Page 89 - 22825_Fulltext
P. 89
2-49
เกณฑ์การให้คะแนน ผสมผสานจากแนวคิดทั้งสันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก โดยมีการแบ่งตัวชี้วัด
ออกเป็น 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ 2. ความมั่นคงและปลอดภัยในสังคม
3. การยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน 4. มีความเหลื่อมล้ าในสังคมน้อย
และมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม และมีตัวชี้วัดย่อย 23 ตัวชี้วัด ข้อมูลที่น ามาใช้ มีทั้งข้อมูลทุติยภูมิจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิจากการส ารวจทั่วประเทศ การเก็บข้อมูลมีทั้งระดับประเทศและระดับ
จังหวัด จากผลการศึกษาพบว่า ระดับดัชนีสันติภาพของประเทศไทยส าหรับปี พ.ศ. 2562 มีค่าเท่ากับ 3.36
คะแนน ถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของคะแนนดัชนีย่อยทั้ง 4 ด้าน คือ P1 ไม่มีความรุนแรงทาง
กายภาพ ปี พ.ศ. 2562 (3.64) P2 ความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม ปี 2562 (3.06) P3การยอมรับความ
หลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน ปี พ.ศ. 2562 (3.38) P4 มีความเหลื่อมล้ าในสังคม
น้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ปี 2562 (3.36) ด้านที่มีค่าคะแนนสันติภาพต่ าสุดคือ ความ
ปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม ส่วนด้านที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ (ชลัท
ประเทืองรัตนา และเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว, 2562)
องค์ความรู้ด้านสันติภาพในระดับชุมชนพิจารณาได้จาก รายงานการถอดบทเรียนสันติภาพในชุมชน
โดยนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรขั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 4 (4ส4) ได้ศึกษารูปแบบ
สันติภาพ (Peace model)ในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยก าหนดพื้นที่ชุมชนที่มีความแตกต่างแต่อยู่ร่วมกันอย่าง
สันติสุข ได้แก่ พื้นที่ชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ชุมชนคลองตะเคียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และชุมชนเทศบาลต าบลก าแพง อ าเภอละงู จังหวัดสตูล สรุปเป็นข้อค้นพบคือ ปัจจัยที่ท าให้เกิดสันติภาพใน
ชุมชนที่แตกต่างในพื้นที่ตัวอย่าง 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ชุมชนคลอง
ตะเคียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและชุมชนเทศบาลต าบลก าแพง อ าเภอละงู จังหวัดสตูล พบว่าปัจจัยที่
ส าคัญ 13 ประการที่น าไปสู่ความส าเร็จในการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ คือ ประวัติศาสตร์ชุมชน ชาติพันธุ์ พหุ
ลักษณ์ พหุวัฒนธรรม อาชีพชุมชน ข้อก าหนดของชุมชน การสื่อสาร การเจรจา ศาสนา โครงสร้างทางสังคม
เจตคติ ผู้น าและการใช้ทรัพยากร เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบสันติภาพของ 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ชุมชนกุฎีจีน เขต
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร ชุมชนคลองตะเคียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและชุมชนเทศบาลต าบลก าแพงอ าเภอ
ละงู จังหวัดสตูล พบประเด็นความแตกต่าง ดังนี้ สันติสุขของชุมชนกุฎีจีน คือ คนทั้ง 3 ศาสนาอยู่ร่วมกันอย่าง
สงบสุข โครงสร้างทางสังคมของชาวคริสต์ที่มีความมั่นคงและสืบทอดอาชีพดั้งเดิมมีความร่วมมือในกิจกรรม
ของชุมชน ในขณะที่สันติสุขของชุมชนคลองตะเคียน คือ การมีเวทีกิจกรรมภาครัฐที่เข้มแข็ง มีความร่วมมือใน
กิจกรรมของชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชนที่ยาวนาน โครงสร้างทางสังคมของชุมชนที่มั่นคง การจัดสรรทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรม แม้จะมีชาติพันธุ์ของคนในชุมชนที่แตกต่างและเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ในขณะที่
สันติสุขในชุมชนเทศบาลต าบลก าแพงอ าเภอละงู จังหวัดสตูล ก็มีปัจจัยเช่นเดียวกันกับในชุมชนคลองตะเคียน
นอกจากนี้ องค์ความรู้ด้านสันติภาพในระดับชุมชน พิจารณาได้จากบทความวิจัยของ
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ ได้น าเสนอแนวทางการสร้างสันติภาพและพัฒนาชุมชน สันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26
โดยศึกษาถอดบทเรียนการจัดการความขัดแย้งของชุมชนต้นแบบ 3 แห่ง ได้แก่ ชุมชนแพรกหนามแดง ชุมชน
หมู่บ้าน ท่าคอยนาง ชุมชนย่านกะดีจีน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ การ
สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลส าคัญ 30 คนและการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม การศึกษาถอดบทเรียนจาก
ชุมชนทั้ง 3 ท าให้ได้องค์ความรู้ 5 มิติส าคัญในกระบวนการสันติภาพ และสันติสุขในชุมชน ได้แก่ 1. มิติด้าน
กายภาพได้แก่ การมีเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้บนวิถีความพอเพียงเป็นต้น 2. มิติด้านสังคม ได้แก่