Page 83 - 22825_Fulltext
P. 83
2-43
เพียงพอ และผู้เสียหายบางส่วนซึ่งพักอยู่ในสถานพักพิงของรัฐขาดเสรีภาพในการเดินทาง การทุจริตและการ
สมรู้ร่วมคิดของเจ้าหน้าที่รัฐยังคงขัดขวางความพยายามในการปราบปรามการค้ามนุษย์ และรัฐบาลตัดสิน
เจ้าหน้าที่รัฐที่สมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมการค้ามนุษย์ว่ามีความผิดจ านวน 5 รายในปี 2563 ด้วยเหตุนี้
ประเทศไทยจึงถูกลดระดับมาอยู่ใน “กลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง” (สถานทูตสหรัฐและ
สถานกงสุลในประเทศไทย, 2564) (Department of State United States of America, 2021)
รัฐบาลไทยระบุการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ จ านวน 230 ราย ในปี พ.ศ. 2563 (เทียบกับจ านวน
868 ในปี พ.ศ. 2562 และ 631 รายในปี 2561) โดยจ านวน 148 คน กระทรวงการพัฒนาสังคมและมนุษย์
Security (MSDHS) มีการรายงานการว่าให้การช่วยเหลือในสถานพักพิงของรัฐและองค์กรนอกภาครัฐ (ลดลง
อย่างมากจาก 610 รายในปี 2562) ประกอบไปด้วยผู้เสียหายชาวไทย 77 ราย และชาวต่างชาติ 71 ราย เป็น
ผู้เสียหายชาย 57 รายและหญิง 91 ราย และเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทางเพศ 78 ราย และค้ามนุษย์
ด้านแรงงาน 70 ราย (เทียบกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทางเพศ 170 รายและค้ามนุษย์ด้านแรงงาน 440
รายในปี 2562) รัฐบาลไม่ได้รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองคัดกรองผู้อพยพในศูนย์กักกันของส านักงาน
ตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือไม่ในปี 2563 เมื่อเทียบกับ 7,156 รายที่คัดกรองในปี
2562 ในช่วงการรายงานที่ผ่านมา องค์กรนอกภาครัฐรายงานว่า ทางการลดความพยายามในการร่วมมือกับ
พวกเขาเพื่อคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในกลุ่มประชากรนี้ (สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศ
ไทย, 2564) (Department of State United States of America, 2021)
5. ดัชนีความปรองดอง SA Reconciliation Barometer Survey
รายงานการส ารวจอุณหภูมิวัดความปรองดองของแอฟริกาใต้ (SA Reconciliation Barometer Survey
(2021) จัดท าโดย Institute for Justice and Reconciliation (IJR) เพื่อวัดทัศนคติของประชาชนใน
แอฟริกาใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ถึงปัจจุบัน ให้ความหมายของการสร้างความปรองดอง ที่อ้างถึง
Charles Villa Vicencio (2015) และ Louis Kriesberg (2007) กล่าวคือ Charles Villa Vicencio (2015) ให้
ค านิยามว่า การปรองดองเกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้าใจ การเสวนาทางสังคม (social dialogue) การแสดง
ความเสียใจ (grieve) การเยียวยา การยอมรับความจริง การด าเนินการตามหลักยุติธรรม การชดเชย
(reparation) และการให้อภัย สอดคล้องกับแนวคิดของ Louis Kriesberg (2007) ที่มองว่าเป็นกระบวนการหา
ข้อตกลงร่วมกันระหว่างศัตรูหรือปฏิปักษ์ เป็นกระบวนการที่สร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ฉันท์มิตร
ภายหลังจากที่ความสัมพันธ์แตกร้าว โดยสอดคล้องกับแนวคิดของ (Galtung, Peace By Peaceful means
Peace and Conflict, Development and Civilization, 1996) ที่ให้ความหมายของการสร้างความ
สมานฉันท์ว่าเป็นกระบวนการเยียวยาบาดแผล ทั้งเหยื่อและผู้กระท าต่อเหยื่อภายหลังความรุนแรง และเป็น
การยุติความสัมพันธ์ด้านลบต่อกัน ซึ่งจะไม่น าไปสู่ความเป็นศัตรู โดยหลักการแล้วต้องมีบุคคลที่สามเท่านั้นจึง
จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเหยื่อและผู้กระท าต่อเหยื่อ ให้สามารถเรียกร้องกับผู้กระท าผิดนั้นต้องชดใช้
หรือถูกลงโทษ หรือแม้แต่การล้างแค้น ส าหรับผู้กระท าผิดอาจจะยอมรับผิด หรือถูกลงโทษจากเหยื่อ
กล่าวโดยสรุป การสร้างความปรองดอง (Reconciliation) มีการให้ค านิยามที่แตกต่างหลากหลาย
เป็นได้ทั้งเป้าหมาย (goal) และกระบวนการ (process) เป้าหมายจะเกี่ยวข้องกับอนาคตที่พึงประสงค์ เป็นสิ่ง
ที่อยากให้เกิดขึ้นในสังคม ส าหรับกระบวนการจะเกี่ยวข้องกันภายหลังจากเกิดความรุนแรงขึ้นแล้ว จะมี
กระบวนการอย่างไรในการจัดการกับปัญหาที่ผ่านมา การวัดการสร้างความปรองดองของแอฟริกาใต้ จาก
รายงานของสถาบันเพื่อความยุติธรรมและการปรองดอง Institute for Justice and Reconciliation หรือ IJR
(2021) ได้ให้กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้