Page 13 - 23154_Fulltext
P. 13
8
บทที่ 9 ความสัมพันธ์เชิงอ านาจในระบบรัฐสภาของไทย จะเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอ านาจ
ในระบบรัฐสภาของไทย และข้อเสนอรูปแบบของระบบรัฐสภาที่เหมาะสมส าหรับประเทศไทย
บทที่ 10 สรุป
บทที่ 2
ระบบรัฐสภา: จุดก าเนิด แนวคิดและทฤษฎี และทบทวนวรรณกรรม
ในการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์เชิงอ านาจในระบบรัฐสภาไทยนั้น จ าเป็นที่จะต้องเห็น “ภาพใหญ่” ของสิ่ง
ที่เรียกว่าระบบรัฐสภาในเชิงสากล และระบบรัฐสภาในประเทศไทย ในบทนี้จะแบ่งการน าเสนอออกเป็น 4 ส่วน
หลักที่ส าคัญ ได้แก่ 1) จุดก าเนิดของรัฐสภา โดยศึกษาวิเคราะห์ทั้งในเชิงทฤษฎี การส ารวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
และรากศัพท์ของรัฐสภา เพื่อให้เห็นภาพว่ารัฐสภามีวิวัฒนาการในทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นได้อย่างไร 2) แนวคิด
และทฤษฎี โดยจะอภิปรายแนวคิดหลักส าคัญ 2 ประการ ได้แก่ แนวคิดเรื่องการปกครองในระบบรัฐสภา
(parliamentarism) และแนวคิดเรื่องอ านาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา (parliamentary sovereignty) 3) ลักษณะ
พื้นฐานของระบบรัฐสภา โดยส ารวจค าอธิบายในทางวิชาการว่าด้วยระบบรัฐสภาทั้งในทางสากลและไทย และ 4)
ทบทวนวรรณกรรม โดยจะส ารวจการศึกษาเรื่องระบบรัฐสภาในทางการเมืองเปรียบเทียบ และส ารวจวรรณกรรม
เกี่ยวกับระบบรัฐสภาของไทย
2.1 จุดก าเนิดของรัฐสภา
ก าเนิดรัฐสภา: มุมมองในทางทฤษฎี
รูปแบบของระบบรัฐสภาในโลกปัจจุบันนั้นมีที่มาทางประวัติศาสตร์จากการจัดการปกครองที่มีกษัตริย์กับ
สภา (King and Council) ในยุคโบราณ ที่มีกษัตริย์ปกครอง และมีสภาที่ประกอบด้วย "ผู้ทรงภูมิปัญญา" (wise
men) ต่อมาในยุคกลาง ได้พัฒนากลายเป็นการเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์ (King) และสภาที่ปรึกษากษัตริย์
(royal council) ในช่วงต้นยุคกลาง ก่อนจะพัฒนาไปเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์ และรัฐสภา (parliament)
ในช่วงปลายยุคกลางต่อเนื่องถึงต้นยุคสมัยใหม่ และการปกครองที่มีรัฐสภาและนายกรัฐมนตรี หรือสภากับ
ประธานาธิบดีในยุคปัจจุบัน พัฒนาการของระบบรัฐสภาในประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการจัดความสัมพันธ์ทาง
อ านาจว่าใคร หรือสถาบันใดมีอ านาจมากกว่ากันในการก าหนดนโยบายและตัดสินใจเรื่องต่างๆ ค าอธิบายหนึ่ง
ในทางทฤษฎีนั้น รัฐสภาจึงเป็นสถาบันการเมืองที่ถือก าเนิดขึ้นจากพัฒนาการทางการเมืองที่ต้องการ “การ
ต่อรอง” และ “การประนีประนอม” ทั้งการต่อรองภายในรัฐสภาเอง และการต่อรองระหว่างรัฐสภากับองค์อธิปัตย์
ซึ่งการต่อรองและการประนีประนอมนี้เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะแลกเปลี่ยนและต่างตอบแทน (Congleton,
2011: 6-9) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องการจัดเก็บภาษี และการใช้จ่ายเงินของกษัตริย์ บทบาทของรัฐสภาใน