Page 92 - 22825_Fulltext
P. 92
2-52
ปรับปรุงดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงดัชนีชี้วัดการพัฒนา เพื่อให้
สามารถวัดผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนตรงกับความ
เป็นจริง (มูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, 2560) นิยามความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ที่ปรับปรุง
ใหม่ คือ สภาวะที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด ารงชีวิตอย่างมีดุลยภาพทั้งในด้านจิต กาย ปัญญา เป็นผลที่เกิดจาก
ความเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกในครอบครัว ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็น
องค์รวม โดยมีความสัมพันธ์กันบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล น าไปสู่
การพัฒนาและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและยั่งยืน ตัวชี้วัดอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย ประกอบด้วย
องค์ประกอบหลัก 5 ด้าน (มิติ) ได้แก่ 1. การมีสุขภาวะที่ดี 2. เศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นธรรม
3. สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่สมดุล 4. สังคมประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาล 5. การสร้างความเป็นธรรมและ
ลดความเหลื่อมล้ าทางสังคม (มูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, 2560,
น. 5-12-5-184)
จากที่ศึกษามาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การศึกษาสันติภาพของประเทศตะวันตก เน้นศึกษาสันติภาพ
ที่เกี่ยวข้องกับทั้งสันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก ซึ่งเราจ าเป็นต้องเข้าใจสันติภาพว่า มากไปกว่าความ
รุนแรงทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังมีความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมที่ฝังลึก ซ่อนอยู่ข้างใต้ที่มองไม่เห็น
ด้วยตาเปล่า แต่มีพลังในการส่งผลต่อความรุนแรงทางกายภาพได้เป็นอย่างดี การศึกษาสันติภาพของประเทศ
ตะวันออก เน้นไปที่ความคิดว่าการท าให้เกิดสันติภาพไม่อาจมองข้ามการศึกษาสันติภาพจากภายในตนเอง แต่
ละปัจเจกบุคคลมีความส าคัญ จะเห็นได้ว่าการศึกษาสันติภาพของ 2 บริบทนี้มีจุดเน้นที่แตกต่างกัน แต่ไม่ได้
แยกการศึกษาจากกันอย่างเด็ดขาด ในด้านการศึกษาสันติภาพภายในและภายนอก เมื่อเชื่อมโยงแนวคิดของ
ตะวันตกและตะวันออก กล่าวได้ว่า การเข้าใจตนเองมีความส าคัญ การท าให้จิตใจของตนเองมีเมตตาธรรม มี
ความสงบเย็น มีความนิ่งสงบ ก็มีความจ าเป็น ขณะเดียวกันการท างานกับคนอื่นก็มีความส าคัญ เปรียบได้กับ
การนึกถึงแต่การกินอาหารออร์แกนิคเท่านั้น ดีแต่ไม่เพียงพอ หากไม่ได้นึกถึง การป้องกันการท าลายป่าไม้ การ
ให้การศึกษากับเด็ก หรือการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สันติภาพเป็นการกระท าที่ควรท าร่วมกัน ไม่กระท า
เพียงล าพัง ซึ่งจะท าให้ได้พลังมากกว่าการท าเพียงคนเดียว สันติภาพจึงมีมุมที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพภายในและ
สันติภาพภายนอก คนที่ท างานด้านสันติภาพที่แก้ไขความขัดแย้งในชุมชน ในประเทศ จึงควรทบทวนตนเอง
เข้าใจตนเองอย่างสม่ าเสมอว่าเราไม่ได้เกิดมาเพื่อยึดตนเองเป็นศูนย์กลางโดยละเลยการเข้าใจบุคคลอื่น พลังที่
เกิดจากสันติภาพภายในเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆจากปัจเจกบุคคลที่คิดจะท างานเพื่อส่วนรวม ต้องพัฒนาจิตของ
ตนเองเสียก่อน แล้วขยายไปสู่การท างานช่วยเหลือคนอื่นในบ้าน ชุมชน ประเทศและภูมิภาค โดยแก้ไขปัญหา
สังคมทั้งในระดับชั้นความรุนแรงกายกายภาพ ทางความเชื่อ และโครงสร้างอ านาจที่ไม่เท่าเทียมกันหรือความ
เหลื่อมล้ าในสังคม เมื่อปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไข ก็จะส่งผลกลับมาให้จิตใจของคนทั้งระดับปัจเจกบุคคล
และกลุ่มเกิดสันติได้เนื่องจากสภาพแวดล้อม บรรยากาศที่มีความสงบ สันติ จากการที่ไม่มีความรุนแรง ไม่มี
การปลูกฝังให้เกลียดชังระหว่างคนที่แตกกต่าง และไม่มีความเหลื่อมล้ าในสังคม โปรดดูรูปภาพที่ 2.3
องค์ประกอบหลักของสันติภาพ
จากแนวคิดดังกล่าว น ามาสู่การสร้างองค์ประกอบของตัวชี้วัดด้านสันติภาพในประเทศไทย โดยยึดตาม
กรอบตัวชี้วัดเดิมของงานวิจัย TPI ซึ่งเก็บข้อมูลไปเรียบร้อยแล้วในปี 2561 จากตัวชี้วัดจ านวน 23 ตัวชี้วัด
องค์ประกอบ 4 ด้านหลัก ซึ่งได้ตัดตัวแปรบางตัวที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เช่น ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
การทหาร เนื่องจากงานวิจัย TPI เน้นเปรียบเทียบการวัดระดับสันติสุขในประเทศและจังหวัด แต่ไม่ได้เน้น
เปรียบเทียบระดับสันติสุขเปรียบเทียบกับต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ จากการเน้นหน่วยในการวิเคราะห์