Page 14 - 23154_Fulltext
P. 14

9


               การควบคุมการใช้จ่ายเงินจึงเป็นบทบาทของการต่อรองทางอ านาจ ในด้านหนึ่ง ค าอธิบายทางทฤษฎีโดยทั่วไป

               เกี่ยวกับก าเนิดของรัฐสภานั้น มักเน้นไปที่ความต้องการจัดเก็บภาษีว่าเป็นจุดเปลี่ยนส าคัญที่ท าให้เกิดรัฐสภาขึ้น

                       แต่ในอีกทางหนึ่ง ก็มีการอธิบายการถือก าเนิดขึ้นของ “สถาบันตัวแทน” (representative institution)
               ในโลกตะวันตกว่าไม่ได้เกิดขึ้นจากเรื่องภาษีแต่เพียงอย่างเดียว ในงานศึกษาของ Boucoyannis (2021) ได้อธิบาย

               สถาบันตัวแทนที่ได้กลายเป็นแกนกลางของการจัดการปกครองในยุโรปตะวันตกนั้น ค าอธิบายโดยหลักๆ แล้วจะ
               เป็นการอธิบายถึงเรื่องแนวคิดและธรรมเนียมปฏิบัติของตะวันตกในเรื่องสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล หรือการท า

               สงคราม การจัดเก็บภาษี เป็นต้น ค าอธิบายเหล่านี้จึงมักบอกว่าการเป็นตัวแทนเกิดขึ้นจากผู้ปกครองที่อ่อนแอที่มี
               ความจ าเป็นต้องยอมรับสิทธิต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้กลายเป็นกลุ่มที่ทรงอ านาจ แต่ในงานศึกษานี้ Boucoyannis ได้

               น าเสนอข้อถกเถียงว่า สถาบันที่เป็นตัวแทนนั้นเป็นผลผลิตมาจากความเข้มแข็งของรัฐเอง โดยเฉพาะความสามารถ
               ในการอ านวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ฉะนั้น สถาบันตัวแทน หรือรัฐสภาในความหมายนี้ที่สามารถด ารง
               อยู่นับรวมทุกกลุ่มในสังคม จึงถือก าเนิดขึ้นเมื่อผู้ปกครองสามารถใช้อ านาจเหนือตัวแสดงและกลุ่มต่างๆ ในแผ่นดิน

               ให้ยอมรับได้ งานชิ้นนี้ต้องการน าเสนอข้อถกเถียงว่า "ความยุติธรรม"  เป็นจุดก าเนิดของการจัดการปกครองแบบ
               ตัวแทน (representative governance) เมื่อผู้ปกครองสามารถใช้อ านาจนี้เหนือตัวแสดงทางการเมืองที่ทรง

               อิทธิพลอื่นๆ ให้ต้องท าตามได้ รวมไปถึงการท าให้ต้องเสียภาษีได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง “ความยุติธรรม” เป็นเหตุที่ท า
               ให้เกิดสถาบันการเมืองแบบตัวแทนขึ้นมาก่อน จึงสามารถใช้อ านาจนั้นบังคับให้ทุกคนในรัฐให้ปฏิบัติตาม รวมไป

               ถึงการใช้อ านาจในการจัดเก็บภาษี

                       จุดเริ่มต้นของระบบรัฐสภาในยุคสมัยใหม่


                       รัฐสภาถือเป็นสถาบันการเมืองที่ส าคัญในระบอบการปกครองยุคสมัยใหม่ ค าถามส าคัญที่จ าเป็นต้องท า
               ความเข้าใจให้ชัดเจนในเบื้องต้นก่อน คือ อะไรจะถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบรัฐสภาสมัยใหม่อันเป็นที่ยอมรับ
               โดยทั่วไปในทางวิชาการ และระบบรัฐสภาถูกให้ความสนใจศึกษาในวงการวิชาการด้านรัฐศาสตร์อย่างไรบ้างในแต่

               ละห้วงเวลา
                       จุดเริ่มต้นของระบบรัฐสภาสมัยใหม่อันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในทางวิชาการ ประเด็นของการมีรัฐสภา

               ตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ถึงแม้ว่าทางวิชาการจะมองว่ากรีกจะสามารถนับเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด
               ประชาธิปไตย (Balot, 2006; Fleck et al., 2006; Ober, 2008) แต่อย่างก็ตามกรีกถือว่าเป็นการท างานในแบบ

               ของประชาธิปไตยที่ประชาชนดูแลปกครองตนเอง (self-government democracy) (เอนก เหล่าธรรมทัศน์,
               2554) หรือก็คือเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยทางตรง โดยที่เป็นการต่อรองทางการเมืองของพลเมืองชายวัยผู้ใหญ่

               ผู้ซึ่งถือเป็นอภิสิทธิ์ชนผู้มีสิทธิทางการเมืองเท่านั้นจึงจะสามารถเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในการเป็นผู้บัญญัติ
               กฎหมายด้วยตนเองโดยตรง (Balot, 2006) ซึ่งต่างกับในส่วนของระบบรัฐสภาสมัยใหม่ที่เป็นการท างานของ
               ระบอบประชาธิปไตยทางที่เป็นตัวแทนของประชาชนอีกล าดับหนึ่ง

                       ระบบรัฐสภาของอังกฤษเป็นจุดเริ่มต้นที่งานวิชาการทางรัฐศาสตร์ยอมรับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบ

               รัฐสภาสมัยใหม่ (Watson, 1969) ฉะนั้น ในการท าความเข้าใจการศึกษาเรื่องระบบรัฐสภาของอังกฤษ อาจเริ่มต้น
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19