Page 91 - 22825_Fulltext
P. 91
2-51
4 ด้าน คือ ความเสมอภาคทางสังคมวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมและสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจและ
การกระจายทรัพยากร กระบวนการยุติธรรม ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การจัดท าดัชนีการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก สิ่งที่ถูก
กระท า แต่ต่อมาเมื่อปี 2562 เพื่อให้ได้ผลวิจัยเชิงประจักษ์ได้ขยายการส ารวจเพิ่มอีก 6 ด้าน รวมเป็น 10 ด้าน
ได้แก่ การศึกษา เพศ ชุมชน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ บริการสาธารณะและสาธารณูปโภค โดยสุ่มตัวอย่างใน 5
ภูมิภาค ภูมิภาคละ 5 จังหวัด แต่ละจังหวัดมี 2 อ าเภอ แบ่งเป็นอ าเภอเมืองและอ าเภอที่ห่างออกไป อ าเภอละ
2ต าบลสุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 8,116 ตัวอย่างซึ่งเก็บข้อมูลเป็นเวลาเดียวกันอย่างสม่ าเสมอ โดยใช้การวิเคราะห์
องค์ประกอบ (Factor Analysis) จนได้ค่าดัชนีออกมาและเผยแพร่ในเวบไซต์ www.sojustthai.net (ธีระ สิน
เดชารักษ์, 2562)
สันติสุขจะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน จ าเป็นที่มนุษย์จะต้องมีความมั่นคงในชีวิต จะต้องได้รับหลักประกัน
ด้านสิทธิ ความปลอดภัย การสนองต่อความจ า เป็นขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสามารถด ารงชีวิตในสังคมได้อย่างมี
ศักดิ์ศรีและได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดท า “รายงานความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี พ.ศ.2559” ขึ้น ภายใต้
กรอบมาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ 12 มิติ 37 ตัวชี้วัด เพื่อประเมินสถานการณ์ความมั่นคงของ
มนุษย์ในภาพรวมระดับประเทศ ภาค และจังหวัด ส าหรับเป็นเครื่องมือส าคัญในการติดตาม และประเมินผล
การพัฒนาด้านต่างๆ ในภาพรวมของประเทศไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม และสร้างความ
มั่นคงของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ประกอบด้วย 1. มิติที่อยู่อาศัย 2. มิติ
สุขภาพ 3.มิติอาหาร 4.มิติการศึกษา5. มิติการมีงานท า และรายได้ 6. มิติครอบครัว 7. มิติชุมชนและ
การสนับสนุนทางสังคม 8. มิติศาสนาและวัฒนธรรม 9. มิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
10. มิติสิทธิและความเป็นธรรม 11. มิติการเมือง 12. มิติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร/พลังงาน (กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2561)
ความอยู่เย็นเป็นสุขมีหลายมิติทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม สอดคล้องกับนิยาม
ความหมายของแนวคิดสันติภาพของต่างประเทศ ความอยู่เย็นเป็นสุขมีพัฒนาการมา อย่างต่อเนื่อง โครงการ
ปรับปรุงดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย จัดท าโดยมูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและ
สิ่งแวดล้อม เสนอต่อส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยที่ สศช.
ได้ด าเนินการประเมินผลกระทบจากการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาตั้งแต่
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ซึ่งได้ปรับการพัฒนาสู่แนวคิด คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ทั้ง
ในฐานะผู้มีบทบาทส าคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา และเป็นผู้ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบโดยตรง
จากการพัฒนา โดย สศช. ได้พัฒนา “ดัชนีความอยู่ดีมีสุข” เพื่อเป็นเครื่องมือประเมินผลกระทบการพัฒนาที่
เกิดขึ้นกับคน ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 อย่างเป็นองค์รวม ต่อมาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
( พ.ศ. 2550 -2554) ซึ่งได้ก าหนดวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์หลักในการพัฒนาประเทศมุ่งสู่การสร้างความอยู่
เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย การใช้ดัชนีความอยู่ดีมีสุขเป็นเครื่องมือวัดผลกระทบ
การพัฒนาจึงไม่เพียงพอ เนื่องจากขอบเขตของนิยามความสุขได้ขยายจากมิติของการด ารงชีวิตและแนวปฏิบัติ
ของปัจเจกบุคคลไปสู่ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย รวมทั้งการวัดในด้านจิตใจ คุณธรรม จริยธรรม
ความถูกต้องดีงามต่าง ๆ สศช. จึงได้ขยายแนวคิดการพัฒนาจากดัชนีความอยู่ดีมีสุขมาเป็น “ดัชนีความอยู่
เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย”แผนพัฒนาฉบับที่ 12 จึงมีความจ าเป็น ต้องจัดท าและด าเนินโครงการ