Page 96 - 22825_Fulltext
P. 96

2-56



                  ของ 3 ปัจจัย ได้แก่ รากแสดงถึงรากเหง้าของความขัดแย้ง รวมถึงสาเหตุของโครงสร้างทางสังคมและ
                  วัฒนธรรม ล าต้นแสดงถึงปัญหาหลักส าคัญ ๆ ที่แสดงออกมา และกิ่งก้านสาขาที่แสดงถึงผลกระทบ และ
                  รูปธรรมของผลลัพธ์ที่เกิดจากปัญหานั้น ๆ ส่วนมุมมองความสัมพันธ์ของความขัดแย้งสามารถมองผ่านแผนที่

                  แสดงความสัมพันธ์ของอ านาจที่ระบุว่า ใหญ่วงกลมใหญ่เป็นผู้มีอ านาจมาก วงกลมเล็กเป็นผู้มีอ านาจน้อย หาก
                  มีกลุ่มภายนอกเข้ามาสัมพันธ์ด้วยให้เป็นครึ่งวงกลม ซึ่งนิยามว่าอ านาจมาจากทหาร การเมือง  เศรษฐกิจ และ
                  อื่น ๆ จากนั้นก าหนดเส้น ได้แก่ เส้นเดียวแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เส้นตรงสองเส้นแสดงถึงความสัมพันธ์

                  ที่เป็นมิตรแนบแน่น เส้นลูกศรแสดงถึงอิทธิพลที่เหนือกว่า เส้นประแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เปราะบาง เส้น
                  ซิกแซ็กแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกันอยู่ และเส้นตรงแต่มีเส้นคู่ทับแสดงถึงความสัมพันธ์ที่แตกหัก แต่จะ
                  สังเกตว่าในแผนที่ความสัมพันธ์อาจไม่ได้มีมุมมองที่ลึกลงไปข้างในจิตใจอย่างแท้จริง จึงต้องอาศัยเครื่องมือ
                  เฉพาะที่ช่วยให้เห็นมุมมองการท าความเข้าใจความขัดแย้งที่เรียกว่า มุมมองหัวหอม เริ่มจากมองในมุมของ
                  บุคคลที่มีจุดยืน (Position) อันเป็นการแสดงออกโดยสามารถรับรู้ได้ทั่วไปทั้งยังเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์

                  ถัดจากชั้นหนึ่งลงไปสู่อีกชั้นหนึ่งเป็นชั้นความสนใจหรือความต้องการเล็ก ๆ (Interest) ซึ่งเกี่ยวพันกับ
                  ผลประโยชน์ที่บุคคลนั้นต้องการ แต่ไม่ได้เปิดเผยให้รับรู้อย่างเป็นทางการ และฝ่ายขัดแย้งมีผลประโยชน์หลาย
                  อย่างในความขัดแย้ง ซึ่งสามารถต่อรองผลประโยชน์นั้นได้ท าให้เงื่อนไขความสัมพันธ์เปลี่ยนไปตามกาลเวลา

                  ชั้นต่อมาเป็นความจ าเป็นพื้นฐาน (Need) เป็นสิ่งที่ขาดไปได้ด้วยเหตุผลของความอยู่รอด ความปลอดภัย และ
                  ไม่ถูกพูดออกมาให้สาธารณชนได้รับรู้ ชั้นสุดท้ายส าคัญที่สุดคือ ความกลัว (Fear) เป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดความ
                  สูญเสีย ชั้นนี้ไม่อยากให้ใครได้เห็น การจะได้เห็นขึ้นอยู่กับความไว้วางใจที่มีต่อกัน (ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากร
                  สันติภาพ (PRC), 2564, น. 26-45)



                  2. ความรุนแรง


                         ความรุนแรง หมายถึง การกระท าที่มีเจตนาของการใช้ก าลังหรืออ านาจทางกาย เพื่อเป็น
                  การข่มขู่บังคับหรือการกระท าต่อตนเอง ต่อบุคคลอื่นหรือต่อชุมชน ซึ่งอาจมีผลต่อการให้เกิดหรือ
                  มีแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บการเสียชีวิตหรืออาจท าให้เกิดอันตรายต่อจิตใจเป็นการยับยั้งปิดกั้นและกีดกัน
                  จึงท าให้เกิดความสูญเสียสิทธิบางอย่าง (วริศรา กรีธาพล, 2563). เห็นสอดคล้องกันว่าเป็นพฤติกรรมหรือการ
                  กระท าใดๆ ที่เป็นการล่วงละเมิด สิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ของกลุ่มบุคคล หรือชุมชน ทั้งทางร่างกาย วาจา หรือ

                  ใจ โดยใช้ก าลังบังคับ ขู่เข็ญ ท าร้ายร่างกายทุบตี เป็นผลให้เกิดความทุกข์ ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ หรือ
                  ก่อให้เกิด ความเสียหายทางทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่น หรือเป็นการยับยั้งหรือปิดกั้นความเจริญ ท าให้
                  สูญเสียสิทธิบางประการ (สุภาพร กมลฉ่ า, 2564)


                         ลักษณะของความรุนแรง สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ตามวิธีที่ใช้แสดงออกถึงความรุนแรง
                         1. ความรุนแรงทางร่างกาย (physical violence) หมายถึงการได้รับ บาดเจ็บโดยผู้กระท าความรุนแรง
                         2. ความรุนแรงทางเพศ (sexual violence) หมายถึง การกระท าใด ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ผู้ถูกกระท า

                  เป็นเครื่องมือตอบสนองความต้องการทางเพศของผู้กระท า
                         3. ความรุนแรงทางจิตใจ (psychological violence) หมายถึง การท าร้ายจิตใจ ควบคุมบังคับอย่าง
                  ไม่มีเหตุผล ท าให้ได้รับความอับอาย รู้สึกด้อยค่าหรือลดคุณค่าความเป็นมนุษย์
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101