Page 110 - 22825_Fulltext
P. 110
2-70
กลัวต่อสิ่งนั้น สิ่งที่จะสามารถบรรเทาความกลัวได้ก็คือ ความปลอดภัย เช่น การดูแลความปลอดภัยในเรื่อง
อาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ต ารวจ ปัญหาอาชญากรรมเป็นความกลัวที่ประชาชนต้องเผชิญ เมื่อมีเจ้าหน้าที่
ต ารวจเข้ามาดูแลในเรื่องอาชญากรรมก็จะสามารถบรรเทาความกลัวให้ประชาชนกลับมารู้สึกปลอดภัย และ
ออกมาด าเนินชีวิตประจ าวันได้โดยไม่ต้องรู้สึกกลัว
ดังนั้นในภาครัฐและภาคประชาชนมีมุมมองจากพฤติกรรมที่แสดงออกทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผ่าน
ความรู้สึกอันเป็นสภาวะปกติของมนุษย์ทั่วไปกับสภาพแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการแสดงออกถึงความปลอดภัย
ทางด้านความรู้สึก บุคลิกภาพ การกระท าและพฤติกรรม โดยความหวาดกลัวภัยเป็นลักษณะของอารมณ์
ความรู้สึกดังที่ Gobiel & Greve (2003) และ Prul Besuch Fischhoff & sorah Lichtentien (1987) (อ้าง
ถึงใน กองวิจัยส านักงานยุทธศาสตร์ต ารวจ, 2559) ได้ให้ความหมายและแนวคิดหลักซึ่งประกอบด้วย การรับรู้
ความรู้สึก และมิติด้านพฤติกรรมของความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม มิติด้านความรู้สึกที่มีมาก่อนปฏิกิริยา
ด้านอารมณ์ที่แท้จริง และกรอบของการประเมินของปัจเจกในส่วนของความเป็นไปได้ที่จะตกเป็นเหยื่อ
อาชญากรรม ส่วนมิติทางด้านพฤติกรรมเกิดขึ้นหลังจากมิติทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก และเป็นในสิ่งที่ปัจเจก
อ้างว่าจะท าที่เป็นปฏิกิริยา (ความหวาดกลัวภัย) อาชญากรรมที่เขามีประสบการณ์
ด้านที่ 3 การยอมรับความแตกต่างหลากหลาย/การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ/การเคารพ
สิทธิมนุษยชน
1. ความหมายการยอมรับความหลากหลาย การไม่เลือกปฏิบัติ การเคารพสิทธิมนุษยชน
สามารถอธิบายความหมายองค์ประกอบของดัชนี ประกอบด้วย การยอมรับความหลากหลาย พหุ
วัฒนธรรม สิทธิ เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติ การค้ามนุษย์ การแสดงออกทางการเมืองได้อย่าง
อิสระ สื่อมวลชน การบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 และจ านวนผู้ถูกกักขังที่รอการพิพากษาในสัดส่วนของ
ประชากรในเรือนจ า เพื่อให้เข้าใจบริบทของตัวชี้วัด เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนสันติภาพของไทย
ความหลากหลาย หมายถึง ความแตกต่างของบุคคล ซึ่งมีทั้งมิติปฐมภูมิ (Primary Dimensions)
ประกอบด้วย อายุ เพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ความสามารถทางกายภาพ ซึ่งมิติระดับปฐมภูมินี้เป็นความ
หลากหลายที่มีมาแต่ ก าเนิดและมีผลตอทั้งชีวิตของบุคลากร มิติระดับทุติยภูมิ (Secondary Dimensions)
ประกอบด้วยภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม การศึกษา อาชีพ ประสบการณ วิธีการเรียนรู ความเชื่อหรือ
ศาสนา รายได้ สถานภาพการสมรส ซึ่งเป็นมิติของความหลากหลายที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิต ดังนั้น บุคคลที่
มีพื้นฐานแตกต่างกันมาอยู่รวมกัน ย่อมมีความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ความชอบ การศึกษา และประสบการณ์ที่
แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจการยอมรับ และตระหนักในความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพตลอดจนผลกระทบของ
สภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
การยอมรับความหลากหลาย หมายถึง รูปแบบการติดต่อสัมพันธ์ที่บุคคลหนึ่งยอมรับ เชื่อถือ เชื่อมั่น
ในคุณค่าและความสามารถของบุคคลหนึ่งที่มีวัฒนธรรม และความเชื่อที่แตกตางจากตน ยอมรับในความแตกต
างทางวัฒนธรรมและการอยูร่วมกันภายใตความหลากหลาย (บัญญัติ ยงย่วน, 2550) ในแต่ละบุคคล เช่น อายุ
เพศ ภาษา ศาสนา รูปร่าง การแต่งกาย เป็นต้น รวมถึงสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ความคิด ความเชื่อ
ค่านิยม ความชอบ ส่วนบุคคล การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น (บีทีเอส กรุ๊ปฯ, 2564) บทบาททางสังคม
และการเมือง หมายถึง การที่ประชาชนแต่ละคนและกลุ่มของประชาชนหรือประชาสังคมย่อมมีส่วนร่วมในการ
เข้าถึงและได้รับประโยชน์จากสิทธิพลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (เจษฎา นกน้อย, 2552)
ดังนั้น การยอมรับความหลากหลายมีบทบาททางสังคมและการเมือง หมายถึง ความเข้าใจในความแตกต่าง