Page 111 - 22825_Fulltext
P. 111

2-71



                  ของแต่ละบุคคล โดยที่ประชาชนแต่ละคนและกลุ่มของประชาชนย่อมมีส่วนร่วมในการเข้าถึงและได้รับ
                  ประโยชน์จากสิทธิพลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียม
                         พหุวัฒนธรรม คือ ความแตกต่าง ความหลากหลายที่อยู่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว รัฐหรือประเทศที่มีการ

                  อพยพเข้ามาของกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ จึงมีการยอมรับความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมของกลุ่ม
                  เหล่านี้
                         การยอมรับพหุวัฒนธรรม คือ การที่กฎหมายและกฎระเบียบที่ใช้ในการบริหารหรือการจัดการมี

                  ลักษณะไม่เคร่งครัด เปิดโอกาสให้มีทางเลือกในการปฏิบัติ โดยไม่มีวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งครอบง า และ
                  วัฒนธรรมอื่นถูกครอบง า (Subordinate Culture) ในการพิจารณาเรื่องพหุวัฒนธรรม รายละเอียดเรื่อง
                  ความสัมพันธ์เชิงอ านาจ และข้อแตกต่างระหว่างกฎระเบียบที่ก าหนดไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรกับการบังคับใช้
                  ในการปฏิบัติจริงเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาด้วย ยกตัวอย่างเช่น ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ที่เป็น
                  ตัวอย่างของรัฐที่ใช้ค าว่า พหุวัฒนธรรมเพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติวัฒนธรรมชุดหนึ่งยังมี

                  บทบาทในสังคมเหนือวัฒนธรรมชุดอื่น (อมรา พงศาพิชญ์, 2541) พหุวัฒนธรรมเน้นการยอมรับลักษณะเด่น
                  ของวัฒนธรรมที่กลุ่มชาติพันธุ์ยึดถือปฏิบัติเมื่อย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในอีกสังคมหนึ่ง พหุวัฒนธรรมจึงหมายถึง
                  สังคมที่มีผู้ย้ายถิ่นจ านวนมากพร้อมด้วยวัฒนธรรมและภาษาที่ติดตัวคนเหล่านี้มาจากถิ่นเดิม และเกิดจากการ

                  แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มขึ้น นโยบายพหุวัฒนธรรมเกิดขึ้นเป็นทางการ ในประเทศแคนาดาในปี
                  1971 เนื่องจากประเทศแคนาดามีคนสองกลุ่มหลัก คือ กลุ่มคนที่พูดภาษาอังกฤษและกลุ่มคนที่พูดภาษา
                  ฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองกลุ่มต่างมีวัฒนธรรมเฉพาะของตน ต่อมาออสเตรเลียประกาศใช้นโยบายพหุวัฒนธรรม
                  ลักษณะเด่นของนโยบาย คือ การยอมรับและสนับสนุนการธ ารงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ใน

                  สังคมเดียวกัน เช่น การใช้ภาษาของกลุ่ม การมีสื่อสิ่งพิมพ์/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ภาษาของแต่ละกลุ่ม การจัด
                  งานประเพณี ศาสนา การแต่งกาย การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของทุกกลุ่มการอนุญาตให้ประชาชนถือ
                  สัญชาติได้สองสัญชาติ ตลอดจนการเปิดโอกาสทางการศึกษา การมีงานท า การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ
                  การได้รับบริการสาธารณะต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามนโยบายนี้ได้รับการต่อต้านในบางประเทศแม้

                  จะอยู่บนพื้นฐานความเสมอภาคก็ตาม (สุภางค์ จันทวานิช, 2552) สังคมพหุวัฒนธรรม หมายถึง ประชากร
                  กลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์มาอยู่รวมกันในสังคมหนึ่งซึ่งมีความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
                  ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน วิธีการคิด การมีปฏิสัมพันธ์ การสื่อสาร
                  รวมถึงบุคคลที่มาจากพื้นฐาน หรืออัตลักษณ์เดียวกัน (วราลักษณาวลัย ยงสืบชาติ, 2563) (พระมหามงคล

                  กานต์ ฐิตธมฺโม และ คณะ, 2562) ดังนั้น สังคมพหุวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มคนที่มีความหลากหลาย มีความ
                  แตกต่างกันทางสังคมและวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี ชาติพันธุ์ ศาสนกิจพิธี
                  การต่าง ๆ ภาษา การแต่งกาย วิธีการคิด การมีปฏิสัมพันธ์ รวมถึงการสื่อสาร การรวมกันของกลุ่ม หมู่เหล่า
                  หรือต่างชาติพันธุ์จึงน าไปสู่การมีกฎกติกา มารยาท การให้เกียรติซึ่งกันและกัน การเคารพบนพื้นฐานของความ

                  เข้าใจร่วมกัน ถือว่าเป็นปัจจัยที่ท าให้สังคมพหุวัฒนธรรมด าเนินไปได้ดี บุคคลแต่ละคนจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
                  ซึ่งมีลักษณะวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองและหลาย ๆ กลุ่มรวมตัวกันเป็นสังคมใหญ่ (วราลักษณาวลัย ยงสืบ
                  ชาติ, 2563) นอกเหนือจากการปรากฎตัวขึ้นมาของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในสังคมเด่นชัดขึ้น ด้วย
                  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ค่อย ๆ ท าลายอคติตามขบบธรรมเนียมความเชื่อดั้งเดิมของสังคมที่มี

                  มุมมองว่าชายต้องคู่กับหญิง ซึ่งปัจจุบันการยอมรับมีตัวตนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น
                  โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่รับรู้และเข้าใจ และยอมรับผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ในความจริงแล้วกลุ่ม
                  ผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่ได้รับการยอมรับในเรื่องสิทธิและโอกาสหลายประการ เช่น การเข้าถึงกฎหมาย

                  ด้วยว่าเรื่องสิทธิและความเสมอในประเด็นสมรสและรับรองบุตรที่ก าลังเป็นประเด็นในการถกเถียงและผลักดัน
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116