Page 16 - 23154_Fulltext
P. 16

11


                   4)  ความเป็นกรรมาธิการช่วยให้สมาชิกได้สั่งสมความรู้เฉพาะทางที่เป็นความถนัดของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งการ

                       ได้รับข้อมูลที่มากขึ้นจากชั้นกรรมาธิการจะส่งผลให้การอภิปรายและลงคะแนนในสภาเกิดความสอดคล้อง
                       มากยิ่งขึ้นต่อประเด็นมากยิ่งขึ้นแทนที่จะอิงกับรัฐบาลหรือเสียงข้างมากเป็นหลัก
                       นอกจากนี้ รัฐสภาของอังกฤษยังถูกต่อยอดน ามาศึกษาในประเด็นความสัมพันธ์เชิงอ านาจในหลากหลาย

               ประเด็นวิจัย กล่าวได้ว่าสามารถแบ่งกลุ่มได้อย่างน้อยใน 3 กลุ่มตามกลุ่มความสัมพันธ์ ได้แก่ กลุ่มแรกคือ ศึกษา
               ความสัมพันธ์ของระบบรัฐสภาอังกฤษต่อสถาบันกษัตริย์อังกฤษ (Bagehot, 2001; Cumpston, 1963; Palmer

               & Armitage, 2014) ขณะที่กลุ่มที่สอง ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจของสมาชิกรัฐสภาอังกฤษ (Mishler, 1983;
               Patterson, 1989; Slapin et al., 2018) นอกจากนั้นยังมีกลุ่มที่สาม เป็นการศึกษาผ่านกรอบของการเมือง

               เปรียบเทียบ ไม่ว่าจะศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประสิทธิภาพของระบบรัฐสภาเทียบกับระบบประธานาธิบดี
               (Price, 1943; Weaver, 1985) หรือศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกรณีศึกษา เช่น ระหว่างสภาแบบอังกฤษกับสภา

               แบบเยอรมัน (Sartori, 1994b) เป็นต้น

                       รากศัพท์ของค าว่า “รัฐสภา”

                       รัฐสภา เป็นศัพท์บัญญัติที่แปลมาจากค าในภาษาอังกฤษที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันคือค าว่า parliament

               ซึ่งโดยรากศัพท์แล้ว มีค าภาษาละตินอีกค าหนึ่งคือค าว่า Parlementum ซึ่งหมายถึงการเจรจาระหว่างผู้ทรง
               อ านาจ (powerful men) และอีกค าหนึ่งคือค าว่า parliamentaire ซึ่งหมายถึง ผู้เจรจาระหว่างฝ่ายต่างๆ ใน

               สงครามและการทูต จากรากศัพท์ภาษาละตินจะเห็นได้ว่า Parliament มีนัยยะถึงค าว่า parler ในภาษาฝรั่งเศส
               หรือภาษา parlare ในภาษาอิตาเลียน ซึ่งแปลว่า “การพูด” เมื่อพิจารณาจากรากศัพท์แล้ว รัฐสภาหมายถึง

               สถานที่ส าหรับการพูด เป็นสถาบันการเมืองที่มีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน มีจุดเริ่มต้นจากสภา
               ที่มีการประชุมเป็นครั้งคราว พัฒนาไปสู่สภาที่มีการประชุมอย่างสม่ าเสมอ จนกลายไปเป็นสภาที่มีสมาชิกที่เป็น

               ตัวแทนมาจากการเลือกตั้ง (Palonen, 2016: 9)

                       นอกจากค าว่า parliament ที่แปลว่ารัฐสภาที่เข้าใจกันโดยทั่วไปแล้ว อีกค าหนึ่งที่หมายถึงรัฐสภา
               เช่นเดียวกันในภาษาอังกฤษ คือค าว่า diet ในอดีตก่อนที่จะมีวิวัฒนาการกลายเป็นรัฐสภาดังที่เห็นกันในปัจจุบัน

               รัฐสภาในหลายๆ ประเทศมีวิวัฒนาการมาจากสภาฐานันดร (estate assemblies) มาก่อน สภาฐานันดรนี้มักจะ
               เรียกกันว่า diet ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือค าว่า dies ซึ่งแปลว่า วัน (day) ตามความหมายดั้งเดิมนั้น

               หมายถึงวันประชุม (the day[s] of assembly) ชื่อเรียกรัฐสภาในปัจจุบันในบางประเทศก็ยังคงรากศัพท์เดิมที่
               หมายถึงสภาฐานันดรไว้ เช่น ในเยอรมนีเรียกสภาสูงว่า Landtag และ Bundestag, รัฐสภาสวีเดน เรียกว่า

               Riksdag, รัฐสภาเนเธอร์แลนด์ เรียกว่า Staten-Generaal ของเนเธอร์แลนด์ หรือรัฐสภาสภาสเปน เรียกว่า
               Cortes อย่างไรก็ตาม ค าเรียกรัฐสภาในหลายประเทศก็ไม่ได้หมายความถึงสภาฐานันดร แต่มีนัยยะที่สะท้อนถึง
               การเป็นตัวแทนของคนธรรมดาสามัญ อันหมายถึงสภาที่ประกอบด้วยประชาชน เช่น รัฐสภาเดนมาร์ก เรียกว่า

               Folketing, รัฐสภานอร์เวย์ เรียกว่า Storting, รัฐสภาไอซ์แลนด์ เรียกว่า Allting ซึ่งค าที่ลงท้ายด้วยค าว่า -ting ใน
               ประเทศสแกนดิเนเวียเหล่านี้ มีนัยยะที่สะท้อนว่าเป็นรัฐสภาของคนธรรมดาสามัญ หรือแม้แต่ในหมู่เกาะแฟโร
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21