Page 20 - 23154_Fulltext
P. 20
15
image of the nation) และมีแต่เพียงฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้นที่สามารถเป็นตัวแทนของชาติในการตัดสินใจทาง
การเมือง
Constant เป็นนักทฤษฎีที่ส าคัญในเรื่องระบบรัฐสภาในยุคศตวรรษที่ 19 ที่น าเสนอว่ารัฐสภาเป็นที่แห่ง
การปรึกษาหารือ และแนวคิดของเขาในเรื่องฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่ปรึกษาหารือนั้นถือก าเนิดขึ้นจากความ
เชื่อของเขาในคุณลักษณะของการเป็นตัวแทน เพราะสมาชิกสภานิติบัญญัตินั้นมาจากทุกๆ ส่วนของชาติและเป็น
ตัวแทนแห่งความหลากหลายของผลประโยชน์และความคิดเห็น หนทางเดียวที่กลุ่มขนาดใหญ่และหลากหลาย
เช่นนี้จะสามารถตัดสินใจร่วมกันได้ก็คือกระบวนการถกเถียงและอภิปรายอย่างยาวนาน Constant เป็นคนที่เชื่อ
ในคุณค่าของการปรึกษาหารือ “ตัวแทน 100 คน มาจาก 100 ภาคส่วนของรัฐ น ามาสู่การเป็นสภาอันเป็นที่รวม
ของผลประโยชน์เฉพาะของผู้ที่เลือกตั้งพวกเขาเข้ามา ผลประโยชน์ทั่วไป (general interest) จะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อมี
การประนีประนอมผลประโยชน์ระหว่างกัน
ถึงแม้ว่า Constant จะเสนอข้อถกเถียงว่ามีแต่เพียงสภานิติบัญญัติ (legislature) เท่านั้นที่สามารถเป็น
ตัวแทนของประชาชนได้ในยุคที่เขาเป็นผู้ฝักใฝ่ในแนวคิดสาธารณรัฐนิยม อย่างไรก็ตาม เมื่อเขาเปลี่ยนไปฝักใฝ่ใน
แนวคิดกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) ก็ไม่ได้ปรากฏว่าเขาจะเปลี่ยนความเชื่อในการ
เป็นตัวแทนประชาชนของฝ่ายนิติบัญญัติ ในแนวคิดกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น Constant ยอมรับว่าการมี
กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญคือการยอมรับสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซึ่งสืบทอดต าแหน่งโดยสายเลือด และเป็น
ตัวแทนของระบอบอภิชนาธิปไตย (aristocracy) แต่เขาก็ยืนยันชัดเจนว่าสถาบันนี้ ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน
หรือแสดงออกถึงมติมหาชน
นอกเหนือจากหน้าที่ในฐานะการเป็นองค์กรปรึกษาหารือของฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว บทบาทที่ส าคัญอีก
ประการหนึ่งที่ Constant เสนอ คือ ความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติในการท าให้ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบ เขา
ตระหนักดีว่าฝ่ายบริหารอาจจะบิดเบือนการใช้อ านาจในวันหนึ่งได้ สถานการณ์ไม่คาดคิดดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อ
รัฐมนตรีถูกบังคับให้ต้องใช้อ านาจตัดสินใจของตนเอง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการบิดเบือนการใช้
อ านาจ (abuse of power) จึงเป็นเรื่องจ าเป็นที่รัฐสภาต้องตรวจสอบติดตามความประพฤติของฝ่ายบริหารอย่าง
สม่ าเสมอ หน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐสภาในเรื่องนี้ส าหรับ Constant แล้วถือว่าเป็นหน้าที่ที่ส าคัญที่สุดใน
บรรดาค าถามทางรัฐธรรมนูญ รัฐสภา ในฐานะองค์กรที่ท าหน้าที่ปรึกษาหารือ ไม่ใช่องค์กรตุลาการ ควรที่จะไม่
เพียงแต่ตรวจสอบว่ารัฐมนตรีได้ละเมิดกฎหมาย แต่ต้องตรวจสอบว่าได้ใช้อ านาจที่จะน าไปสู่ประโยชน์ร่วม
(common good) หรือไม่ Constant ตระหนักดีว่ารัฐมนตรีทั้งหลายล้วนแต่ถูกถอดถอนออกจากต าแหน่งหรือ
ด าเนินคดีได้ยากมาก แต่เขาก็ยังคงเน้นที่หน้าที่ของรัฐสภาในการตรวจสอบการตัดสินใจของฝ่ายบริหารในเรื่อง
ต่างๆ ว่าเป็นงานที่มีคุณค่า ถึงแม้ว่ารัฐมนตรีอาจจะไม่ถูกด าเนินคดี แต่ก็อาจจะท าให้รัฐมนตรีต้องลาออกได้ ซึ่งก็
จะเป็นการย้ าเตือนหน้าที่ส าคัญล าดับแรกของรัฐมนตรีต่อชาติ (Sellinger, 2019: 115-143)
แนวคิดอ านาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา (parliamentary sovereignty)