Page 15 - 23154_Fulltext
P. 15

10


               จากการพิจารณางานศึกษาที่ส าคัญของ Bagehot (2001) ที่ศึกษาความสัมพันธ์เชิงอ านาจของรัฐสภาอังกฤษใน

               ห้วงเวลาศตวรรษที่ 19 ภายใต้ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) โดยอธิบาย
               บทบาทของสภาสูงที่แสดงสถานะของความเป็นศักดินาเพื่อโน้มน้าวสภาล่างให้คิดเห็นคล้อยตามผ่านการ
               วิพากษ์วิจารณ์การท างานของสภาล่าง รวมถึงแสดงบทบาททางอ้อมในฐานะของอ านาจวีโต้แทนสถาบันกษัตริย์ที่

               ไม่อาจใช้อ านาจโดยตรงในการยับยั้งไม่ให้สภาล่างเร่งรัดเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างถอนราก เมื่อเป็นเช่นนั้น
               แล้ว บทบาทของสภาล่างจึงเป็นทั้งการตอบสนองต่อมติมหาชนอังกฤษ เช่นเดียวกับการถกเถียงเพื่อหาข้อสรุปมา

               น าเสนอสังคมหรือเสนอแนะให้องค์ประมุขแห่งรัฐรับทราบ อีกทั้งยังต้องรับฟังค าแนะน าของสภาสูงเพื่อให้การ
               ท างานของรัฐสภาเป็นการเสริมให้รัฐบาลแห่งองค์ราชินียืนยงต่อไป กล่าวโดยสรุปจึงเข้าใจได้ว่า รัฐสภาของอังกฤษ

               ในศตวรรษที่ 19 ในมุมของ Bagehot จึงเป็นการที่รัฐสภาเป็นพื้นที่ประนีประนอมทางอ านาจที่สถาบันกษัตริย์มี
               บทบาทรับรองให้ตัวแทนประชาชนเข้ามาท างานรับใช้ชาติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และรักษาความ

               มั่นคงทางอ านาจของสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษให้สถาพรสืบไป
                       ในงานของ Loewenberg (1971) กล่าวถึงพลวัตของรัฐสภาของอังกฤษ ความเปลี่ยนแปลงจากศตวรรษที่
               17 แม้ในห้วงเวลานี้มีจะมีรัฐสภาเกิดขึ้นแล้ว แต่รัฐสภาดังกล่าวไปเป็นเพื่อรับใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

               ไม่ใช่ในฐานะของตัวแทนของประชาชนในการท างานนิติบัญญัติ หรือจนเมื่อล่วงเลยมายังศตวรรษที่ 19 รัฐสภาก็
               ยังไม่ใช่สถาบันเพื่อการจัดท านโยบาย หากแต่เป็นสถาบันเพื่อสร้างฉันทามติ ซึ่งเป็นฉันทามติอันเกิดจากการระบบ

               สภาคู่ท าหน้าที่สื่อสารระหว่างผู้ปกครอง-ผู้ถูกปกครอง (Loewenberg, 1971) กล่าวคือ รัฐสภาอังกฤษเป็น
               ต้นแบบของการจัดความสัมพันธ์เชิงอ านาจเพื่อสร้างสมดุลทางอ านาจระหว่างสภาล่างอันเป็นตัวแทนของ

               ประชาชนส่วนมากกับสภาสูงที่เป็นตัวแทนของชนชั้นน า ซึ่งสะท้อนการเปลี่ยนผ่านอ านาจทางการเมืองที่สถาบัน
               กษัตริย์มีอ านาจน าในการก าหนดการเมืองสู่การต่อรองทางการเมืองระหว่างเสียงส่วนมากผ่านตัวแทนในรัฐสภากับ

               ตัวแทนของชนชั้นน าที่ท าหน้าที่รักษาขนบของระบอบการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม
                       ในงานของ Patterson (1989) ได้ขยายขอบเขตของการศึกษารัฐสภาของอังกฤษออกให้ขยายรวมถึง
               ความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่ไม่เพียงสภาล่างกับสภาสูงสัมพันธ์ต่อกัน หากแต่ยังเป็นความสัมพันธ์ที่สมาชิกรัฐสภา

               ตัดสินใจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมใน 4 ประการส าคัญ ได้แก่

                   1)  ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสมาชิกรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของพวกเขามากขึ้นเรื่อยมานับแต่ทศวรรษ
                       ค.ศ. 1960 สอดคล้องกับทั้งการเติบโตของพรรคที่อิงความนิยมในท้องถิ่น ตลอดจนการที่วางผู้
                       ประสานงานและมีส านักงานที่ประชาชนเข้าถึงง่ายขึ้น

                   2)  จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างสมาชิกรัฐสภาอังกฤษพบว่าการตัดสินใจของสมาชิกรัฐสภาจะอิงกับความ
                       คิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นที่นักการเมืองเป็นตัวแทน เพื่อสร้างหลักประกันว่าสมาชิกรัฐสภาจะได้รับ

                       การเลือกตั้งกลับเข้าไปอีกสมัย
                   3)  พฤติกรรมการลงคะแนนของสมาชิกรัฐสภาแม้จะมีการตัดสินใจที่อิงกับท้องถิ่น แต่ปัจจัยเชิงอุดมการณ์

                       ของพรรคก็มีอิทธิพลมากเพียงพอที่จะแบ่งอุดมการณ์สมาชิกรัฐสภาอังกฤษออกเป็นค่ายเสรีนิยมกับ
                       อนุรักษ์นิยม โดยแสดงความคิดเห็นแบ่งกันชัดเจนในแต่ละประเด็น เช่น ควรมีขอบข่ายรองรับทาง

                       เศรษฐกิจให้ปัจเจกหรือควรท าเป็นสวัสดิการสังคมเท่าเทียมกัน เป็นต้น
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20