Page 17 - 23154_Fulltext
P. 17

12


               (Faroe Islands) ที่เรียกรัฐสภาว่า Lagting ก็มีรากศัพท์เดิมที่หมายถึงสภาที่ถกเถียงและอภิปรายในเรื่องกิจการ

               สาธารณะ (Palonen, 2016: 9)

                       ในประเทศไทย ค าว่า "รัฐสภา" ถูกใช้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 แต่เดิมในร่างรัฐธรรมนูญ
               ฉบับที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ไม่ได้ใช้ค าว่า "รัฐสภา" เมื่อเริ่มแรก แต่ใช้ค าว่า "มหาสภา

               แห่งชาติ" ประกอบด้วย "สภาอาวุโส" และ "สภาผู้แทน" ก่อนที่จะมีการแปรญัตติแก้ไขชื่อจาก "มหาสภาแห่งชาติ"
               เป็น "รัฐสภา" ส่วน "สภาอาวุโส" เปลี่ยนชื่อเป็น "พฤฒสภา" จึงเป็นจุดเริ่มต้นของค าว่า "รัฐสภา" ที่ใช้มาจนถึง

               ปัจจุบัน (กร, 2556: 61) แต่เดิมนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เป็นผู้เสนอให้ใช้ค าว่า “มหา
               สภาแห่งชาติ โดยอธิบายเมื่อคราวการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 23/2489 วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2489 ว่า


                       “ข้าพเจ้าเองเป็นคนเสนอค าว่า สมัชชาและพฤฒสภา และมหาสภาข้าพเจ้าก็เป็นคนเสนอ ทั้งนี้ก็ขอชี้แจง
               คือค าว่า สมัชชา และพฤฒสภานั้น คนไม่ชอบ เพราะเสียงครึ ข้าพเจ้าก็เห็นด้วย ถ้าจะพูดกันทางศัพท์หรือภาษา

               แล้ว พฤฒสภากับสมัชชานั้นเป็นค าที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นเมื่อข้าพเจ้าเป็นกรรมาธิการและกรรมการอยู่ ก็ได้เสนอ
               ชื่อนั้นๆ แต่ว่าเมื่อกรรมาธิการและกรรมการคนอื่นแย้งว่าเสียงไม่เพราะหรือเสียงครึ ข้าพเจ้าก็เห็นด้วย ในส่วนค า
               ว่าสมัชชาที่ข้าพเจ้าเสนอภายหลังว่ามหาสภา แล้วคณะกรรมาธิการได้รับรองนั้น ความจริงท่านสมาชิกอาจจะมี

               การเข้าใจผิดอยู่สักเล็กน้อย มหาสภาไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะให้ความหมายถึงสองสภารวมกัน ในกรณีเช่นนั้นถ้า
               ท่านอ่านบทบัญญัติต่อไป ท่านจะเห็นว่าที่ประชุมรวมกันแห่งมหาสภาในตรงนั้นและหมายถึงรวมกันหรือร่วมกัน

               อันแท้จริง ในหลักการองค์การนิติบัญญัติก็ควรจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อาจจะมีสองสภา แต่ว่าควรจะมีองค์การ
               อันหนึ่ง บางแห่งก็เรียกว่าสภานิติบัญญัติ คือสภาเดียว ถ้าเขาอยากออกเป็นสองก็ควรจะเรียกว่าองค์การนิติบัญญัติ
               ความจริงเป็นเช่นนั้น ทีนี้ค าว่า "มหา" ที่ท่านว่าไม่มีความหมายรวมกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าขอให้ท่านระลึกถึงค าว่า

               "มหาชน" ซึ่งเราใช้กันในสภานี้ ก็มีใช้กันว่ามหาชน หรือบางคราวเขาก็เรียกกันว่าสาธารณะชน แต่นักภาษาก็ไม่
               ค่อยชอบใช้ค าว่าสาธารณะชน ชอบใช้ค าว่ามหาชน ซึ่งถูกต้องตามหลักภาษาบาลีหรือทางศัพท์มากกว่า มหาชนอัน

               แท้จริงก็หมายความว่า ชนส่วนใหญ่ แปลว่า ส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ ฉันใดมหาสภาในที่นี้ก็หมายความถึงสภา
               องค์การส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ ได้แก่ค าอังกฤษว่า ปาลิเม้นท์ หรือองค์การที่เรียกว่า ลียิสเลชั่น (Legislation)

               องค์การนิติบัญญัติ ทีนี้องค์การนิติบัญญัติแบ่งออกไปเป็นสองสภา อีกทีหนึ่งคือองค์การนิติบัญญัติเกี่ยวกับมาตรา
               ที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อ านาจนิติบัญญัติทางมหาสภาแห่งชาตินั้น หมายถึงองค์การส่วนใหญ่ในทางนิติบัญญัติ

               แต่องค์การอันนี้ต่อไปจึงได้แบ่งแยกออกไปเป็นสองสภา เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่า ค าว่ามหาสภาเสียงเพราะ
               กว่าสมัชชาแน่นอน เห็นว่าเป็นศัพท์ที่ใช้ได้ ข้าพเจ้าจึงได้เสนอและกรรมาธิการก็ได้รับรอง” (ส านักงานเลขาธิการ
               สภาผู้แทนราษฎร, 2489ก: 1278-1279)


                       ต่อมาในคราวการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 24/2489 วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2489 ได้มีการลงมติ
               พระยามานวราชเสวี ประธานกรรมาธิการ ได้อธิบายถึงการก าหนดใช้ค าเรียกว่า “รัฐสภา” แทนค าว่า “มหาสภา

               แห่งชาติ” ว่า
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22