Page 93 - 22825_Fulltext
P. 93
2-53
ข้อมูลดังกล่าว การจับเก็บข้อมูลทุติยภูมิจึงเน้นการศึกษาในขอบเขตสันติภาพของประเทศไทย โดยในปี 2563 นี้
ได้ทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติมจากข้อมูลงานวิจัย รายงานของต่างประเทศ ของประเทศไทย และความเห็นจาก
ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยจะมีการวัดระดับสันติภาพในสังคมไทยเพิ่มเติมอีก 5 ตัวชี้วัด รวมเป็น 28 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่
เพิ่มเติมคือ P2.7 อัตราการฆ่าตัวตาย P3.3มุมมองด้านพหุวัฒนธรรม (ความหลากหลายทางศาสนา) P3.6 จ านวน
เหยื่อจากการค้ามนุษย์ P3.7 จ านวนของกรณีที่มีการสังหาร ลักพา การท าให้สูญหาย การกักตัวและทรมาน
นักข่าวและนักสิทธิมนุษยชน P3.8 จ านวนผู้ถูกกักขังที่รอการพิพากษาในสัดส่วนประชากรในเรือนจ า ซึ่ง
ประกอบด้วยตัวชี้วัดด้านหลักคือ(1) ไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ (2) ความมั่นคงและปลอดภัยในสังคม (3) การ
ยอมรับความหลากหลาย/เคารพสิทธิมนุษยชน/ไม่เลือกปฏิบัติ และ (4) มีความเหลื่อมล้ าในสังคมน้อยและมี
การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ในปี 2565 ตัวชี้วัดที่เพิ่มขึ้นมาอีก 6 ตัวชี้วัดย่อย มีการปรับปรุงเพิ่มเติม จาก
การระดมสมองร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวัดระดับสันติภาพ เมื่อวันที่ 27
ตุลาคม 2564 ท าให้ได้ข้อเสนอแนะหลายประการ ตัวชี้วัดและข้อมูลที่อาจเก็บข้อมูลเสริมเพิ่มขึ้นมาอาจจะ
ประกอบด้วย จ านวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สัดส่วนแพทย์ต่อประชากร สัดส่วนงบประมาณที่ใช้ในการ
พัฒนากับการจัดซื้ออาวุธ คดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมถึงสถิติจ านวนคดีที่ถูกยกฟ้องในสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ และจ านวนคดีและการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 112 รายละเอียดดังรูปที่ 4 และ 5
รูปที่ 2.3: องค์ประกอบหลักของสันติภาพ
ไม่มีความรุนแรงทาง
กายภาพ
มีความเหลื่อมล ้า สันติภาพ
ในสังคมน้อยและมี ความปลอดภัยและ
การกระจาย ความมั่นคงใน
ทรัพยากรที่เป็น ภายใน สังคม
ธรรม
การยอมรับความ
แตกต่างหลากหลาย/
การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ/
การเคารพสิทธิ
มนุษยชน
ที่มา : ประมวลโดยผู้วิจัย
ด้านที่ 1 ไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ
ประเมินความขัดแย้ง และความรุนแรงทั้งในระดับประเทศ ในระดับชุมชนและครอบครัว โดยเก็บ
ข้อมูลจากทั้งข้อมูลสถิติจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ จ านวนผู้เสียชีวิต ผลกระทบของ
การก่อการร้าย รวมถึงการประเมินประสบการณ์ความรุนแรงและความคิดเห็นจากประชาชน