Page 87 - 22825_Fulltext
P. 87

2-47



                         ส าหรับประเทศไทยจากการประเมินดัชนีของ LPI ประจ าปี พ.ศ. 2564 พบว่า ในภาพรวมแล้ว
                  ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 63 จากทั้งหมด 167 ประเทศ และถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง
                  ระดับปานกลางค่อนข้างสูง (Upper Middle) ผลการจัดอันดับในปีนั้นถือว่าลดลงมาหนึ่ง อันดับเมื่อเทียบกับ

                  พ.ศ. 2563 ซึ่งไทยเคยอยู่ในอันดับที่ 62 นอกจากนี้ไทยยังได้รับการจัดอันดับที่ดีที่สุดในด้านสุขภาพติดอันดับที่
                  27 และด้านทุนทางสังคมติดอันดับ 28 :ซึ่งลดลงจากปี 2563 ในขณะที่ด้านคุณภาพทางเศรษฐกิจนั้นขยับขึ้น
                  จากปี พ.ศ. 2563


                           7. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs)

                           เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยองค์การสหประชาชาติได้ก าหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นโดยอาศัย

                  กรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความ
                  เชื่อมโยงกัน  เรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ (SDGs) ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือน

                  กันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายคือ
                  เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน  เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาวะในการด ารงชีวิต

                  และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 4 การได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และ
                  ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 5 บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่
                  สตรีและเด็กหญิง เป้าหมายที่ 6 น้ าและการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้

                  เป้าหมายที่ 7 ท าเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน เชื่อถือได้ เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
                  ที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้ ส่งเสริมศักยภาพการมีงานท าและการจ้างงาน  เป้าหมายที่ 9 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้

                  เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ าทั้งภายใน
                  และระหว่างประเทศ เป้าหมายที่ 11 ท าให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับ

                  การเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 การมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13
                  ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จาก

                  มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 พิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้
                  ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน หยุดยั้งและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน
                  และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่

                  แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่ง
                  ของส่วนรวม มีประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ เป้าหมายที่ 17 เสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการ

                  ปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

                           กล่าวอย่างเจาะจงถึงเป้าหมายที่ 16 เป็นการส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อ

                  การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมใน
                  ทุกระดับ มีเป้าประสงค์ที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อาทิ16.1 การลดความรุนแรง
                  ทุกรูปแบบ 16.2 ยุติการข่มเหง หาประโยชน์ และความรุนแรงทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก 16.3 นิติธรรมและการ
                  เข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม 16.4 ลดการลักลอบค้าอาวุธ ฟอกเงิน และต่อสู้กับองค์กรอาชญากรรม
                  16.5 ลดการทุจริตคอรัปชั่น 16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส  16.7 มี

                  ความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 16.8 เพิ่มการมีส่วนร่วมของประเทศก าลังพัฒนาในองค์กร
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92