Page 102 - 22825_Fulltext
P. 102
2-62
หรือไม่กระท าการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความ
หวาดกลัวในหมู่ประชาชน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ต่อมาในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการ
แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพท าลายล้างสูง พ.ศ. 2559 ให้ความหมาย การก่อการร้าย ว่าการกระท าที่เป็น
ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา หรือการกระท าที่เป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งอยู่
ภายใต้ขอบเขตของอนุสัญญาและพิธีสารระหว่างประเทศเกี่ยวกับการก่อการร้ายที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือ
รับรอง ทั้งนี้ ไม่ว่าการกระท าที่เป็นความผิดนั้นได้กระท าขึ้นในราชอาณาจักรหรือนอกราชอาณาจักร
เช่นเดียวกับ ตุรกีได้นิยาม “การก่อการร้ายคือการใช้ความรุนแรงเพื่อกดดัน ข่มขู่ หรือ ท าลายความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวของชาติรวมทั้งความมั่นคงของชาติทั้งในและนอกประเทศ” ซึ่งรวมถึงการเผยแพร่แนวคิด หัว
รุนแรงและการใช้ความรุนแรงในการก่อเหตุ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อที่มีการใช้อาวุธ และความพยายามหรือ
การใช้วิธีการใด ๆ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น (ชัชพรรณ จินดาหรา, 2563)
จึงกล่าวได้ว่าการก่อการร้าย หมายถึง การใช้ความรุนแรงเพื่อกดดัน ข่มขู่ หรือ ท าลาย
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาติ รวมทั้งความมั่นคงของชาติทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งผู้กระท าก่อให้เกิด
อันตรายอย่างร้ายแรงต่อบุคคล ต่อทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะ หรือต่อทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือต่อบุคคล
ใดหรือต่อสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคม
2.5.2 มุมมองของการก่อการร้าย
ปัจจุบัน การก่อการร้ายไม่ใช่จะปรากฏณ์ใหม่ในเวทีโลก เมื่อกล่าวถึงประเด็นนี้จะมีนัยถึง
การก่อการร้ายสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ มิติของแบบแผน
ความรุนแรงใหม่ที่กระท าต่อเป้าหมายที่เป็นเมือง รวมถึงพัฒนาระเบิดที่ท าให้เกิดการใช้ระเบิด
แสวงเครื่องในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการท าลายพื้นที่ในเมืองอย่างมาก แสดงให้เห็น
ในหลายพื้นที่เมืองจะเป็นสนามรบใหม่ ในมุมมองของการบริการจัดการเมืองสมัยใหม่จึงต้องค านึงตลอดว่า
คว ามรุ น แร งการ เมืองใน โ ล กร่ ว มส มัย ไม่ว่าจ ะเป็ น เรื่ องของการ ก่อการ ร้ าย ห รื อ
การก่อวินาศกรรมทางการเมืองภายใน เมืองหลักเป็นเป้าหมายที่ดีที่สุด เพราะเมืองมีความเป็นศูนย์กลางชุมชน
มี ลั ก ษ ณ ะ เ ป็ น เ ป้ า ห ม า ย อ่ อ น ที่ ป้ อ ง กั น ตั ว เ อ ง ไ ด้ ย า ก ห รื อ ใ น อี ก ด้ า น เ มื อ ง
เป็นเป้าหมายเปิด ที่มีพื้นที่หลายจุดที่มีความเปราะบางในการเปรียบเทียบการกระท าต่อเป้าหมาย
ในพื้นที่ชนบท
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่าส าหรับผู้โจมตีหรือผู้ก่อการร้าย เมืองเป็นเป้าหมายที่จูงใจในการก่อ
เหตุมากที่สุด เพราะโดยทั่วไปเมืองมีความเปราะบางในตัวเอง เช่น เหตุก ารณ์วันอังคาร
ที่ 11 กันยายน ปี 2001 ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินโดยสารของสหรัฐอเมริกา 4 ล า และบังคับบิน
ชนตึกสูง 2 ตึกในมหานครนิวยอร์ก โดยกลุ่มคนร้าย คือ กลุ่มอัลไคดา หรือ อัลกออิดะฮ์
น าโดยโอซามา บิน ลาเดน ตามข่าวของ BBC ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นหนึ่งในความท้าท้ายความมั่นคงรูปแบบ
ใหม่นั้น ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายนับเป็นปัญหาด้านความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อ
หลายประเทศ หรือเรียกว่าเป็นภัยคุกคามจากตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป
คือภาพลักษณ์ของคนมุสลิมที่สะท้อนในสื่อต่าง ๆ ของประเทศไทยได้น าเสนอส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงลบตั้งแต่
ก่อนเกิดเหตุการณ์ วันอังคารที่ 11 กันยายน ปี 2001 ภาพลักษณ์ที่ถูกน าเสนอในข่าวมากที่สุด ได้แก่
ภาพลักษณ์โจรก่อการร้าย ก่อวินาศกรรม และมุสลิมหัวรุนแรง เนื่องจากเนื้อที่ถ่ายทอดหรือเผยแพร่ออกไป
เกี่ยวข้อกับชาวมุสลิมส่วนใหญ่ ปรากฏณ์อยู่ในข่าวต่างประเทศซึ่งมักเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับปัญหาสังคม การ
เคลื่อนไหวทหาร การเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง การกระท าแบบนั้นส่งผลต่อ