Page 95 - 22825_Fulltext
P. 95
2-55
การเงิน รวมถึงความเหลื่อมล้ าด้านการถือครองที่ดิน ส่งผลต่อการแบ่งแยกในสังคม ท าให้เกิดช่องว่างทาง
รายได้ที่แตกต่างกันมากระหว่างคนจนกับคนรวย
2.4.กรอบแนวคิด ความขัดแย้ง ความรุนแรง กับสันติภาพ
1. ความขัดแย้ง
ความขัดแย้งเป็นพื้นฐานของความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ และมีอยู่
ในทุกสังคม ขณะเดียวกันความขัดแย้งเป็นสาเหตุระดับต้น ๆ ของการเกิดความรุนแรง และ
อาจก่อให้เกิดขบวนการก่อการร้าย การอธิบายความขัดแย้งเริ่มมาจากงานของมอร์ตัน ดอยชท์ (Morton
Deutsch) เรื่อง Conflict Resolution: Theory and Practice ถือเป็นงานตั้งต้นที่ตั้งค าถามว่าเราจะป้องกัน
ความขัดแย้งนั้นได้อย่างไร ต่อมา โยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) (1996) ชี้ให้เห็นสาเหตุของความขัดแย้ง
ระหว่างสองฝ่ายนั้นมาจากผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน แสดงถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างโครงสร้างทาง
สังคม พฤติกรรม และทัศนคติของบุคคล จนกระทั่ง ฟรีดริช กลาซึล (Friedrich Glasl) (1999) อธิบาย
ปฏิสัมพันธ์ของความขัดแย้งลงลึกไปถึงการรับรู้ การคิด การตีความ ความรู้สึก และความปรารถนา อันส่งผล
ต่อศักยภาพในการท าให้ความคิดของตนเป็นจริง ขณะที่สมบัติ ธ ารงธัญวงศ์ (2545, น. 11-18) ย้อนกลับไป
ทบทวนความหมายของนักวิชาการต่างประเทศที่ให้ไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1950-1990 โดยพยายามแยก
องค์ประกอบของความขัดแย้งออกเป็น 5 ประการ คือ ประการแรกความขัดแย้งเป็นเรื่องของบุคคลตั้งแต่ 2
ฝ่ายขึ้นไป ประการที่สองบุคคลหรือกลุ่มเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกัน ประการที่สามบุคคลหรือกลุ่มมีเป้าหมายที่
แตกต่างกัน ประการที่สี่บุคคลหรือต้องการบรรลุเป้าหมายที่แตกต่างกัน ประการสุดท้ายบุคคลหรือกลุ่มเป็น
ปฏิปักษ์ต่อกัน และจากการรวบรวมแนวคิดของทฤษฎีความขัดแย้งของ Berghof Foundation (2559)
พยายามสร้างความหมาย ว่าความขัดแย้งหมายถึง การปะทะกันระหว่างความคิดที่อยู่ตรงข้ามกันไม่ลงรอยกัน
และเต็มไปด้วยความซับซ้อนหลายระดับ แต่มิได้อธิบายในลักษณะของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และไม่ได้บ่งชี้ถึงระดับ
ของความขัดแย้งอย่างชัดเจน จนศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ (PRC) ได้ศึกษาความขัดแย้งและจัดท า
คู่มือการจัดการความขัดแย้งเบื้องต้น (2564) ที่รวบรวมแนวคิดและเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อท าความเข้า
ใจความขัดแย้ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้สันติภาพและความขัดแย้งจากนักกิจกรรมและกลุ่มประชาสังคม
หลากหลายกลุ่ม โดยสรุปไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า ความขัดแย้งหมายถึง การคิดเห็นต่างกันอันเป็นเรื่องปกติ ความ
ขัดแย้งเกิดขึ้นมานานพร้อม ๆ กับมนุษยชาติ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจก ความคิด การรับรู้ ความรู้สึก
ขัดแย้งกับอีกฝ่ายหนึ่ง หรือความต้องการไม่ได้รับการตอบสนองของอีกฝ่ายหนึ่ง อาจเกิดขึ้นภายในครอบครัว
ชุมชน ประเทศ ระหว่างประเทศ
จึงกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีการแบ่งออกตั้งแต่
2 ฝ่ายขึ้นไป มีความคิด การรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก ทัศนคติ ตลอดจนค่านิยมที่แตกต่างกัน อันเป็นพื้นฐานปกติ
วิสัยของมนุษย์ โดยมีความต้องการตอบสนองกับอีกฝ่ายที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศ และ
ระหว่างประเทศ ความขัดแย้งจะน าไปสู่การเกิดความรุนแรง หรือการก่อการร้ายนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย และบริบท
ที่ไม่เอื้อต่อการตอบสนองเจตนารมณ์
ส าหรับมุมมองความขัดแย้งภายในประเทศไทย มีความพยายามน าเครื่องมือเข้ามาช่วยในการอธิบาย
โดยแบ่งเป็น 3 มุมมอง คือ มุมมองของปัจจัย มุมมองความสัมพันธ์ของความขัดแย้ง และมุมมองการท าความ
เข้าใจความขัดแย้ง กล่าวคือ มุมมองของปัจจัยความขัดแย้งใช้การมองผ่านต้นไม้ความขัดแย้งที่มีส่วนประกอบ