Page 98 - 22825_Fulltext
P. 98

2-58



                  จะการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโดยการคลี่คลายอันเนื่องมาจากผู้บริหารในฝ่ายประจ ายอมผ่อนท่าทีลง
                  ด้วยการขอย้ายออกนอกพื้นที่เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุรุนแรง ด้วยเหตุนี้ประชาชนจึงไม่คิดที่จะต่อต้านหรือย้ายตัวเอง

                  ออกจากชุมชนอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบเหล่านี้  อย่างไรก็ ตามผลของ
                  การเปิดรับสื่อที่มีความรุนแรง กับการพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในชุมชนมีผลต่อพฤติกรรม

                  ความรุนแรงของนักเรียนวัยมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น
                  ร้อยละ 99 (สุปรีชา ช านาญพุฒิพร และคณะ, 2560) โดยแสดงออกในลักษณะทางพฤติกรรมก้าวร้าวจากการ
                  เลียนแบบหรือเคยมีประวัติการใช้สารเสพติด ประวัติการเกิดพฤติกรรมรุนแรง ซึ่งผู้ที่มีอายุในช่วงวัยผู้ใหญ่

                  ตอนต้นจะมีแนวโน้มของพฤติกรรมความรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ช่วงวัยกลางคนอย่างมีนัยส าคัญ เนื่องจากบุคคล
                  กลุ่มนี้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และการควบคุมได้น้อยกว่าผู้ใหญ่วัยกลางคน ขาดทักษะในการเผชิญปัญหาและ

                  แก้ไขส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ไขปัญหา (ศิริพรรณ ธนันชัย และ จินตนา ยูนิพันธ์, 2562)
                  สอดคล้องกับข้อค้นพบของกัญญ์ฐิตา ศรีภาและธีวุฒิ นิลเพ็ชร์ (2563) หากแต่ชุมชนไม่มีการควบคุมทางสังคม

                  หรือจัดระเบียบในชุมชนให้เหมาะสม ยังคงมีแหล่งมั่วสุมอบายมุข และสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ในชุมชนท าให้ยากที่จะ
                  ควบคุมไม่ให้เด็กและเยาวชนในชุมชนนั้นเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนและใช้ความรุนแรงได้


                         พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า
                  ความรุนแรงในครอบครัว หมายความว่า การกระท าใด ๆ ที่บุคคลในครอบครัวได้กระท าต่อกันโดยเจตนาให้
                  เกิดหรือในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ เสรีภาพ หรือชื่อเสียง ของบุคคล
                  ในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อ านาจครอบง าผิดคลองธรรมให้บุคคล ในครอบครัวต้องกระท าการ ไม่กระท า

                  การ หรือยอมรับการกระท าอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ ส าหรับมุมมองต่อระดับความรุนแรงในครอบครัว
                  สถาบันพระปกเกล้าและส านักงานสถิติแห่งชาติ (2562) พบปัญหาจากการส ารวจความคิดเห็นของประชาชน
                  ซึ่งประชาชนมักเคยเห็นคนในบ้านถูกท าร้ายโดยคนในบ้านเอง (รุนแรงทางกายภาพ เช่น ทุบ ตี ตบ และเตะ)
                  และเป็นผู้ที่เคยท าร้ายหรือถูกท าร้ายร่างกายในบ้านของตัวเอง (รุนแรงทางกายภาพ เช่น ทุบ ตี ตบ และเตะ)

                  โดยความรุนแรงในครอบครัวของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมแจ้งความ
                  เมื่อพบหรือประสบกับความรุนแรงในครอบครัว โดยมีเพียง 17% เท่านั้นที่กล้าออกมาเปิดเผยเรื่องราวและร้อง
                  ขอความช่วยเหลือ ซึ่งเรื่องนี้ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ได้เปิดเผยเหตุผลส่วนใหญ่ที่ผู้หญิงในฐานะที่เป็น

                  ผู้ถูกกระท าต้องทนต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว 5 ข้อด้วยกัน
                         1. ความรักความผูกพัน หลังก่อความรุนแรงฝ่ายชายมักจะขอโอกาสเพื่อกลับตัวและจะไม่ใช้ความ
                  รุนแรงอีก ด้วยความรักความผูกพันที่มีให้จึงยอมที่จะทน หวังว่าฝ่ายชายจะปรับปรุงตัว
                         2. อดทนเพื่อลูก ฝ่ายหญิงมักจะคิดว่าถ้าลูกไม่มีพ่อ ลูกจะมีปมด้อย ขาดความอบอุ่น ส่งผลต่อการ
                  ด าเนินชีวิตของลูกในอนาคต

                         3. พยายามรักษาความเป็นครอบครัว ด้วยสภาพสังคมที่ปลูกฝังความเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ซึ่ง
                  ต้องประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก ท าให้ผู้หญิงต้องยอมอดทนต่อความรุนแรง
                         4. คิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว ค่านิยมที่ว่า ไฟในอย่าน าออก ไฟนอกอย่าน าเข้า เป็นอีกหนึ่ง

                  เหตุผลที่ท าให้ผู้หญิงอดทนต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น
                         5. ปัญหาเศรษฐกิจ ผู้หญิงหลายคนเมื่อแต่งงานมีลูกแล้ว ลาออกจากงานเพื่อมาดูแลลูก เมื่อเกิดความ
                  รุนแรงขึ้นในครอบครัว หากจะเลิกรากับสามีก็กลัวจะไม่มีงานท า ไม่มีเงินเลี้ยงดูตัวเองและลูก จึงต้องทนต่อ
                  ความรุนแรง
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103