Page 106 - 22825_Fulltext
P. 106

2-66



                  จัดหาหรือขายสารระเหยแก่ผู้ติดสารระเหย เสพสารระเหย ชักจูง หลอกลวง บังคับให้ผู้อื่นเสพสารระเหย
                  จ าคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ถ้าผู้สูดดมอายุไม่เกิน 17 ปี ศาลอาจเรียกตัว
                  พร้อมผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน และปล่อยตัวไป แต่ถ้าเห็นว่าเป็นผู้ติดสารระเหยอาจส่งไปบ าบัดรักษา ถ้า

                  อายุเกิน 17 ปีและติดสารระเหยด้วย ศาลอาจส่งไปบ าบัดรักษาเช่นกัน โดยชดเชยระยะเวลาบ าบัดทดแทน
                  ค่าปรับหรือการจ าคุก การบ าบัดรักษาไม่ครบตามก าหนดโดยหลบหนีออกไปจากสถานบ าบัด หากถูกจับได้ซ้ า
                  จะได้รับโทษเพิ่มขึ้น (กฎหมายยาเสพติดและบทลงโทษ, (ม.ป.ป.))

                         ปัจจุบันได้มีการประกาศแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
                  (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 โดยหมายเหตุ การประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็น
                  ยาเสพติด ให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ในหลายประเทศมิได้
                  ก าหนดให้ พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประกอบกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961
                  และพิธีสาร แก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972 มิได้ก าหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติด

                  ให้โทษ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ที่มีการบริโภคพืชกระท่อม
                  ตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จึงจ าเป็นต้องตรา
                  พระราชบัญญัตินี้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2564)

                         อัตราการฆ่าตัวตาย หมายถึง จ านวนของผู้เสียชีวิตที่ฆ่าตัวตายส าเร็จต่อปี โดยมีสาเหตุและปัจจัยคือ
                  ความน้อยใจ ถูกดุด่าต าหนิ การทะเลาะกับคนใกล้ชิด ความรัก หึงหวง ต้องการคนใส่ใจซึ่งเป็นปัญหาด้าน
                  ความสัมพันธ์ ส่วนปัญหาด้านการใช้สุราและยาเสพติด และปัญหาด้านเจ็บป่วยทางจิตจะพบผู้เสียชีวิตน้อยกว่า
                  ดังเห็นได้จากรายงานการสรุปประจ าปีของกรมสุขภาพจิต (2562) ซึ่งสอดคล้องกับค านิยามที่กล่าวว่า การฆ่า

                  ตัวตาย เป็นการกระท าเพื่อท าลายชีวิตของตนเองด้วยความตั้งใจ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น กินยา ใช้อาวุธ ใช้ผ้า
                  หรือเชือกในการท าลายชีวิต รวมถึงผู้ที่มีความคิดอยากตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือท าร้ายตนเองโดยเจตนา
                  ไม่ว่าจะท าไปเพื่อต้องการตายหรือไม่ (โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ, 2555) และ
                  สอดคล้องกับสุพัตรา สุขาวห และสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล (2560) ที่พบว่า การฆ่าตัวตายส าเร็จ

                  (committed suicide) นั้นมาจากพฤติกรรมของบุคคลที่ท าร้ายตนเอง ฆ่าตนเอง ด้วยความตั้งใจในการท าให้
                  ตนเองตายจนประสบความส าเร็จ ส่วนการพยายามฆ่าตัวตาย (suicidal attempted) หมายถึง พฤติกรรมที่
                  บุคคลพยายามท าร้ายตัวเอง ฆ่าตัวเอง หรือท าให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บอย่างชัดเจน ด้วยความตั้งใจที่จะท าให้
                  ตนเองตาย แต่ไม่ประสบความส าเร็จ หรืออีกนัยหนึ่ง การฆ่าตัวตายในภาษาอังกฤษตรงกับค าว่า Suicide ซึ่งมา

                  จากภาษาละติน (Latin) สองค าคือ cide หมายถึง การฆ่า (killing) และ sui หมายถึง ตนเอง (oneself) โดย
                  The American Associaton of Suicidology ให้ค านิยามว่า การฆ่าตัวตาย หมายถึง การลงโทษตนเองด้วย
                  การตายโดยเจตนา ดังนั้น การฆ่าตัวตาย จึงมาจากการกระท าหรือพฤติกรรมที่สามารถตีความในหลายมิติ เช่น
                  เป็นพฤติกรรมที่ถูกตีความว่าเกี่ยวข้องกับความสิ้นหวัง (hopelessness) ความรู้สึกมีความผิดหรือมีมลทิน

                  (guilt) การพยายามหาทางออกส าหรับปัญหา (solution seeking) หรือเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ น่ากลัวจน
                  น าไปสู่การฆ่าตัวตาย
                         จ านวนของการฆาตกรรม (ต่อแสนคน) ตามรายงานคดีประเภทฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย
                  และเพศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลางของส านักงานต ารวจแห่งชาติ (2562) พบว่า มีคดีเกี่ยวกับการฆ่าผู้อื่น

                  (คดีอุกฉกรรจ์) และท าร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย รวมทั้งสิ้น 1,536 ราย ถึงแม้จะมีแนวโน้มลดลงอย่าง
                  ต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560 (จ านวน 1,743 ราย) อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นปัญหาส าคัญที่ส่งผลต่อดัชนี
                  และตัวชี้วัดสันติภาพทางสังคมไทย โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม ทั้งนี้ สาเหตุของการ

                  ฆาตกรรมเกิดจากหลายปัจจัยที่แทรกซ้อน เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อคุณภาพชีวิต หากเศรษฐกิจดีขึ้น
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111