Page 86 - 22825_Fulltext
P. 86
2-46
จากจุดมุ่งหมายและการด าเนินงานดังกล่าว สถาบัน Legatum ได้จัดท าดัชนีความเจริญรุ่งเรือง
(Legatum Prosperity Index หรือ LPI) ขึ้นเป็นประจ าทุกปี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของ
167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมกันเป็น 99.4 % ของประชากรโลก โดยการพิจารณาชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศใด ๆ
นั้น จะวางอยู่บนพื้นฐานสังคมส าหรับทุกคน (Inclusive Societies) ด้านเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economies)
และด้านเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ (Empowered People) ของผู้คนในแต่ละประเทศนั้น ๆ เป็นหลัก
จาก 3 ปัจจัยนี้เองน าไปสู่องค์ประกอบหลักซึ่งสามารถแบ่งได้ 12 องค์ประกอบ คือ (1) ความปลอดภัยและ
ความมั่นคง (Safety and Security) (2) อิสรภาพส่วนบุคคล ( Personal Freedom) (3) การบริหารปกครอง
(Governance) (4) ทุนทางสังคม (Social Capital) (5) สภาพแวดล้อมการลงทุน (Investment Environment)
(6) เงื่อนไของค์กร (Enterprise Conditions) (7) โครงสร้างพื้นฐานและการเข้าสู่ตลาด (Infrastructure & Market
Access) (8) คุณภาพเศรษฐกิจ (Economic Quality) (9) สภาพความเป็นอยู่ (Living Conditions) (10) สุขภาพ
(Health) (11) การศึกษา (Education) และ (12) สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment)
ด้วยการท าดัชนีของ LPI ได้อาศัยวิธีการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิในรูปของเอกสาร บทความ รายงานการวิจัย
และสถิติต่าง ๆ จากหน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ให้บริการ ข้อมูลทางการค้า/ธุรกิจ และ
องค์กรพหุภาคีที่ได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล ทั้งจากข้อมูลจากสถาบันอื่น ๆ ที่จัดท า
ดัชนีนิติรัฐ/นิติธรรม ได้แก่ Freedom House และ World Bank Governance Indicators รวมถึงข้อมูลจาก
องค์กรอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Amnesty International, Cingranelli-Richards, Fragile States Index, Gallup
World Poll, International Telecommunication Union, MEPV Center for Systemic Peace, World
Development Indicators และ World Health Organization (WHO)
ภาพรวมการการท าดัชนีแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ (1) การเลือกตัวบ่งชี้ที่สนับสนุน
(Selecting indicators) แต่ละองค์ประกอบย่อยทั้ง 67 องค์ประกอบ โดยการประเมินคุณสมบัติเชิงแนวคิด
การประเมินคุณสมบัติทางสถิติ การปรับความครอบคลุมทางภูมิศาสตร์และเวลาให้เหมาะสม (2) การสร้างชุด
ข้อมูลที่สมบูรณ์ (Creating a complete dataset) โดยการใช้ข้อมูลย้อนหลังเพื่อหาค่าที่สอดคล้องกับข้อมูลที่
ขาดหาย การทดแทนข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ การคาดคะเนข้อมูลที่หายไป (3) การก าหนดตัวชี้วัดให้เป็น
มาตรฐาน (Standardising indicators) โดยพิจารณาวิธีจัดอนุกรมเวลาของตัวบ่งชี้แต่ละตัวก่อนที่จะรวมเป็น
ดัชนี การเปลี่ยนแปลงการบันทึก เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบในประเทศที่มีลักษณะต่างกัน การท าให้เป็น
มาตรฐานระหว่าง 0 และ 1 (4) การสร้างดัชนี (Constructing the Index) โดยการก าหนดตัวบ่งชี้และน้ าหนัก
องค์ประกอบ การค านวณคะแนนองค์ประกอบย่อย การค านวณคะแนนองค์ประกอบหลัก และปัจจัยหลัก เมื่อ
ได้ล าดับช่วงคะแนนแล้ว Legatum จะท าการรายงานผลการวิจัยดังกล่าว ด้วยการเอาช่วงคะแนนที่วิเคราะห์ได้
นั้นมาแสดงผลในรูปของการจัดอันดับสามารถแบ่งออกเป็น 6 ช่วงชั้น คือ (1) เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ในอันดับ
1-30 (กลุ่มประเทศสีเขียวเข้ม) คือ กลุ่มประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในระดับสูงที่สุด (Highest) (2) เป็น
ประเทศที่อยู่ในอันดับ 31-60 (กลุ่มประเทศสีเขียว) คือ กลุ่มประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในระดับสูง (High)
(3) เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ในอันดับ 61-90 (กลุ่มประเทศสีเขียวอ่อน) คือ กลุ่มประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ใน
ระดับปานกลางค่อนข้างสูง (Upper Middle) (4) เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ในอันดับ 91-120 (กลุ่มประเทศสีเหลือง) คือ
กลุ่มประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในระดับปานกลาง (Middle) (5) เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ในอันดับ 121-150
(กลุ่มประเทศสีส้ม) คือ กลุ่มประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ า (Lower Middle)
และ (6) เป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ในอันดับ 151-167 (กลุ่มประเทศสีแดง) คือ กลุ่มประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง
อยู่ระดับต่ า (Low)