามที่ไม่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นหน้าที่แรกของรัฐสภาที่จะปฏิเสธการ

               สนับสนุนรัฐบาล จนกว่าอ านาจนั้นจะอยู่ในมือบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของประชาชน และไม่มีรัฐมนตรีคนใดที่สมควร
               ด ารงต าแหน่งหากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาสามัญ (Sellinger, 2019: 59-82)


                       นักคิดคนส าคัญที่มีน าเสนอแนวคิดเรื่องการปกครองในระบบรัฐสภาช่วงศตวรรษที่ 19 คือเบนจามิน ก็
               องสตังท์ (Benjamin Constant) นักคิดและนักเขียนชาวฝรั่งเศส-สวิส ซึ่งมีบทบาทอย่างส าคัญภายหลังการปฏิวัติ

               ฝรั่งเศส ในช่วงเริ่มแรกนั้น เขาเป็นผู้ที่เชื่อในแนวคิดสาธารณรัฐนิยม (republicanism) ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะ
               กลายเป็นผู้ที่สนับสนุนแนวคิดระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) แต่ไม่ว่าจะเป็น

               ในช่วงที่เขาเชื่อในแนวคิดสาธารณรัฐนิยมหรือกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ คือการมีสภาผู้แทน (representative
               assembly) ที่ทรงอ านาจ (powerful representative assembly) ในชาติที่ยิ่งใหญ่นั้น เสรีภาพไม่สามารถด ารง

               อยู่ได้ถ้าปราศจากสภาที่เข้มแข็ง มีขนาดใหญ่ และเป็นอิสระได้ ในงานเขียนเรื่อง De la possibilité d’une
               constitution républicaine dans un grand pays Constant เสนอข้อถกเถียงว่า ความเหนือกว่า (the
               supremacy) ของอ านาจนิติบัญญัติต่ออ านาจบริหารนั้น เป็นอ านาจและเกียรติภูมิที่ส าคัญล าดับแรกๆ ข้อถกเถียง

               ของ Constant ในเรื่องหลักการความเหนือกว่าของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นเพราะฝ่ายนิติบัญญัติเป็นแต่เพียงฝ่ายเดียว
               ที่สามารถเป็นตัวแทนของประชาชนได้ ซึ่งในมิติด้านการเป็นตัวแทนทางการเมืองนั้น Constant อธิบายว่า มีแต่

               เพียงสภานิติบัญญัติที่ใหญ่และมีความหลากหลายเพียงพอเท่านั้นที่สามารถเป็น “ภาพลักษณ์ของชาติ” (the
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24